A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การพัฒนาการของเด็กเกี่ยวกับการรู้ตนเองกำลังจะตาย (awareness of dying)

เขียนโดย A Rai Naa >>>
การพัฒนาการของเด็กเกี่ยวกับการรู้ว่าตนเองกำลังจะตาย (Awareness Of Dying)

ขั้นตอนของการรู้

1. โรคร้ายแรง
2. ชื่อยาและอาการข้างเคียง
3. จุดมุ่งหมายของการรักษา และวิธีปฏิบัติการรักษา
4. โรคที่มีระยะสงบและระยะเป็นโรคกลับ
5. โรคที่มีระยะสงบและระยะเป็นโรคกลับ ซึ่งจะจบด้วยการตาย

การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับภาพลักษณ์แห่งตน

1. ฉันป่วยร้ายแรง
2. ฉันป่วยร้ายแรงและอาการดีขึ้น
3. ฉันป่วยเสมอๆ และอาการจะดีขึ้น
4. ฉันป่วยเสมอๆ และอาการจะไม่ดีขึ้น
5. ฉันกำลังจะตาย

การปรับตัวกับโรคที่กำลังคุกคามชีวิต

เด็ก (ขึ้นอยู่กับอายุ) บิดามารดาพี่น้องและผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับความตาย รวมทั้ง ปู่ ย่า ตา ยาย

พยาบาล แพทย์ ผู้อื่นที่มีความสำคัญต่อเด็กจะผ่าน 5 ขั้นตอนของการเตรียมตัวสำหรับการตายของผู้ป่วยเด็ก

ได้แก่ ปฏิเสธ (Denial) โกรธ (Anger) ต่อรอง (Bargaining) ซึมเศร้า (Depression) และการยอมรับ

(Acceptance) สิ่งสำคัญก็คือขั้นตอนต่างๆเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นอย่างงฉับพลัน อาการโรคอาจกลับขึ้นมาใหม่และอาจเป็นระยะสงบของโรค

จึงทำให้เกิดกลไกในการปรับตัวซ้ำขั้นตอนเดิมได้อีก

ขั้นตอนของการปรับตัว

ระยะปฏิเสธ การปฏิเสธการวินิจฉัยโรคและการพยากรณ์โรค เป็นการปรับตัวตามธรรมดา

เมื่อเผชิญกับการวินิจฉัยโรคที่คุกคามชีวิต ที่ได้รับการยืนยันอย่างแน่นอน

จะทำให้ป็นอุปสรรคต่อการรักษาโรคและพยากรณ์โรค พยาบาลต้องอธิบายข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล

ที่แพทย์ได้ให้ไว้เพื่อให้เด็กและครอบครัวเข้าใจและยุติการปฏิเสธให้ได้ พยาบาลควรยอมรับพฤติกรรม

ปฏิเสธโดยไม่ต้องเสริมแรงซึ่งจะช่วยให้เด็กและครอบครัวเรียนรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการปรับตัว

ระยะโกรธ เมื่อเริ่มเรียนรู้ความจริงเกี่ยวกับการินิจฉัยและพยากรณ์โรคแล้ว

เกิดปกิกิริยาโต้ตอบด้วยความโกรธ "ทำไมต้องเป็นฉัน" หรือ "ทำไมต้องเป็นลูกฉัน" ระยะนี้อาจมีอารมณ์

อื่นร่วมด้วย เช่น เสียใจ โศกเศร้า รู้สึกผิด โกรธ เป็นปฏิกิริยโต้ตอบที่เกิดขึ้นได้เสมอ

พยาบาลต้องมีความอดทนยอมรับพฤติกรรมดังกล่าว เพื่อส่งเสริมให้เขาได้ระบายความรู้สึก่างๆได้เต็มที่

ระยะต่อรอง ผู้ป่วยและครอบครัวตะพยายามขอต่อรอง (ต่อสิ่งศักสิทธิ์กับทีใสขภาพและบุคคลที่มีความสำคัญ)

เพื่อให้ยืดชีวิต การต่อรองจะร่วมไปกับความรู้สึกผิดที่ได้กระทำไปแล้วในอดีต

ระยะซึมเศร้า ระยะนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ครุ่นคิดเกี่ยวกับการสูญเสียในอดีตและระยะที่ครุ่นคิดเกี่ยวกับที่กำลังจะสูญเสีย

ในระยะแรกเกี่ยวข้องกับการสูญเสียและแยกจากผู้ที่เขารักจะเจ็บป่วย

ส่วนระยะที่สอง แสดงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการที่กำลังจะสูญเสียและแยกจากผู้ที่เขารักในระยะนี้เขาจะกลายเป็นคนเงียบและเศร้าโศกเสียใจ

ในการช่วยเหลือไม่ควรกระตุ้นให้เขามีความรู้สึกสดชื่นแจ่มใสเพราะเป็นการช่วยเหลือที่ไม่เหมาะสม

ระยะนอมรับ เป็นระยะเวลาที่สนใจกิจกรรมในปัจจุบันและอนาคตเพียงเล็กน้อย เด็กและบิดามารดาต้องการที่จะมีเวลาอยู่ร่วมกัน รวมทั้งบุคคลสำคัญอื่นๆด้วย

ผู้ป่วยและครอบครัวไม่มีความสุข แต่ไม่โศกเศร้าเสียใจอย่างรุนแรงมากนัก เป็นระยะเวลาที่ต้องการดูแล

ด้วยความรักและความเห็นอกเห็นใจเมื่อสัมผัสจับต้องผู้ป่วย ก็ปฏิบัติด้วยความสนใจเอาใจใส่

ซึ่งจะนำไปสู่การติดต่อสื่อสารกันได้ดี

การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิต

เมื่อถึงระยะสุดท้ายของชีวิต การตัดสินใจที่จะงดการรักษาผู้ป่วยนั้นทำด้วยความยากลำบาก

บิดามารดาส่วนใหญ่มักลังเลในการตัดสินใจที่จะบอกกับแพทย์ว่าต้องการหยุดการรักษา

ดังนั้นพยาบาลควรที่จะอำนวยความสะดวกให้แพทย์และบิดามารดาได้ติดต่อสื่อสารกัน

หากบิดามารดาตัดสินใจงดการรักษาผู้ป่วย

จุดมุ่งหมายในการดูแลผู้ป่วยที่สำคัญ คือการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายเมื่อได้รับการหยุดรักษาแล้ว

ในวันสุดท้ายของชีวิตควรช่วยให้ผู้ผ่วยปราศจากความเจ็บปวด

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น