การช่วยคลอดด้วยคีม (Forceps extraction)
Forceps extraction คือ การทำคลอดโดยการใช้คีม ช่วยดึงเด็กออกซึ่งวัตถุประสงค์การทำ คือ การช่วยให้ระยะเวลาที่ 2 ของการคลอดสั้น กรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ผลจากการได้ยาระงับการเจ็บปวด หรือกรณีทารกขาดออกซิเจน ในระยะใกล้คลอด
ชนิดของคีมที่ใช้บ่อย
- Simson fprceps ใช้ช่วยเหลือการคลอดศีรษะทารกท่าปกติ
- Keilland forceps ใช้หมุนศีรษะทารก กรณีการหมุนศีรษะไม่เป็นไปตามปกติ
- Piper forceps ใช้ช่วยคลอดศีรษะทารกกรณีส่วนนำทารกเป็นท่าก้น
ชนิดของการคลอดด้วยคีม
- Low forceps คือการทำคลอดด้วยคีมที่ศีรษะลงมาอยู่ที่ Pelvic floor แล้ว Sagital suture อยู่ใน antero – posterior diameter
- Mid forceps คือ การทำคลอดด้วยคีมที่ศีรษะ engaged อยู่ที่ระดับ ischial spine
- Hight forceps คือ การทำคลอดด้วยคีมที่ศีรษะยังไม่ engagement ซึ่งอันตรายไม่นิยมทำ
ภาวะที่ต้องพร้อมในการทำคลอดด้วยคีม
- ปาดมดลูกเปิดหมด
- รู้ท่าเด็กแน่นอน
- ส่วนนำลงอุ้งเชิงกรานอย่างน้อยระดับ ischial spine
- เชิงกรานไม่แคบ
- ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว
- ทารกมีชีวิตอยู่
ข้อบ่งชี้ในการทำคลอดด้วยคีม
- ต้องการให้ระยะที่สองของการคลอดสั้นลง
- Prolong second stage of labour
- Maternal emergency เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หอบหืด มารดาไม่มีแรงเบ่ง
- Fetal emergency เช่น distress prolapsed cord เป็นต้น
อันตรายต่อมารดา
- เกิดการฉีกขาดของปากมดลูก ช่องทางคลอด ปากช่องคลอด
- กระดูกเชิงกรานแยก ทำให้ปวดมาก
- กระทบกระเทือนต่อทางเดินปัสสาวะ ทำให้ถ่ายปัสสาวะไม่ออก
- ตกเลือดหลังคลอด
- การติดเชื้อ
อันตรายต่อเด็ก
- กะโหลกศีรษะแตก
- เลือดออกในสมอง
- มีรอยช้ำจากการใช้คีม
- อาจเกิด Facial nerve palsy
การพยาบาล
ก่อนทำคลอด
- ประเมินสภาพมารดาทารกจากรายงานการฝากครรภ์และผลการตรวจร่างกาย และตรวจครรภ์แรกรับไว้ในโรงพยาบาล และความก้าวหน้าของการคลอด
- การเตรียมมารดา
ด้านร่างกาย จัด Position Lithotomy, Scrub vulva และดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
ด้านจิตใจ โดยอธิบายขั้นตอนการช่วยเหลือ การปฏิบัติตัวขณะแพทย์ช่วยทำคลอดและให้กำลังใจ
3.การเตรียมเครื่องมือ
เครื่องมือช่วยเหลือการคลอด ชุดทำคลอด , Forceps และ set สวนปัสสาวะ
การเตรียมช่วยเหลือทารก โดยการเตรียมเครื่องมือกู้ชีพ และกุมารแพทย์เพื่อช่วยเหลือทารก
ขณะทำคลอด
- ด้านร่างกาย
- Check การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
- Check F.H.S, Check V/S
- ดูแลความสุขสบายทางด้านร่างกาย
- ดูแล IV fluid
- การเบ่งคลอด => ไม่ต้อเบ่งถ้ามีข้อห้าม
- ด้านจิตใจ อยู่เป็นเพื่อนขณะทำ และให้กำลังใจ
หลังทำคลอด
- ป้องกัน P.P.H สำคัญที่สุด โดยการสังเกต การหดรัดตัวของมดลูก ปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะว่าง สัญญาณชีพ และแผลฝีเย็บ
- ป้องกันการติดเชื้อ ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์ และตรวจสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง สังเกตสีและกลิ่นของน้ำคาวปลา
- ความสุขสบายทั่วไปเรื่อง ความสะอาดของร่างกาย อาหารภายหลังคลอด และดูแลพักผ่อน
- ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดา-ทารก โดยนำมารดาและทารกมาอยู่ด้วยกันให้เร็วที่สุดเมื่อมารดาและทารกแข็งแรงดี หรือนำบุตรมาให้ดูดนมมารดาเป็นระยะๆ กรณีที่มารดายังอ่อนเพลียอยู่
ความคิดเห็น