A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

สาเหตุ

เขียนโดย A Rai Naa >>>

สาเหตุ

1.       ตั้งครรภ์หลายครั้ง

2.       ครรภ์แฝด,แฝดน้ำ

3.       น้ำคร่ำน้อย

4.       ทารกหัวบาตร

5.       รกเกาะต่ำ

6.       มดลูกผิดปกติ

7.       มีเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน

8.       เคยคลอดท่าก้น

การวินิจฉัย

1.       การคลำทางหน้าท้องพบก้นเป็นส่วนนำ

2.       การตรวจภายใน พบ ก้น เท้า กระดูกก้นกบ

การคลอดท่าก้นทางช่องคลอด

1.       Spontaneous breech delivery เป็นการคลอดออกมาทั้งหมด โดยปราศจากแรงดึง หรือการกระทำผู้ทำคลอดเพียงพยุงส่วนของเด็กให้คลอดตามกลไกการคลอด

2.       Partial breech extraction (breech assisting) ทารกคลอดตามธรรมชาติ ถึงระดับสะดือส่วนร่างกายที่เหลือจะถูกช่วยดึงช่วยคลอด

3.       Total breech extraction ทั้งตัวเด็กจะถูกดึงออกมาโดยผู้ทำคลอด

การพยาบาลหลังคลอด

การดูแลเหมือนการดูแลมารดาหลังคลอดปกติ

การชักนำการคลอด (Induction of labor)

1.       จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้คลอดที่ยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดเกิดเจ็บครรภ์คลอดและสามารถคลอดได้เองทางช่องคลอด มี 2 วิธี คือ Medical induction และ Surgical induction

2.       Augmentation of labor การทำให้ผู้คลอดมีความก้าวหน้าของการคลอดเพิ่มขึ้น หลังจากที่ผู้คลอดมีอาการเจ็บครรภ์เกิดขึ้นแล้ว

3.       Elective induction (การชักนำการคลอดแบบนัดหมาย) เป็นการชักนำการคลอดโดยแพทย์หรือผู้คลอดเป็นผู้กำหนดเวลา เพื่อสะดวกต่อการทำคลอด

4.       ข้อบ่งชี้สำหรับการทำ Induction ได้แก่ ภาวะ PIH, DM, ครรภ์เกินกำหนด : intrauterinefetal death (IUFD), premature rupture of membranes, โรคแทรกซ้อนทางอายุรศาสตร์ เช่น โรคหัวใจ, โรคปอด, โรคไต และเยื่อบุถุงน้ำคร่ำติดเชื้อ (Chorioamnionitis)

5.       ข้อห้าม : รกเกาะต่ำ (Placenta previa), เส้นเลือดทอดต่ำหรือผ่านปากมดลูก (Vasprevia), CPD ชัดเจน, ทารกท่าผิดปกติเคยมีแผลผ่าตดคลอดแบบ Classical, สายสะดืออยู่ต่ำกว่าส่วนนำ (Funic presentation) หรือสายสะดือโผล่แลบ (prolaps cord) และติดเชื้อเริมที่ อวัยวะสิบพันธุ์ในระยะ active

6.       ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการชักนำ ได้แก่

6.1   อายุครรภ์ (อายุครรภ์ที่มากขึ้น ปริมาณ Prostaglandins ในธรรมชาติจะมากขึ้น ทำให้ความพร้อมที่มดลูกและปากมดลูกมีมากขึ้น)

6.2   จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์และการคลอด (ครรภ์หลังปากมดลูกจะมีความนุ่มและขยายอยู่บ้าง ทำให้ชักนำให้เจ็บครรภ์ง่ายกว่า)

6.3   ระดับของส่วนนำและความพร้อมของปากมดลูกที่สามารถตรวจประเมินได้จาก Bishop pelvic scoring

-          ถ้าคะแนนรวม < 4 การชักนำการคลอดมีโอกาสล้มเหลวสูง

-          ถ้าคะแนนรวม > 7 ถือว่าปากมดลูกอยู่ในภาวะที่เหมาะสม (favorable) ต่อการชักนำการคลอด

การล้วงรก (Manual removal of placenta)

เป็นการช่วยเหลือเร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือผู้คลอดในระยะที่ 3 ของการคลอด กรณีรกไม่คลอด หรือ มีการฝังตัวแน่นของรก

การช่วยเหลือดูแล

1.       ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากระเพาะปัสสาวะว่างเปล่า (อาจต้องสวนปัสสาวะ)

2.       ถ้ารกยังค้างอยู่ในโพรงมดลูก (Retained placenta) ภายหลังจากที่ได้มีการทำ Active management ในระยะที่ 3 ของการคลอดแล้ว (ฉีด Oxytocin 10 ยูนิตเข้ากล้ามเนื้อ หลังเด็กคลอดภายใน 1 นาที และทำ Control cord traction)

3.       รายงานแพทย์เพื่อคะเนได้ว่าทารกไม่คลอดภายใน 30 นาที ในระยะที่ 3 เพื่อให้การช่วยเหลือโดยการล้วงรก พร้อมกับตามวิสัญญีแพทย์ เพื่อให้ยาสลบขณะทำการล้วงรก

4.       ภายหลังล้วงรกประเมินการหดรัดตัวของมดลูก/จำนวนเลือดออกและสัญญาณชีพเพื่อประเมินภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก (Early PPH)

5.       ติดตามประเมินการติดเชื้อและภาวะตกเลือดในระยะหลังคลอด (Late PPH) ดูภาวะของ Involution of uterus โดยประเมินลักษณะของน้ำคาวปลา, สัญญาณชีพ และระดับยอดมดลูก

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น