ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด Birth Asphyxia ก่อนระยะคลอด
การตรวจค้นหาสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงให้ได้โดยเร็ว และรีบให้การดูแลรักษาแต่เนิ่นๆจะช่วยลดอัตราเสี่ยงและป้องกัน birth asphyxia ได้ ปัจจัยดังกล่าวได้แก่
1. ประวัติทางชีวิภาพ อายุ เชื้อชาติความสูง น้ำหนัก
2. ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดในอดีต ประวัติการตายปริกำเนิด ประวัติทารกเติบโตช้าในครรภ์ ประวัติการคลอดก่อนกำหนด ประวัติการคลอดยาก ประวัติ asphyxia ในครรภ์ก่อน
3. ประวัติโรคทางอายุรกรรม โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ธัยรอยด์เป็นพิษ โรคไต ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หอบ ชัก โรคซีด
4. ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ปัจจุบัน เลือดออกก่อนคลอด ทารกมีความพิการ ความดันโลหิตสูง ครรภ์เกินกำหนด ครรภ์แฝด ทารกท่าผิดปกติ ทารกโตช้าในครรภ์ น้ำคร่ำน้อย การติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์
5. ประวัติการใช้ยาเสพติด สารเคมีและรังสี
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด Birth asphyxia ในระยะคลอดต่อการเกิด birth asphyxia
1. ปัจจัยจากทารก ทารกท่าผิดปกติ ครรภ์แฝด คลอดก่อนกำหนด
2. ปัจจัยจากรก น้ำคร่ำ สายสะดือ รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด น้ำคร่ำติดเชื้อ น้ำคร่ำน้อยเกินไป (ทารกโตช้าในครรภ์ ครรภ์เกินกำหนด) สายสะดือย้อย สายสะดือพันคอ น้ำคร่ำมีขี้เทาปน มีเลือดปน น้ำคร่ำมากเกินไป (ทารกพิการ มารดาเป็นโรคเบาหวาน ครรภ์เกินกำหนด)
3. ปัจจัยจากการดำเนินการคลอด การผ่าตัดคลอด (ผลทางอ้อม) การคลอดยาวนาน precipitate labour มดลูกหดรัดตัวมากผิดปกติ การใช้ยาสลบ หรือยาระงับปวดแก่มารดาในระยะเวลา 4 ชั่วโมงก่อนคลอด
พยาธิสรีรวิทยาของทารกแรกคลอดที่เกิด Asphyxia (Pathophysiology of asphyxia)
กลไกพื้นฐานของการเกิดภาวะ asphyxia (Basic mechanism of birth asphyxia) มี 4 อย่างได้แก่
1.ทารกในครรภ์เกิด asphyxia จากการลดหรือการหยุดไหลเวียนเลือดในสายสะดือ เช่น สายสะดือถูกกดทับระหว่างการเจ็บครรภ์คลอด
2.ทารกในครรภ์เกิด asphyxia เนื่องจากความล้มเหลวในการแลกเปลี่ยนแก๊สที่รกอันเกิดจากรกแยกตัวจากมดลูก เช่น abruption placenta,infarction
3. ทารกในครรภ์เกิด asphyxia เนื่องจากการไหลเวียนเลือดจากมารดาสู่บริเวณรกไม่เพียงพอ เช่น กรณีมารดามีอาการช๊อกซีด ความดันโลหิตสูง การบีบตัวของมดลูกนาน หรือมากเกินไป
4. ทารกแรกคลอดมีภาวะ asphyxia เนื่องจากความล้มเหลวที่จะทำให้อากาศเข้าสู่ปอด ตลอดจนความล้มเหลวในการปรับระบบหมุนเวียนเลือดไปเป็นแบบผู้ใหญ่ การเกิดในข้อนี้อาจเนื่องจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ (airway obstruction) ภาวะน้ำในปอดมากเกินไป หรือทารกมีความสามารถในการหายใจ (respiratory effort) อ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทารกที่มีอายุครรภ์น้อยมากๆ (Premature infant) เช่น น้ำหนักตัวน้อยกว่า
หากไม่ทำการแก้ไขปล่อยให้ asphyxia ดำเนินต่อไปภายหลัง primary apnea นาน 1-2 นาที ทารกจะอ้าปากหายใจ (gasping respiration) การหายใจจะตื้นลงตามลำดับจนเข้าสู่การหยุดหายใจที่เรียกว่า secondary apnea ทารกไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น การช่วยเหลือการหายใจทารกด้วยออกซิเจนและแรงดันบวก จะต้องกระทำทันทีเมื่อเห็นทารกไม่หายใจ โดยให้ถือว่าเป็น secondary apnea ก่อนเสมอ เนื่องจากในทางคลินิกไม่สามารถแยกการหยุดหายใจทั้งสองแบบออกจากกันได้ การเริ่มช่วยการหายใจยิ่งช้า จะส่งผลให้ใช้ระยะเวลาที่ต้องการช่วยให้ทารกกลับมาหายใจใหม่เองยิ่งใช้เวลานาน และทารกยิ่งอยู่ใน secondary apnea นานเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดผลเสียต่อสมองยิ่งสูง
ความคิดเห็น