Non stress test (NST)
เป็นการประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยดูจากการเพิ่มของอัตราการเต้นของหัวใจจาก baseline ในขณะที่ทารกดิ้น
ข้อบ่งชี้ในการทำ NST
ทำในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ หรือโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะซีด และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ทารกน้ำคร่ำน้อย ทารกโตช้าในครรภ์ ทารกดิ้นน้อยลง ทารกเกินกำหนด ครรภ์เกินกำหนด ถุงน้ำแตกก่อนกำหนด เป็นต้น
การพยาบาลขณะทำ NST
- อธิบายขั้นตอนการทำ NST อย่างคร่าวๆ
- จัดหญิงตั้งครรภ์อยู่ในท่า Semi-fowler
- บันทึกความดันโลหิตก่อนทำ เพื่อตรวจสอบภาวะ supine hypotension
- ใช้ tocodynamometer ของ external monitor คาดหน้าท้องมารดาเพื่อบันทึกการหดรัดตัวของมดลูกที่เกิดเองหรือเด็กดิ้น
- ใช้ Doppler FHR transducer คาดเข้ากับหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์ เพื่อบันทึก FHR ตลอดเวลาการทำ
- ให้หญิงตั้งครรภ์ กด mark ทุกครั้งเมื่อเด็กดิ้น
- เมื่อครบ 20 ครั้ง อ่านผลได้ และปลด tocodynomometer และ Doppler FHR transducer ออกจากหน้าท้องมารดา
การแปลผล
NST แปลผลเป็น reactive หรือผลปกติเป็นการทำนายว่าทารกอยู่ในสภาวะปกติ หมายถึงการมี FHR acceleration หรือการเพิ่มของ FHR ณ 15 ครั้ง/นาที กินเวลา ณ 15 วินาที อย่างน้อย 2 ครั้ง ในเวลา 20 นาที
NST แปลผลเป็น Non reactive หรือผลผิดปกติเป็นการทำนายว่าทารกอยู่ในสภาวะผิดปกติ หมายถึง การไม่มี FHR acceleration ในช่วง 20 นาทีแรก หรืออาจเกิดจากทารกหลัยต้องกระตุ้นให้ทารกตื่นด้วย acoustic stimulator แล้วบันทึกต่ออีก 20 นาที แต่ไม่พบ FHR acceleration เลย
ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีผล NST เป็น reactive โดยทั่วไปมักจะแนะนำให้ทำการตรวจซ้ำอีกใน 1 สัปดาห์ แต่ในกรณีที่มีภาวะเสี่ยงสูง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ทารกเจริญเติบโตในครรภ์ช้า ตั้งครรภ์เกินกำหนด ควรทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
ความคิดเห็น