A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

ระบบสืบพันธุ์

เขียนโดย A Rai Naa >>>

ระบบสืบพันธุ์

ภายหลังคลอดยังได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนเพศของมารดา นั่นคือฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ได้รับจากมารดาลดน้อยลง ทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดได้ในทารกเพศหญิง (Pseudomenstruation)

ระบบผิวหนัง

เมื่อแรกคลอดผิวของทารกจะเคลือบด้วยไขสีขาวเหลืองลื่นๆ(Vernix caseosa) ใน 2-3 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ทารกจะมีผิวสีชมพู เมื่อมีการเคลื่อนไหวผิวจะมีสีแดง แต่ถ้าหนาวเย็นผิวจะมีสีม่วงแล้วจะหายไปอย่างรวดเร็วถ้าได้รับความอบอุ่น

ระบบภูมิคุ้มกัน

ทารกแรกเกิดยังมีปริมาณน้อยและการำงานยังไม่สมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติจะลดหายไป สำหรับทารกที่เลี้ยงด้วยนมมารดา จะได้รับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ เนื่องจากภูมิต้านทานนี้จะมีอยู่ในน้ำนมเหลือง

ระบบควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับทารกแรกเกิดคือ 32-34 องศาเซลเซียส ทารกแรกเกิดสูญเสียความร้อนได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากพื้นที่ผิวกายเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักตัวแล้วมีมากกว่าในผู้ใหญ่ ฉนวนกันความร้อนมีน้อยกว่า จึงทำให้สูญเสียความร้อนไปยังสิ่งแวดล้อม โดยการพา การนำ การระเหย และการแผ่รังสีได้มากกว่า เมื่อมีการสูญเสียความร้อนทารกจะพยายามปรับตัวโดยการร้อง ดิ้น เพื่อเพิ่มอัตราการเผาผลาญโดยใช้ไขมันสีน้ำตาลซึ่งมี ร้อยละ 2-6 ของน้ำหนักตัว โดยการสร้างความร้อนแบบนี้ต้องอาศัยพลังงานและออกซิเจนอย่างมาก หากมีออกซิเจนไม่เพียงพอจะเปลี่ยนการเผาผลาญมาเป็นแบบไม่ใช้ออกซิเจนแทน เกิดการคั่งของกรดแลคติค มีการใช้น้ำตาลเพื่อการเผาผลาญมาก ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนได้

ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

เนื่องจากชั้นนอกยังเจริญไม่เต็มที่ พฤติกรรมทารกจึงถูกควบคุมด้วยสมองส่วนล่างและไขสันหลัง ทำให้เกิดปฏิกิริยาสะท้อนกลับขั้นพื้นฐาน (Primitive reflexs) ปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่สำคัญๆในทารกแรกเกิดได้แก่

-         การหันเข้าหาสิ่งกระตุ้นและการดูด (Rooting & Sucking reflex) เมื่อเขี่ยริมฝีปากหรือข้างแก้ม ทารกจะหันหน้าและปากเข้าหาสิ่งกระตุ้นนั้นและเปิดปาก ถ้าไม่มีปฏิกิริยาสะท้อนกลับหรือมีเล็กน้อยอาจบ่งชี้ว่าสมองได้รับบาดเจ็บ หรือถ้ามีตลอดเวลาอาจบ่งชี้ว่าสมองเป็นอัมพาต (Cerebral palsy) ปฏิกิริยานี้จะหายเองเมื่อทารกอายุ 4-6 เดือน

-         การกลืน (Swallowing reflex) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดร่วมกับการดูด ทำให้ไม่มีการขย้อนออก หรือไหลย้อนกลับออกมาของน้ำนม

-         การตอบสนองต่อการผวาหรือตกใจ (Moro reflex) เมื่อตบที่นอนให้เกิดเสียงดังทันทีทารกจะตอบสนองโดยการเหยียดแขนและขาออกทั้งสองข้าง นิ้วมือคลี่ออกเป็นรูปใบพัด หากไม่พบปฏิกิริยานี้อาจบ่งชี้ว่าสมองได้รับบาดเจ็บจากการคลอด การขาดออกซิเจน สมองถูกกด หรือมีภาวะติดเชื้อในสมอง แต่ถ้ามีไม่เท่ากันทั้งสองข้าง ที่ขยับได้น้อยอาจมีเส้นประสาทแขนเป็นอัมพาต หรือกระดูกไหปลาร้าหักก็ได้ ปฏิกิริยานี้จะหายเองเมื่อทารกอายุ 3-4 เดือน

-         การตอบสนองต่อการจับศีรษะหันไปด้านใดด้านหนึ่ง (Tonic neck reflex) เมื่อจับศีรษะหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง แขนและขาที่ศีรษะหันไปจะเหยียดออก ส่วนด้านตรงข้ามจะงอ ปฏิกิริยานี้จะหายเองเมื่อทารกอายุประมาณ 6 เดือน

-         การตอบสนองต่อการเขี่ยฝ่าเท้า (Babinski reflex) เมื่อเขี่ยที่ด้านข้างของฝ่าเท้าจากส้นเท้าขึ้นไปถึงบริเวณใกล้หัวแม่เท้าและเลยไปถึงนิ้วก้อย พบว่านิ้วหัวแม่เท้าจะกระดกขึ้น ส่วนนิ้วอื่นๆจะกางออก ถ้าไม่มีปฏิกิริยานี้อาจบ่งชี้ว่ามีพยาธิสภาพที่ไขสันหลังหรือเส้นประสาทถูกทำลาย ปฏิกิริยานี้จะหายเองเมื่อทารกอายุ 1 ขวบ

 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น