A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (Caesarean section)

เขียนโดย A Rai Naa >>>

การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (Caesarean section)

คำจำกัดความ คือ การทำคลอดโดยการผ่าตัดที่หน้าท้องและผนังมดลูก เพื่อเอาเด็กออก

ชนิดต่างๆ ของ caesarean section

  1. the classical caesarean section
  2. the lower cervical caesarean section

-         low transverse cervical

-         low longitudinal cervical (vertical)

  1. Extra peritoneal caesarean section
  2. caesarean section with subtotal hysterectomy (porro-operation)

Classical caesarean section เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในจำพวก Caesarean section ด้วยกันและทำได้เร็วหลักการคือเปิดหน้าท้องโดยใช้ medical หรือ paramedical incision แล้วเปิดโพรงมดลูก โดยใช้ midline incision ทำคลอดก่อนแล้วทำคลอดรก แล้วเย็บแผลที่มดลูกเปิด แล้วปิดหน้าท้องตาม

ข้อเสียเปรียบ คือ

  1. เสียเลือดมากกว่าวิธี Low cervical
  2. เกิดท้องอืดได้มากกว่า
  3. เกิดการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องได้ง่ายกว่า
  4. เกิด postoperative adhesion ได้บ่อยกว่า ซึ่งอาจจะทำให้เกิดลำไส้อุดตันได้
  5. มดลูกแตกในครรภ์ต่อๆไปได้ง่ายกว่า

Low cervical caesarean section ลักษณะที่สำคัญของวิธีนี้ก็คือ การเปิดแผลที่มดลูกที่ Low uterine segment หลังจากเปิด peritioneum ที่คลุมที่ส่วนล่างของมดลูก และดันกระเพาะปัสสาวะลงไป

การเปิดผนังมดลูกบริเวณนี้อาจทำได้ 2 วิธี คือ

  1. Transverse incision คือ ลงมีดในทางขวาง ซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่า เรียก Low Transverse caesarean section
  2. Low vertical คือ ลง incision ที่ midline ของ lower uterine segment ไม่ค่อยได้ใช้วิธีนี้ ผลดีของวิธีนี้คือมีเลือดออกน้อย เย็บง่าย แต่อาจจะพบการฉีกขาดไปถึง upper uterine segment หรือ ขาดลงไปถูกกระเพาะปัสสาวะทางด้านล่างได้ และอาจทำให้มดลูกแตกได้ง่ายในการตั้งครรภ์ต่อไป

ข้อดีของ Low cervical caesarean section

  1. เกิด peritonitis ได้น้อยกว่า
  2. เลือดออกน้อยกว่า
  3. หลังผ่าตัดแล้วคนไข้จะรู้สึกสบายกว่า Classical caesarean section
  4. มี adhesion น้อยกว่า แผลเป็นแข็งแรง และแตกยาวกว่า

ข้อเสียเปรียบ คือ ใช้เวลานานกว่าพวก Classical caesarean section

ข้อบ่งชี้ในการทำ Caesarean section

  1. Contracted pelvic
  2. Pelvic tumors เช่น เนื้องอกที่ส่วนล่างของมดลูก ถุงน้ำของรังไข่ มะเร็งปากมดลูก
  3. ในรายที่เด็กอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ในรายที่ท่าของทารกผิดปกติ Transverse presentation Mento-posterior face presentation breech presentation
  4. Placenta previa ทุกชนิด
  5. Abruptio placenta
  6. Severe preclamsia
  7. Previous uterine scar
  8. fetal distress
  9. ทารกตัวโตจากมารดาเป็นเบาหวาน
  10. Rh. Isoimmunization เช่นเดียวกับพวกเบาหวานที่ควรจะให้คลอดก่อนกำหนด เป็นเหตุให้ต้องทำ Caesarean section
  11. พวกที่เคยเย็บตกแต่งช่องคลอดมาก่อน
  12. มดลูกทำงานผิดปกติ (Uterine dysfunction)

