ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หลักการเขียนนิยาย

    ลำดับตอนที่ #2 : บทเรียนที่ 2 การบรรยายเรื่อง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.23K
      5
      3 พ.ค. 48



    บทเรียนที่ 2



    สวัสดีค่ะมาเจอกันกับบทเรียนที่ 2 แล้วนะคะ น้องๆคงไปฝึกวางโคลงเรื่องแล้วใช่ไหม หวังว่า ตอนนี้น้องๆจะใช้จินตนาการพาฝันของน้องๆไปได้ไกลขึ้นอีกก้าวแล้วนะคะ



    สำหรับบทเรียนที่ 2 นี้ จะเริ่มยากส์ขึ้นค่ะ



    การแต่งวรรณกรรมหรือนิยาย จะมีวิธีเล่าหรือนำเสนอเนื้อเรื่องอยู่ 2 แบบ



    แบบแรกคือ ผู้เขียนเป็นคนเล่า (ประโยคบอกเล่า)หรือ บรรยายเหตุการณ์ และ สรรพนามก็จะเปลี่ยนมาเป็น ผม ฉัน เขา แทน เช่น



    ผมเดินเข้ามาในซอยเปลี่ยวแห่งหนึ่ง ซึ่งตัวผมเองก็ไม่รู้ว่ามันคือที่ไหน มันเป็นที่รกร้างว่างเปล่า........



    ตัวอย่างข้างต้นที่เป็นตัวหนา แสดงถึงว่า คือตัวผู้เขียนเอง โดยใช้คำว่า ผม เป็นตัวสื่อ



    และแบบที่ 2 คือบุคคลที่ 3 เป็นคนเล่าเรื่อง



    ดังเช่น....



    รองเป็นคนขี้หงุดหงิดง่าย แต่ดารินกลับตรงกันข้ามเธอสุขมแลดูเยือกเย็นมากกว่า เหมือนน้ำที่จะมาคอยดับไฟอย่าง รอง



    จากตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า การเล่าเรื่องนั้นมันมีหลายรูปแบบ



    วิธีที่น้องๆจะเข้าใจได้มากที่สุดเดี๋ยวพี่จะอธิบายให้ฟังนะคะ



    คือในรูปแบบตัวอย่างที่ 1 มันเป็นกรณีที่ผู้เขียนเป็นคนเล่าเรื่องด้วยตัวเอง บทบรรยายเลยใช้กับนิยายบางส่วนไม่ค่อยได้ แต่ในกรณีแบบที่ 2 จะเป็นมุมมองของบุคคลที่ 3 ที่เป็นคนเล่าเรื่องหรือนำเสนอเนื้อเรื่องแทนตัวละคร ในกรณีนี้ จะเป็นรูปแบบตัวอักษรที่ค่อนข้างจะตายตัวเสมอในนิยายเกือบจะทุกๆเรื่อง



    เราลองมาวางโคลงเรื่องที่ มีบุคคล 2 คน สนทนากัน



    สมมติขึ้นมาง่ายๆ เช่นนาย เอ คุย กับ นาย บี เพื่อจะไปตกปลา โดยที่ บุคคลที่ 3 คือตัวเรา(ผู้เขียน)เป็นคนเล่าเรื่อง



    ดึกสงัดในคืนหนึ่ง ยังมีชายหนุ่มสองคนสนทนากันท้ายคลุ้งน้ำใหม่ใกล้ๆโรงสี พวกเขากำลังขะมักเขม้นในการวางเบ็ดตกปลาข้างหนอง



    ประโยคข้างต้น ผู้เขียนจะเป็นคนเล่า(บุคคลที่ 3) เพื่อบรรยายลักษณะและ สภาพบรรยากาศ ก่อนที่จะเข้าสู่บทสนทนา



    \'\' เฮ้ย! บีแกว่าวันนี้เราจะตกได้ปลาไหมวะ? \'\' ชายหนุ่มคนหนึ่งหันหน้ามาถามเพื่อนรักพลางปักเบ็ดไว้ตามคันนาข้างหนอง ในขณะที่ชายหนุ่มอีกคนหันหน้ามาทำสีหน้าราบเรียบแล้วส่ายศรีษะช้าๆ



