การออกกำลังกาย
ขณะออกกำลังกายร่างกายจะหลั่งสาร Endorphin ช่วยให้หญิงตั้งครรภ์มีความสุข นอกจากนี้การออกำลังกายยังช่วยป้องกันอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์
ชนิดของการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ขณะตั้งครรภ์ เช่น เดินเล่น ว่ายน้ำ เต้นรำ (เต้นแอโรบิคสามารถกระทำต่อขณะตั้งครรภ์ได้ แต่รายที่ไม่เคยทำมาก่อนยังไม่ควรเริ่มต้นขณะตั้งครรภ์)
โยคะ ช่วยให้ร่างกายทุกระบบสมดุลตามธรรมชาติ และยังช่วยในการควบคุมการหายใจ มีสติ รวมทั้งสมาธิช่วยลดการเจ็บปวดขณะคลอด
การให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะไม่สุขสบายขณะตั้งครรภ์
คลื่นไส้ อาเจียน (แพ้ท้อง)
มักพบในระยะแรกของการตั้งครรภ์และมักหายไปในราวสัปดาห์ที่ 12-16
สาเหตุ การเปลี่ยนแปลงของ HCG และจิตใจ
วิธีแก้ไข 1. อธิบายให้เข้าใจว่าเป็นอาการปกติของการตั้งครรภ์
2. ก่อนลุกจากที่นอนให้รับประทานขนมปังปิ้ง หรือ เครื่องดื่มอุ่นๆ
3. แนะนำให้รับประทานอาหารทีละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง หลีกเลี่ยงอาหารมัน
4. ให้วิตามิน B6
แสบยอดอก (Heart Burn)
สาเหตุ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดคลายตัว กรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมา
วิธีแก้ไข 1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและรสจัด
2. รับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
3. ให้ยาลดกรด
4. ให้นั่งหรือนอนศีรษะสูง 30 องศาหลังอาหาร
ปัสสาวะบ่อย
พบในไตรมาสแรกและไตรมาสสุดท้าย
สาเหตุ มดลูกกดทับกระเพาะปัสสาวะในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ส่วนนำกดทับกระเพาะปัสสาวะในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์
วิธีแก้ไข 1. ไม่กลั้นปัสสาวะ
2. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนนอน
ท้องผูก
สาเหตุ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวช้าลง
วิธีแก้ไข 1. ดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้ว/วัน
2. รับประทานอาหารที่มีกากใย
3. ออกกำลังกาย
สอบ *** ตะคริว
สาเหตุ แคลเซียมน้อย หรือขาดความสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัส
วิธีแก้ไข 1. เมื่อมีอาการให้เหยียดขาตรงและดัดปลายเท้าขึ้น
2. ดื่มนมหรือรับประทานแคลเซียมเพิ่ม
ปวดหลัง
สาเหตุ กล้ามเนื้อถูกดึงรั้งจากมดลูกมีขนาดโตขึ้น หลังแอ่นมากขึ้นไปดึงถ่วงกล้ามเนื้อที่หลัง
วิธีแก้ไข 1. บริหารกล้ามเนื้อเชิงกราน (Pelvic tilt exercise)
2. นั่งหรือยืนให้หลังตรง
3. ไม่สมรองเท้าส้นสูง
4. ช่วยผ่อนคลายโดยการนวดบริเวณหลัง
5. ให้นอนตะแคงซ้าย
ความคิดเห็น