A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซิฟิลิศ

เขียนโดย A Rai Naa >>>

การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซิฟิลิศ

1.       คัดกรองโรคโดยเจาะ VDRL ในหญิงตั้งครรภ์ทุกคนและติดตามผลเลือด

2.       ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคแก่หญิงตั้งครรภ์หรือคู่สมรสและวิธีการป้องกันการเกิดโรค ขณะมีเพศสัมพันธ์ควรป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยให้สามีใส่ถุงยางอนามัย

3.       ถ้ามีผลเลือด Reactive ส่งพบแพทย์ให้คำแนะนำการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ควรพาสามีมารับการตรวจรักษาให้หายขาด

4.       ในระยะคลอดควรป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโดยใช้หลัก Universal precaution ภายหลังทารกคลอด ควรสังเกตอาการทารกจากภาวะ Congenital syphilis ส่ง cord blood for VDRL ติดตามผลเลือดและแยกทารกออกจากทารกอื่นๆ

5.       การให้คำแนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด โดยให้สุขศึกษามารดาทุกรายเกี่ยวกับโรคอันตรายต่อทารก ความสำคัญของการรักษาและการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเอดส์

 

โรคเอดส์ (AIDS) ย่อมาจากคำว่า Aquired immunodeficiency syndrome เมื่อเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย โปรตีนที่เปลือกหุ้มไวรัส GP 120 จะจับกับ cell ของร่างกายที่มี CD4 antigen ที่ผิวของ cell เช่น T4 Lymphocyte,macrophage เป็นต้น หลังจากนั้นก็จะก่อโรค โดยการเข้าไปใน cell ร่างกาย จากนั้นใช้เอนไซม์ Reverse transcriptase สร้าง viral RNA จาก cell ที่ติดเชื้อได้ ทำให้ cell ร่างกายมีอายุสั้น และแตกสลายง่าย ซึ่งทำให้ T4 cell ลดลง มีผลระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายและเกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

 

การแพร่เชื้อโรค

 

สามารถตรวจพบเชื้อ HIV ได้ในสารคัดหลั่งต่างๆของร่างกาย เช่น น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด เลือด น้ำตา น้ำลาย น้ำนม สรุปการแพร่กระจายเชื้อ HIV มีดังนี้

1.       การแพร่เชื้อ โดยทางเพศสัมพันธ์

2.       การแพร่เชื้อโดยสัมผัสกับเลือด หรือผลิตภันฑ์ของเลือด

3.       การติดต่อจากมารดาสู่ทารก

การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก

ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการติดเชื้อ HIV จากมารดาสู่ทารก ได้แก่

1.       อาการของมารดา

2.       ปริมาณ CD4 < 700 cells/ml หรือ CD4/CD8 < 0.6

3.       มี P24 Antigen ในกระแสเลือด

4.       ทารกคลอดก่อนกำหนด

5.       การช่วยคลอดโดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น F/E, V/E

6.       ทารกแฝดคนแรก

7.       การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา

 

การวินิจฉัย

1.       มารดา ตรวจโดยการเจาะเลือดหาเชื้อ HIV โดยความสมัครใจ มีหลายวิธี เช่น PA, ELISA, Western blot ซึ่งต้องตรวจยืนยันอย่างน้อย 2 วิธีที่แตกต่างกัน

2.       ทารก ตรวจพบ Antibody หลังจากทารกอายุ 15-18 เดือนไปแล้ว ยกเว้นตรวจหา Viral DNA (Antigen) โดยวิธี PCR หรือทำการแยกเชื้อไวรัส ซึ่งทำได้ภายในเดือนแรกหลังคลอด

 

ผลของการติดเชื้อ HIV ต่อการตั้งครรภ์

 

จากการศึกษาพบว่า การติดเชื้อมีความสัมพันธ์กับการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยการคลอดก่อนกำหนด มดลูกอักเสบภายหลังคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วน dead fetus in utero มีแนวโน้มสูงกว่าปกติแต่ยังไม่พบความแตกต่างทางสถิติ

 

การดูแลมารดาที่ติดเชื้อ HIV

ระยะตั้งครรภ์

 

1.       ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินของโรค วิธีการติดเชื้อ โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อไปยังทารก เพื่อให้ผู้ป่วยเลือกที่จะดำเนินชีวิตอย่างไร ตลอดจนการติดเชื้อต่างๆ

2.       ตรวจหาโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ตลอดจนการติดเชื้อต่างๆ ตรวจนับ cell CD4 ในมารดา ถ้า < 700 cells/ml โอกาสจะติดเชื้อไปยังทารกจะเพิ่มขึ้น ถ้า < 200 cells/ml ต้องระวังโรคติดเชื้อฉวยโอกาส

3.       ติดตามดูอาการของมารดา

4.       ใช้ยาต้านไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์ โดยให้ยา AZT ในมารดาที่ติดเชื้อ HIV ขนาด 100 mg. รับประทานวันละ 5 ครั้ง ในระหว่างอายุครรภ์ 14-34 สัปดาห์ และให้ต่อจนเจ็บครรภ์คลอดให้รับประทานยา AZT 300 mg. ทุก 3 ชั่วโมงจนคลอด หรือจะให้ยา AZT ทางหลอดเลือดดำ โดยให้ยาครั้งแรกในขนาด 2 mg./kg/hr เมื่อเจ็บครรภ์คลอดและให้   1 mg/kg/hr จนกระทั่งคลอด และอาจให้ Nevirapine 200 mg. ก่อนทารกคลอด 4 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้ยาในทารกแรกเกิดชนิดน้ำเชื่อม ขนาด  2 mg./kg รับปะทานทุก 6 ชม. เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยเริ่มรับประทานในระยะเวลา 8-12 ชม. หลังคลอด

ระยะคลอด

ให้คลอดทางช่องคลอดตามมาตรฐานการคลอดทั่วไป โดยป้องกันการแพร่เชื้อและการติดเชื้อโดยวิธี Universal precaution โดยแยกห้องคลอดจากห้องคลอดทั่วไป ทำคลอดให้มีบาดแผลน้อยที่สุดหลีกเลี่ยงสูติศาสตร์หัตถการต่างๆ

ระยะหลังคลอด

ควรแยกมารดาหลังคลอดจากผู้ป่วยทั่วไป สารคัดหลั่งและผ้าเปื้อน ควรแช่น้ำยา 0.5% โซเดียมไฮโปคลอไรด์ ควรระวังการติดเชื้อของแผลฝีเย็บและบาดแผลทางช่องคลอด ควรงดการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาการคุมกำเนิด ใช้ถุงยางอนามัยช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV และการทำหมันป้องกันการตั้งครรภ์การให้วัคซีนแก่มารดาและทารก ฉีดได้ทุกรา ยกเว้น BCG ที่งดให้ในเด็กที่ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการของโรคเอดส์ ส่วน Oral polio vaccine แนะนำให้ใช้แบบ inactivated vaccine แทน

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น