-Azminz.27-
ดู Blog ทั้งหมด

รายละเอียดโรคต่าง ๆ ที่ถูกเอ่ยถึงในฟิคตอนที่ 20

เขียนโดย -Azminz.27-
รายละเอียดของโรคที่ถูกเอ่ยถึงในฟิค
The missing PARALLEL WORLD Chapter : 20

"
"
"

************************************
"
"

.
.

............Dilated Cardiomyopathy
.
.
............
เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นโรคชนิดที่หัวใจขยายตัวโตขึ้นและบีบตัวได้ไม่ดีเท่ากับปกติ โรคนี้เป็นผลมาจากความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ไม่พอ ร่างกายปรับตัวโดยการเพิ่มขนาดของหัวใจ เพื่อเพิ่มประมาณเลือดที่บีบออกจากหัวใจ ทำให้หัวใของผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ มีขนาดหัวใจที่โตมาก โรคนี้ทางการแพทย์เรียกว่า Dilated Cardiomyopathy (DCM)
.

............อาการสำคัญของโรคคือ เหนื่อยง่าย ถ้าเป็นมากจะมีอาการบวมและเหนื่อยหอบของหัวใจของโรคหัวใจวายเลือดคั่ง โรคนี้ไม่ทราบสาเหตุที่เป็น บางครั้งก็พบหลังจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัส หรือเกิดหลังจากการได้รับสารพิษบางอย่าง เช่น โคบอลท์ ยารักษามะเร็ง

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก : https://www.vibhavadi.com/health683

.
.
.
.
............
TGA(Transposition of the great arteries)
 
.
.

............ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียวที่มีการสลับกันของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดง หรือเรียกง่าย ๆ ว่า โรคหัวใจสลับขั้ว ในหัวใจปกติ เส้นเลือดแดงใหญ่จะออกมาจากหัวใจห้องล่างซ้าย และเส้นเลือดพัลโมนารี จะออกมาจากหัวใจห้องล่างขวา แต่ผู้ที่เป็น TGA จะมีการสลับตำแหน่งกันของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงใหญ่ โดยเส้นเลือดแดงใหญ่จะออกมาจากหัวใจห้องล่างขวา ส่วนเส้นเลือดพัลโมนารีจะออกมาจากหัวใจห้องล่างซ้าย ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายเป็นเลือดดำ ส่วนเลือดที่ไปปอดกลับเป็นเลือดแดง ทำให้มีอาการเขียวมากและเสียชีวิตทันทีหลังคลอด หากไม่มีทางเชื่อมกันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายและปอด
.
............อาการเขียวน่าจะเป็นอาการนำที่สำคัญที่สุด และมักจะเขียวมาก มีอาการของภาวะหัวใจวาย เช่น หายใจเร็ว เหนื่อยง่าย เหงื่อมาก เลี้ยงไม่โต ตับโต หัวใจเต้นเร็ว และหัวใจโต จพแสดงอาการมากน้อยขึ้นอยู่กับช่องทางปนกันของเลือดดำและและเลือดแดง หรือโรคมีหลายระดับแค่ไหน ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเขียวมาจนถึงกับเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
.

............การรักษา
.
ให้ยาเปิดเส้นเลือด PDA เพื่อให้คงการปนกันของเลือดดำกับแดง (Prostaglandin E1) เป็นยาที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีช่องทางติดต่อระหว่างเลือดดำกับแดง หรือมีไม่เพียงพอ
.

............การขยายช่องทางติดต่อระหว่างหัวใจห้องบนขวาและซ้ายด้วยบอลลูน จะเป็นการเปิดช่องทางการติดต่อระหว่างห้องบนขวากับซ้าย มีการปนกันของเลือดดำกับแดงมากขึ้น เป็นการซื้อเวลาก่อนจะนำผู้ป่วยไปผ่าตัด
.

............การผ่าตัด
............ในปัจจุบันจะมีการผ่าตัดโดยการสลับเส้นเลือดที่ออกจากหัวใจทั้งสองเส้น เรียกว่า  arterial switch operation คือทำการสลับเส้นเลือดแดงใหญ่และเส้นเลือดพัลโมนารีให้กลับออกมาจากหัวใจตามปกติ ซึ่งต้องทำการผ่าตัดตั้งแต่อายุยังน้อย คือภายในหนึ่งถึงสองสัปดาห์แรกหลังคลอด ทำให้การไหลเวีนเลือดกลับมาเหมือนปกติได้

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก :
 https://heart.kku.ac.th/103-specialty/cardiac-pediatrics/pediatrics-articles/71-cardiac-pediatrics-tga

.
.
.
.
............
Situs Inversus

 

............Situs Inversus ในผู้ใหญ่ทั่วไปพบได้ประมาณ 1:10,000 จำแนกได้เป็นสองกลุ่มหลักคือ

.
............
1. Complete (situs inversus totalis)
.
............
2. Partial (situs ambiguous)
.
............
Situs inversus totalis เป็นภาวะที่อวัยวะภายในทั้งทรวงอกและช่องท้องกลับซ้ายเป็นขวาแบบภาพในกระจก ส่วน partial situs inversus อาจมีการกลับซ้ายขวาเฉพาะในทรวงอก แต่อวัยวะในช่องท้องอยู่ในตำแหน่งปกติ หรืออวัยวะในช่องท้องกลับซ้ายขวา แต่ในทรวงอกอยู่ในตำแหน่งปกติ นอกจากนั้นยังมีน้อยรายที่พบมีการกลับซ้ายขวาเฉพาะกระเพาะอาหารหรือดูโอดีนัม partial situs inversus มักแบ่งออกเป็น asplenia syndrome และ polysplenia syndrome

............ลักษณะ

............ในราย total situs inversus แนวแกนของหัวใจและ aortic arch จะอยู่ด้านขวา ม้าม ตับ จะอยู่กลับด้านกัน ถุงน้ำดีอยู่ข้างซ้าย
............ใน partial situs inversus (situs ambiguous) มีกระเพาะอาหารอยู่ข้างขวา แต่หัวใจอยู่ข้างซ้ายในตำแหน่งปกติ มีความผิดปกติรุนแรงร่วมด้วยได้บ่อย และมีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 80-90 ในกลุ่มนี้มักจะมีความผิดปกติของหัวใจหรือส่วนอื่น ๆ ร่วมด้วยบ่อย ได้แก่ endocardial cushion defect, outflow tract ความผิดปกติของหลอดเลือดใหญ่ นอกจากนั้นยังอาจมีความผิดปกติของ neural tube และท่อทางเดินปัสสาวะและสืบพันธุ์

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก : 
http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=82:situs-inversus&catid=43&Itemid=420


ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น