A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อประสาท

เขียนโดย A Rai Naa >>>

การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อประสาท

อันตรายต่อกล้ามเนื้อประสาทที่พบได้ คือ ความผิดปกติของประสาทที่เลี้ยงใบหน้า (Facial  palsy) และอันตรายของระบบประสทใต้ไหปลาร้า (brachial plexus palsy)

ความผิดปกติของประสาทที่เลี้ยงใบหน้า (Facial Palsy)

สาเหตุเกิดจากการคลอดยาก ทำให้ศีรษะทารกกดทับกระดูก Sacrum ของมารดา หรือใช้ครีมช่วยคลอด ทำให้คีมกดทับถูกเยื่อสมองคู่ที่ 7 ที่เลี้ยงใบหน้า (Facial nerve)

อาการ

เกิดอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อใบหน้า โดยทั่วไปมักเป็นด้านเดียว ทำให้ใบหน้าด้านที่เป็นไม่มีการเคลื่อนไหว ตาลืมได้เพียงครึ่ง ปิดไม่สนิท บางรายอาจมีอันตรายเฉพาะแขนงประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนล่าง ปากด้านที่เป็นถูกดึงลงมาทำให้ริมฝีปากมุมล่างตก ไม่สามารถย่นหน้าผาก เมื่อจับใบหน้าให้ตรง รูปหน้าสองด้านจะไม่เท่ากัน เห็นได้ชัดที่สุดเมื่อทารกร้องไห้ กล้ามเนื้อด้านที่เป็นอัมพาตไม่เคลื่อนไหว ทำให้หน้าเบี้ยวไปทางด้านที่ดี ถ้าประสาทที่เลี้ยงใบหน้าเพียงแต่ถูกกดอาจหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน ถึงเดือน (เฉลี่ย 3 สัปดาห์) ถ้าเส้นประสาทที่ขาดต้องได้รับการศัลยกรรมซ่อมประสาท (Neuro Plasty)

การพยาบาล

1.    ไม่ให้ดวงตาได้รับอันตราย ล้างตาให้สะอาด เนื่องจากเปลือกตาปิดไม่สนิท ป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อกระจกตา (Cornea) หยอดตาตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อบุตา (Conjungtiva) ตาขาว (sclena) และกระจกตา (Cornea) แห้ง

2.    ให้ได้รับอาหารครบตามความต้องการของร่างกาย ทารกไม่สามารถใช้ริมฝีปากอมหัวนมได้กระชับ ผู้ที่ให้นมทารกจึงควรมีความอดทนให้ทารกได้รับนมครบถ้วน ทารกที่กินนมแม่พยาบาลต้องสอนวิธีการให้นม ให้ช่วยบีบบริเวณลานนม เพื่อช่วยให้น้ำนมไหล ทารกที่ได้รับนมขวด ควรให้หัวนมยางที่นุ่ม น้ำนมไหลสะดวก อุ้มให้นม จับขวดให้พอเหมาะเพื่อทารกดูดนมได้สะดวก สังเกตการณ์ดูดกลืน ถ้าสำลัก อาจใช้ที่หยอดยาหยอดให้ จับเรอเป็นระยะ ป้องกันท้องอืด

อันตรายของเส้นประสาทเบรเคียล (Brachial Plexus Palsy)

เส้นประสาทแต่ละเส้นที่ออกจากไขสันหลังจะมารวมกันเป็นกลุ่มประสาทเส้นประสาทจากกระดูกสันหลังตอนคอท่อนที่ 5 จนถึงกระดูกสันหลังตอนอกท่อนที่ 1 (Cervical nerve ที่ 5 จนถึง Thoracic nerve ที่ 1 ) รวมกันเป็นปมประสาทใต้ไหปลาร้า ซึ่งจะกระจายออกไปสู่แขน อันตรายที่เกิดกับปมประสาทใต้ไหปลาร้า จึงเป็นเหตุให้มีอัมพาตของแขนส่วนนั้นบางระดับ สาเหตุเกิดจากการที่รากประสาทจากคอตลอดไหล่ไปสู่แขนถูกดึงยืดมาก เช่น การดึงไหล่ออกไปจากศีรษะในระหว่างคลอด หรือการคลอดท่าศีรษะที่งอศีรษะไปทางไหล่มากไป ทำให้เส้นประสาทคอ และกลุ่มประสาทไปเลี้ยงแขนถูกดึงยืดเกิดอันตรายต่อปมประสาทใต้ไหปลาร้าด้านตรงข้าม หรือคลอดท่าก้น ลำตัวงอไปด้านข้างก่อนศีรษะคลอด ทำให้ปมประสาทใต้ไหปลาร้าถูกดึงเต็มที่ ก่อให้เกิดความพิการ 2 แบบ คือ

