A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะ Asphyxia

เขียนโดย A Rai Naa >>>

การแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะ Asphyxia

1.    Mild Asphyxia (Apgar Score 5-7)

อาการ  

มีการหายใจตื้นๆ หรือไม่สม่ำเสมอ ระยะ Apnea สั้น (<30 วินาที) ทารกพยายามจะหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้ง/นาที สีผิวเด็กจะคล้ำ ปลายมือปลายเท้าเขียว (Cyanosis) การตึงตัวของกล้ามเนื้อดี หรืออ่อนแรงบ้าง Reflex ต่างๆดี ชีพจรของสายสะดือแรงดี มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน

การพยาบาล

เน้นการช่วยเหลือทารกต่อจากการช่วยเหลือตามแนวทางดังนี้ เช็ดตัวให้แห้ง ดูดเมือกจากปาก จมูก และ pharynx เพื่อป้องกันการหายใจเอาเมือกเข้าปอดในการหายใจครั้งแรก กระตุ้นการหายใจด้วยการใช้นิ้วมือตีหรือดีดฝ่าเท้าทารก หรือโดยการใช้ผ้าถูหน้าอกทารกบริเวณ Sternum หรือหลัง รีบผูกและตัดสายสะดือ ให้ออกซิเจน โดยการให้ ออกซิเจน Mask ถ้ามี self inflating bag ควรจะมี mask สำหรับเพิ่มปริมาณออกซิเจน ให้ออกซิเจน 4-5 ลิตร/นาที ที่ผ่านความชื้นและอุ่น ถ้าออกซิเจนเย็นและแห้ง มีผลทำให้ HR ช้าลง ทารกเกิดการกลั้นหายใจชั่วคราวหรือหยุดหายใจ รายที่มารดาให้ยาแก้ปวดกลุ่มน์โคติค (Narcotic analgelsic) เช่น มารดาที่ได้ pethidine หรือ Morphine ภายใน 4 ชั่วโมง ก่อนคลอดให้ Naloxone (Narcan) เพื่อลบล้างฤทธิ์ของยาดังกล่าว ภายหลังช่วยเหลือถถ้าอาการดีขึ้นประเมิน Apgar’s score ที่ 5 นาที จะเท่ากับ 8 ถ้าไม่ดีขึ้น มีอัตราการเตนของหัวใจน้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที ตอบสนองช้าต้องให้การช่วยเหลือแบบ moderate Asphyxia

2.    Moderate Asphyxia (Apgar Score 3-4)

ทารกกลุ่มนี้มีการขาดออกซิเจนและมีภาวะความเป็นกรดมากกว่า หรือถูกกดจากยามากกว่า Mild Asphyxia ทารกมีภาวะตัวเขียว (Cyanosis) เต็มที่ ความสามารถการหายใจอ่อนมาก ความตึงตัวของกล้ามเนื้ออ่อนมาก Reflex irritability น้อย อัตราเต้นของหัวใจน้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที เป็นภาวะที่แสดงว่าทารกจำเป็นต้องได้รับการช่วยหายใจ แม้ว่าทารกจะแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการหายใจเข้า (inspiration effort) บ้าง

การพยาบาล

ช่วยการหายใจ โดยหารใช้ Bag และ mask โดยให้ออกซิเจน ร้อยละ 100 และความดันเพียงพอที่ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของทรวงอก ช่วยหายใจจนกว่า HR > 100 ครั้ง/นาที ทารกตัวแดงดี มีการหายใจเอง ตรวจสอบทารกด้วยระบบ Apgar Score ขณะให้การพยาบาลทารกควรอยู่ Radiant warmer ส่งหน่วยทารกแรกเกิดเพื่อสังเกตอาการต่ออีก 30-60 นาที อบที่ตู่อบหือ Radiant warmer

3.    Severe Asphyxia (Apgar Score 0-2)

ทารกกลุ่มนี้ขาดออกซิเจนอย่างมาก มีความเป็นกรดสูง ทารกมีลักษณะเขียวคล้ำอย่างมาก ไม่มีความสามารถในการหายใจ หรือมีการหายใจเฮือก (gasping) ไม่มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ตัวอ่อนปวกเปียก (Limp) ไม่มี Reflex irritability หัวใจเต้นช้ามาก หรือไม่เต้น

การพยาบาล

ช่วยหายใจทันที่คลอดเสร็จ (ตัด cord และผูก cord ก่อน) โดยใส่ endotrachial tube พร้อมทั้งทำการ clear air way ช่วยการหายใจด้วย bag โดยการให้ออกซิเจน 100% ช่วยนวดหัวใจ โดยนวดในอัตราการช่วยหายใจ : การนวดหัวใจ เท่ากับ 1:5 ประเมินการเต้นของหัวใจภายใน 1 นาที หรือ อัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที หลังการนวดหัวใจแล้ว ให้การช่วยด้วยออกซิเจน 100% นาน 2 นาทีและควรได้รับการรักษาด้วยสารน้ำและยา

ความคิดเห็น

ACRYSJ333
ACRYSJ333 15 ก.พ. 61 / 22:25
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่าา 😄