การเตรียมตัวเพื่อการคลอด
Dick-read method ใช้เทคนิคการผ่อนคลายร่วมกับการฝึกจิตในการตัดวัฎจักรของ ความกลัว-เครียด-เจ็บปวด และให้สามีเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์
Lamaze method เป็นวิธีการควบคุมทางจิต (Psychoprophylaxis method) โดยให้ความรู้สึกความเข้าใจในกระบวนของความเจ็บปวดและการคลอด เทคนิคการผ่อนคลายด้วยตนเอง และต้องฝึกจนสามารถใช้กล้ามเนื้อทุกส่วนอย่างอัตโนมัติ
Bradley method ใช้หลักให้สามีเฝ้าคลอดในบรรยากาศที่เป็นส่วนตัวและสงบ
การฝึกหายใจ
ระยะ ปากมดลูกเริ่มเปิดจนถึง
ระยะปากมดลูกเปิด 4-
ระยะปากมดลูกเปิด 8-
ภาวะโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์
แคลอรี่ หญิงตั้งครรภ์ต้องการปริมาณอาหารวันละ 2500 กิโลแคลอรี่ เพิ่มขึ้นวันละ 300 กิโลแคลอรี่
เหล็ก หญิงตั้งครรภ์ทั่วไป ควรได้รับเหล็กเสริมวันละ 30 มก. ในครรภ์แฝดควรได้รับเหล็กเสริมวันละ 60-100 มก. ในรายที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดเหล็กควรได้รับเสริมวันละ 200 มก. การดูดซึมเหล็กในระบบทางเดินอาหารจะถูกขัดขวางโดยแคลเซียมและแมกนีเซียม ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานร่วมกับแอนตาซิดวิตามินซีช่วยในการดูดซึมเหล็ก ในช่วง 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ไม่มีความจำเป็นต้องให้เหล็กเสริมและการให้เหล็กเสริมในช่วงนี้อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้นโดยไม่จำเป็น
แคลเซียม ในระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ทารกในครรภ์มีความต้องการแคลเซียมสูงมาก ถ้าหญิงมีครรภ์ได้รับแคลเซียมต่ำทารกจะดึงเอาแคลเซียมจากร่างกายแม่มาใช้ ทารกที่ได้รับแคลเซียมจากแม่ไม่พอ อาจจะมีผลให้ทารกเป็นโรคกระดูกอ่อน วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และนอกจากนี้การให้แคลเซียมเสริมในระยะตั้งครรภ์ยังช่วยป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์
ไอโอดีน หญิงตั้งครรภ์ที่ขาดไอโอดีนอย่างรุนแรง ทารกอาจเสี่ยงต่อการเกิด cretinism
สังกะสี การขาดสังกะสีขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด ทารกเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ เสียเลือดหลังคลอดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี เกิดความพิการขณะเจริญเติบโต
กรดโฟลิค การเสริมในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ช่วยป้องกันการเกิด NTD.(Neural tube defact) ในทารกแรกเกิดในรายที่มีประวัติลูกเป็น NTD มาก่อน แนะนำรับประทานกรดโฟลิควันละ 4 มก. ตั้งแต่ 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่ขาดกรดโฟลิคอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางชนิด megaloblastic
วิตามินเอ หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินปกติมีความสัมพันธ์กับการเกิดความพิการของทารกดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการให้วิตามินเอเสริมเกินความจำเป็น
วิตามินบี 12 ควรให้อาหารเสริมในรายรับประทานมังสวิรัติ ถ้าขาดอาจทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะโลหิตจางชนิด Megaloblastic
วิตามินบี 6 สามารถให้เพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้องในระยะแรกของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามการรับประทานวิตามินบี 6 ในปริมาณมากๆอาจทำให้ทารกเกิด ความผิดปกติของระบบประสาทได้
การเตรียมเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา
ควรให้ข้อมูลในเรื่องประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเตรียมหัวนม เต้านมให้พร้อมก่อนคลอด
Waller’s test ใช้ทดสอบหัวนม
Hoffman’s maneuver เป็นวิธีการแก้ไขหัวนมสั้นหรือบอด
ปทุมแก้ว ใช้ในกรณีที่ลานหัวนมตึง หัวนมสั้น
Nipple puller ใช้ในกรณีที่หัวนมบุ๋มหรือบอด ใช้ดึงเพื่อให้พังผืดที่ดึงรั้งหัวนมฉีกขาดหรือเสียความตึงตัวทำให้หัวนมยื่นออกมาได้ ให้ดึงบ่อยๆ วันละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 10 นาที
การใช้อุปกรณ์ในระยะก่อนคลอด เป็นการกระตุ้นหัวนมทำให้มีการหลั่ง oxytocin จาก pituitary gland มีผลกระตุ้นมดลูกให้หดรัดตัว งควรระวังในหญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติแท้ง หรือมีประวัติคลอดก่อนกำหนด
สร้างความมั่นใจให้กับหญิงตั้งครรภ์ในเรื่องขนาดเต้านมใหญ่เล็กไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนม เพราะต่อมน้ำนมมีปริมาณเท่ากัน ใส่ยกทรงที่มีขนาดพอเหมาะ ดูแลความสะอาดของเต้านมตามปกติไม่ควรใช้สบู่หรือน้ำยามาเช็ดล้างที่หัวนม เพราะจะทำให้ผิวแห้งและแตกง่าย
การทำงาน
สามารถทำงานได้ตามปกติ ยกเว้นหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหรือการตั้งครรภ์เช่นเป็นโรคหัวใจ หรือมีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และงานบางประเภทที่จะเกิดผลกระทบ เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับรังสี สารเคมี ควรหลีกเลี่ยง ไม่ควรทำงานหนัก การทำงานหนักเพิ่มอุบัติการณ์การคลอดทารกน้ำหนักน้อยถึง 7 เท่า
หญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ ไม่มีผลต่อทารกในครรภ์แต่จะทำให้มารดาเครียดและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เพราะต้องนั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ
เพศสัมพันธ์
สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามต้องการ ยกเว้น ในรายที่มีเลือดออก เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เคยแท้งในระยะตั้งครรภ์อ่อนๆ
ท่าที่ใช้ในการมีเพศสัมพันธ์ ในไตรมาสแรกสามารถใช้ท่าปกติได้ เหมือนก่อนตั้งครรภ์ส่วนไตรมาสสุดท้ายช่วง 34-38 สัปดาห์ ท่าปกติทำได้ไม่สะดวก และอาจกระทบกระเทือนปากมดลูกอาจเปลี่ยนเป็นท่าอื่นๆ เช่น ท่าที่ฝ่ายหญิงนั่งอยู่ด้านบน ท่าตะแคง ท่าฝ่ายหญิงนอนคว่ำคุกเข่า ท่าที่ฝ่ายชายเข้าทางด้านหลังฝ่ายหญิง
ความคิดเห็น