การพยาบาลด้านจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว
ภาวะจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนกิจของการตั้งครรภ์ การพยาบาลในแต่ละไตรมาสตามพัฒนกิจและตามภาวะจิตสังคมดังนี้
การพยาบาลในไตรมาสที่หนึ่งของการตั้งครรภ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนกิจขั้นที่ 1 จึงควรปฏิบัติดังนี้
1. กระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์ได้ระบายความรู้สึกเพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือประคับประคองให้หญิงตั้งครรภ์ปรับตัวต่อความรู้สึกสับสนในการตั้งครรภ์
2. ให้ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ และการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์
3. ประสานขอความร่วมมือจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาในกรณีหญิงตั้งครรภ์มีภาวะวิกฤตเกิดขึ้น
4. การพยาบาลในไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนกิจขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 จึงควรปฏิบัติดังนี้
วิธีการส่งเสริมพัฒนกิจขั้นที่ 2
1.พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการเป็นมารดาเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและภาคภูมิใจในการตั้งครรภ์
2. ส่งเสริมความรู้สึกที่ดีต่อทารกในครรภ์ เช่น การซักถามถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ การให้หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์
3. เปิดโอกาสให้หญิงตั้งครรภ์แสดงความรู้สึกต่อภาพลักษณ์ตนเอง และให้ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและจิตใจ
4. ชี้แจงให้สมาชิกในครอบครัวเข้าใจพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์ และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
การส่งเสริมพัฒนกิจขั้นที่ 3
1. ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก
2. สำรวจความฝันและจินตนาการที่หญิงตั้งครรภ์มีต่อทารกในครรภ์ โดยการจัดชั้นเรียนพิเศษ เพื่อให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์และสามรีในเนื้อหาที่มีสาระสำคัญนำไปสู่พฤติกรรม ความรู้สึกของการมีสัมพันธภาพกับทารกในครรภ์ หรือจัดให้มีกลุ่มสังสรรค์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และสามีได้มีโอกาสระบายความรู้สึกและรับฟังความรู้สึกที่มีต่อการตั้งครรภ์กับสามีภรรยาคู่อื่น
การพยาบาลในไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนกิจขั้นที่ 4 จึงควรปฏิบัติดังนี้
1. ให้ความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์คลอด การลดความเจ็บปวดขณะคลอด การเยี่ยมชม ห้องคลอด
2. แนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาความๆไม่สุขสบายจากอาการเปลี่ยนแปลงในระยะใกล้คลอด
3. ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ที่สามารถให้กำเนิดบุตร และส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดา
ความคิดเห็น