    \'\' ไม่แน่ว่ะ ข้าว่าวันนี้มันแปลกๆ \'\'




    จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้นว่า มันมีส่วนของบทสนทนาและส่วนของบทบรรยาย โดยส่วนของบทสนทนาจะมี \'\' เพื่อคอมเม้นให้แยกกันออกว่าเป็นท่อนคำพูด หรือ ท่อนบรรยาย



    หวังว่าน้องๆคงเข้าใจในการแบ่งท่อนแล้วนะคะ คราวนี้เราจะมาเริ่มในส่วนของการหาคำเพื่อมาบรรยายกันค่ะ



    ขั้นแรกของบทเรียนที่ 2 คือให้น้องๆ สะสมคำในแบบต่างๆให้มากที่สุดเพื่อนำมาเขียน ให้สละสลวยและ อ่านไหลรื่นมากขึ้น



    คำที่ใช้แสดงความรู้สึกในด้านบวกได้แก่ ดีใจ ตื่นเต้น ไชโย ปลื้ม ปิติ ยินดี สวย หล่อ รัก ชอบ ยิ้ม ฯลฯ เป็นต้น



    คำที่ใช้แสดงความรู้สึกในด้านลบได้แก่ โกรธ เกลียด ขุ่นมัว เศร้า โศก เสียใจ ร้องไห้ ฯลฯ เป็นต้น



    การสะสมคำหลายๆแบบ และ คำหลายๆอย่างน้องๆ อาจจะเห็นว่ามันไม่ค่อยมีประโยชน์สักเท่าไหร่ แต่ที่จริงแล้ว ประโยชน์ของมันมหาศาลมากมาย เพราะ การใช้คำที่ซ้ำๆ จะทำให้คนอ่านเบื่อหน่ายได้ ผิดกับการใช้คำที่ไม่ซ้ำและอ่านได้ไหลรื่น



    กรุณาดูตัวอย่างด้านล่าง





    ขณะที่ระพีวิทย์วิ่งไปข้างหน้า ระพีวิทย์ก็ต้องสะดุดหกล้มบาดเจ็บที่หัวเข่าอย่างจัง ที่หัวเข่ามีเลือดไหล และก็ที่น่าอกด้วย



    เป็นไงคะ อ่านแล้วทะแม่งๆบ้างไหม หากเรามีคำให้เล่น หรือ เลือกใช้เยอะ รูปแบบออกมาจะเป็นดังนี้



    ขณะที่ระพีวิทย์ก้าวทะยานไปข้างหน้าด้วยกำลังของฝีเท้า เขาก็ต้องสะดุดเข้ากับตอไม้แห้ง จนกระเด็นเซถลาหกล้มไม่เป็นท่า เขามองดูที่หัวเข่าซึ่งมีเลือดไหลชุ่มนัก น่าอกของเขาก็ใช่ย่อย



    ตัวอย่างที่ 2 บ่งบอกให้เห็นว่าหากเรามีคำให้เลือกใช้มากมาย เราสามารถเลือกสรรคำดีๆมาลงให้เหมาะสม และ น่าอ่านมากยิ่งขึ้น



    อืม ถ้าอยากเก่งแล้วคิดทันล่ะก็ต้องหัดหาคำบ่อยๆ เอายังงี้ดีกว่า ให้การบ้านน้องๆเลยนะ ไปหาคำในด้านบวกมา 40 คำ คำในด้านลบมา 40คำ ส่งมาทางอีเมล์นะคะห้ามโพส ที่ annya_maria@hotmail.com



    จะรอตรวจค่ะ มันมีประโยชน์นะคะ ว่าแต่คิดว่ามันง่ายหรือเปล่า และแน่นอน มันมีถึงค่ะ มันมีถึง 80 คำแน่นอน ลองเล่นดูไหมมันเป็นประโยชน์กับน้องๆนะ





    แล้วมาเจอกันใน



    บทเรียนที่ 3 นะคะ หวังว่าพวกน้องๆคงไม่ท้อกันเสียก่อน







    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×