-         brb-Ducheme paralysis : Erb’s palsy

-         มีพยาธิสภาพที่เส้นประสาท คอ ที่ 5 และ 6 (C5,C6) ได้รับอันตราย จะมีอัมพาตของแขน กล้ามเนื้อแขนข้างที่เป็นอ่อนแรง วางแนบกับลำตัว ข้อศอก แขนตก แขนช่งล่างหมุนเข้าด้านใน (abduction) ข้อมืองอ มือคว่ำ ทารกไม่สามารถกางแขนเหยียดออกจากไหล่หรือหมุนแขนออกด้านนอก และหงายแขนส่วนล่างได้ กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เคลื่อนไหวมือและนิ้วยังดี ทารกสามารถขยับข้อมือและมือได้ตามปกติ กำนิ้วมือได้ แต่ส่วนบนไม่สามารถขยับเขยื้อนได้ ทดสอบโมโรรีเฟล็กส์ แขนด้านที่เป็นยกขึ้นไม่ได้หรือยกได้น้อย การเคลื่อนไหวลดลง นิ้วมือเหยียดเกือบปกติ การตอบสนองในการกำมือ (Grasep reflex) ปกติ

-         Klumpke’s paralysis

-          มีพยาธิสภาพที่เส้นประสาทคอที่ 7 และ 8 (C7,C8) และรากประสาททรวงอกที่ 1 (T1) ทำให้กล้ามเนื้อมือของทารกทำงานไม่ได้ (Wrist drop) จะทำให้ขับมือไม่ได้เป็นสภาวะที่พบบ่อยที่สุด ความรุนแรงของอาการที่พบขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเส้นประสาทที่ได้รับอันตราย ถ้าอัมพาตเกิดจากการบวม มีเลือดออกรอบเยื่อประสาทโดยไม่มีการฉีกขาด การพยากรณ์พบว่าดีอาจฟื้นตัวได้เองใน 1 เดือน รายที่อาการรุนแรงอาจมีความพิการตลอดไป กรณีประสาทฉีกขาดพิจารณาทำผ่าตัดซ่อมประสาท

การพยาบาล

ให้ส่วนที่ได้รับอันตรายไม่เคลื่อนไหว จัดแขนให้อยู่ในท่ากางหมุนออก ศอกงอตั้งฉากกับลำตัวโดยยกแขนขึ้นระดับศีรษะ เพื่อให้กล้ามเนื้อหย่อนตัวและเส้นประสาทไม่ถูกกดเพิ่ม โดย

1.    ใช้ผ้าอ้อมพันรอบแขนหรือเสื้อแขนยาว กลัดแขนเสื้อหรือผ้าอ้อมที่พันกับที่นอนอในระดับศีรษะ และให้มืออยู่ในท่าหงาย

2.    ตรึงด้วยวิธีโคลฟ ฮิทธ์ (Clove Hitch) ใช้ผ้านุ่มพันรองรอบข้อมือพับกลม แถบผ้าชิ้นเล็กยาวเป็นรูปกลม 8 ทบเป็นห่วงรัดรอบข้อมือ ปลายแถบผ้า อีกด้านผูกกับขอบเตียงเหนือศีรษะ แขนกางออกยกขึ้น

3.    สำรวจแขนให้อยู่ในท่าที่ต้องการ และไม่ควรอุ้มทารกลงจากเตียงบ่อยๆ เพื่อป้องกันแขนไม่ให้เกิดอันตรายเพิ่มขึ้น ป้องกันความพิการจากการหดรั้ง

อัมพาตของกระบังลม (phrenic nerve paralysis)

อัมพาตของกระบังลมมักเกิดร่วมกับ Brachial palsy) คือ ประสาท Phrenic ซึ่งอยู่บริเวณกระบังลมถูกกด ทำให้กระบังลมด้านนั้นไม่หดตัว ทารกจะหายใจด้านนั้น จะค่อยลง การวินิจฉัยมักต้องใช้ Fluoroscopy การช่วยเหลือด้านการหายใจ ให้ทารกนอนทับด้านที่เป็น และส่วนมากมักจะค่อยๆหายไปเอง

Spinal cord injury

กลไกของการเกิดความบอบช้ำชนิดนี้ เกิดเมื่อเด็กถูกดึงอย่างแรงขณะที่แกนกระดูกสันหลังอยู่ในท่างอหรือบิด ร้อยละ 75 เป็นเด็กคลอดท่าก้นที่คลอดติดไหล่ อีกร้อยละ 25 เป็นเด็กท่าศีรษะ ศีรษะแหงนอย่างมาก (Hyperextension) ที่คลอดทางช่องคลอด อาจมีอาการจากน้อยไปมาก คือ มีอาการลำตัวหรือแขนขาเกร็ง อัมพาตตั้งแต่เกิด เสียชีวิตหลังคลอดแบบมี Spinal Shock (ตัวอ่อน ไม่หายใจ ตัวซีด มีแต่หัวใจเต้น) หรือเป็นมากก็ตายคลอด เนื่องจากพยาธิสภาพเกิดที่ระดับต้นคอหรือก้านสมอง ทำให้ศูนย์ควบคุมการเต้นของหัวใจและศูนย์ควบคุมการหายใจไม่ทำงาน ความบอบช้ำนี้ป้องกันได้โดยการผ่าท้องคลอด

 

ความคิดเห็น

ammilia
ammilia 7 ต.ค. 58 / 13:39
ขอบคุณมากๆๆ ค่ะ กำลังหางานส่งอาจารย์พอดี