สำหรับแผลที่หน้าท้องคนไข้อาจผ่าได้ 2 ชนิด คือ

  1. Low midline incision คือ ผ่าตรงกลางระหว่างสะดือลงไปถึงหัวเหน่า วิธีนี้เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายใช้เวลาน้อย เลือดออกน้อย ดึงเด็กออกได้ง่าย และอาจขยายแผลให้กว้างขึ้นได้ง่าย
  2. Pfanenstiel incision คือผ่าทางขวางในบริเวณเหนือระดับหัวเหน่า วิธีนี้ทำได้ยากกว่า ใช้เวลามากกว่า เลือดออกมากว่า ดึงเด็กออกได้ยากกว่า ขยายแผลให้กว้างขึ้นได้ยาก แต่แผลจะแข็งแรงกว่าและสวยกว่าวิธีที่ 1 ผู้ทำต้องมีความชำนาญพอสมควร

ผลของการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมีผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอดในอนาคต

ผลที่สำคัญ คือ มดลูกแตก เนื่องจากแผลเป็นไม่แข็งแรงในรายที่มีการติดเชื้อ หลังจากผ่าตัดเอาเด็กออกจะแตกเมื่อคนไข้เริ่มเจ็บท้องแล้ว ใน Low segment scar ถ้าเป็น vertical scar จะแตกได้บ่อยกว่า แต่ความรุนแรงจะน้อยกว่าพวก transverse scar, rupture of lower segment scar มีประมาณ 0.5%

การเตรียมมารดาเพื่อทำ C/S

  1. ประเมินสภาพมารดาและทารก

-         ประวัติการฝากครรภ์

-         การตรวจร่างกายมารดา และการประเมินสภาพ

-         การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ผล HbsAG, Anti HIV, Hct, Blood group,Clothing time, Blood group matching

2.การเตรียมความสะอาดด้านร่างกาย : Skin preparation, NPO, S.S.E,Retained Foley,s cath

3. เตรียมการช่วยเหลือทารก โดยการเตรียมเครื่องมือกู้ชีพทารกและการตามกุมารแพทย์

Pre-Operation Teaching in C/S

  1. อธิบายสาเหตุและความจำเป็นในการทำ C/S และขั้นตอนการทำ
  2. ประเมินความวิตกกังวลและเปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึก
  3. อธิบายเกี่ยวกับการใช้ยาระงับความรู้สึกชนิดต่างๆ เช่น  G.A, Spinal block, Epidural Block
  4. อธิบายเกี่ยวกับ Electrocoagulation
  5. อธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง C/S

การพยาบาลหลังทำ C/S

  1. ป้องกันการตกเลือด โดย

-         การวัดสัญญาณชีพ

-         ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก

-         สังเกต Bleeding จาก Per vagina และ C/S wound

-         ควบคุมการไหลของสารน้ำ

  1. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาสลบหรือระงับความเจ็บปวด

กรณี Under general anesthesia

-         Consious level ประเมินระดับการรู้สึกตัว

-         จัด Position ให้นอนหงายราบตะแคงหน้า

-         V/S

-         Effective cough

กรณีทำ Spinal block

-         observation sensory and motor function

-         positon => นอนราบ 8-12 ชั่วโมง

-         observation post spinal headache อาการปวดศีรษะปวดต้นคอ

  1. เพื่อให้ร่างกายสุขสบาย และมีอาการปวดแผลน้อยลง โดยประเมินอาการปวด และหาสาเหตุ Check V/S ก่อนให้ยา และให้ยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง
  2. เพื่อป้องกันภาวะ Dehydration และ Fluid over load โดยสังเกตอาการ

-         สังเกตอาการ Dehydration และดูแล IVF ให้ได้ตามจำนวน บันทึก สารน้ำเข้า-ออก และสังเกต Fluid over load

  1. ป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ โดยขณะ Retained Foley’s cath ระวัง สายหัก พับ งอ สังเกตสีปัสสาวะและจำนวน

-         หลัง off Foley’s cath สังเกตการณ์ขับถ่ายปัสสาวะ

  1. ป้องกันภาวะท้องอืด โดยให้มี early ambulation
  2. ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากภาวะซีด โดยประเมินภาวะซีด และแนะนำการมี early ambulation
  3. ป้องกันกาติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ และแผล C/S

-         observe urine สี

-         observe lochia สี กลิ่น

-         observe C/S wound

-         observe V/S โดยเฉพาะ Temperature

9.promotion of bonding

- การให้ข้อมูลเกี่ยวกับทารก

แนะนำวิธีการเลี้ยงดู

Rooming-in ให้มารดาและทารกอยู่ด้วยกัน

 

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณครับผม