ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ภายหลังคลอดไตต้องทำหน้าที่ทันที แต่สรีระในการทำงานของระบบขับถ่ายยังพัฒนาไม่ดีพอ เนื่องจากความสามารถในการกรองต่ำ ความสามารถในการดูดกลับสารพวกกลูโคส กรดอะมิโน ฟอสเฟตและไบคาบอร์เนตกลับคืนต่ำ ทำให้พบน้ำตาลและโปรตีนในปัสสาวะได้ ความสามารถในการทำให้น้ำตาลเข้มข้นมีน้อย และระดับฮอร์โมนยับยั้งการถ่ายปัสสาวะมีน้อย ร่างกายจึงเกิดภาวะขาดน้ำได้ง่าย
ระบบทางเดินอาหาร
ภายหลังคลอดยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้สมบูรณ์เนื่องจากต่อมน้ำลายในปากเพิ่งเริ่มทำงาน มีเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ปากและคอชุ่มชื้นเท่านั้น กระเพาะอาหาร มีขนาดเล็กและจุอาหารได้น้อย กล้ามเนื้อหูรูดระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหารยังทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่จึงทำให้สำรอกและแหวะนมได้ง่าย ลำไส้สะอาดยังไม่มีแบคทีเรียที่มีอยู่ในธรรมชาติช่วยสังเคราะห์วิตามินเคทำให้ทารแรกเกิดเลือดออกง่าย ตับยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้การเปลี่ยน Unconjugate bilirubin ให้เป็น Conjugate Bilirubin มีน้อยซึ่งต้องใช้เอนไซม์จากตับ คือ Glucoronyl transferase แต่ตับยังสร้างได้น้อยทำให้ทารกแรกเกิดมีอาการตัวเหลืองได้ใน 2-3 วันแรกหลังคลอดเรียกว่า Physiological jaundice ซึ่งจะมีบิลิรูบินไม่เกิน 12 มิลลิกรัม/100 มิลลิเมตร ใน 3 วันแรกหลังคลอดจะมีบิลิรูบิน 4-12 มิลลิกรัม/100 มิลลิเมตร และจะลดลงอย่างรวดเร็วในวันที่ 5 หลังคลอด โดยเหลือประมาณ 3 มิลลิกรัม/100 มิลลิเมตร ความสามารถในการควบคุมน้ำตาลในเลือดยังมีน้อย เนื่องจากเอนไซม์ที่ช่วยย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลยังทำงานได้ไม่เต็มที่ อาจพบน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ความสามารถในการสร้างโปรธรอมบินและสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้ทารกเสี่ยงต่อการมีเลือดออกได้ใน 2-3 วันแรกหลังคลอด
ระบบต่อมไร้ท่อ
ขณะอยู่ในครรภ์รกทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนและตัวกำเนิดฮอร์โมนส่งเสริมการสังเคราะห์ Steriod และส่งเสริมการเคลื่อนย้ายของฮอรโมน ระหว่างมารดากับทารกในครรภ์ต่อมไร้ท่อของทารกแรกเกิดจึงสมบูรณ์และเมื่อแรกคลอด
ความคิดเห็น