ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เกร็ดความรู้นิดๆหน่อยๆ

    ลำดับตอนที่ #5 : โสม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 92
      0
      28 ส.ค. 52

    โสม

    โสมเป็นรากของพืชทำให้แห้งอยู่ในตระกูล Araliaceae แบ่งคร่าวๆว่าเป็นโสมที่มีแหล่งกำเนิดจากเอเซียเรียก Asian ginseng ( Panax ginseng C.A., Meyer)ได้โสมจากประเทศ จีน เกาหลี โสมจากประเทศอเมริกา American ginseng ( Panax quinquefolius L. ) ให้ผลการรักษาน้อยกว่าจากเอเซีย อีกชนิดหนึ่งคือ Siberian ginseng ส่วนประกอบจะไม่เหมือนสองชนิดแรก ให้ผลการรักษาอ่อนสุด

    โสมเป็นสมุนไพรซึ่งนิยมใช้ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันโดยประเทศทางตะวันออกเชื่อว่าเป็นยาครอบจักรวาลช่วยเพิ่มพลัง โสมนี้ยังมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น โสมจัน โสมญี่ปุ่น โสมเกาหลี โสมอเมริกา ผักกะโสม โสมไทย โสมดอกแดง และโสมที่นิยมใช้กันมาพันปี คือ โสมเกาหลี หรือโสมอเมริกา ซึ่งเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยาอย่างแท้จริง

    การเก็บโสม

    การเก็บโสม ส่วนที่เก็บคือราก การเก็บรากโสมต้องทำให้แห้งโดยเร็ว เพื่อป้องกันมิให้ enzyme ในรากออกมาทำลาย saponin ในประเทศเกาหลีจะมีการคัดโสมคุณภาพดีจำนวนหนึ่งอบไอน้ำเพื่อฆ่า enzyme ให้หมดก่อนอบแห้ง เรียกโสมที่ผ่านกรรมวิธีนี้ว่า โสมแดง จัดเป็นโสมที่มีคุณภาพสูงสุด ราคาสูง ส่วนโสมที่นำไปตากแดด หรือทำให้แห้งโดยวิธีอื่น เรียกว่า โสมขาว คุณภาพและราคาต่ำกว่าชนิดแรก ปัจจุบันโสมเป็นสมุนไพรที่รู้จักกันดีทั่วโลก ในลักษณะอาหารเสริมสุขภาพ แต่เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง จึงทำให้ผู้ใช้เกิดความสนใจว่า “ โสมมีคุณภาพมากมาย จริงหรือไม่?”

    1. ช่วยเพิ่มพลัง คุณสมบัติต่อต้านความเมื่อยล้าของโสม ทำให้ร่างกายมีการปลดปล่อยพลังงานมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพขณะทำงานหรือออกกำลังกาย โสมช่วยให้ผนังเซลล์ดูดซึมออกซิเจนเพิ่มขึ้น มีผลทำให้ขบวนการเผาผลาญภายในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจึงปลดปล่อยพลังงานได้มากขึ้นร่างกายจึงเหน็ดเหนื่อยช้า มีความทนต่อการทำงานหนักมากยิ่งขึ้น
    2. ใช้ป้องกันโรคมะเร็ง
    3. เสริมภูมิคุ้มกัน มีการทดลองในสัตว์พบว่าโสมสามารถเพิ่มการตอบสนองของภูมเิ่พิ่มขึ้น 50% มีปฏิกิริยาตอบสนองของเม็ดเลือดขาวต่อสารเคมีสูงขึ้น มีอัตราการทำลายจุลินทรีย์ หรืออนุภาคแปลกปลอมต่างๆของเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น จำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลทำให้ร่างกายสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค ที่มีสาเหตุจากเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อไวรัส เชื้อรา และสารเคมีต่างๆ ตลอดจนการต่อต้านโรคภูมิแพ้ หรือโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดต่างๆได้ดี
    4. ช่วยคลายเครียด คุณสมบัติต่อต้านความเครียดของโสม ช่วยปรับสภาพร่างกายและจิตใจ ให้ทนต่อความกดดันจากภายนอก โสมจะเป็นตัวป้องกันและต่อต้านความเครียด โดยเร่งขบวนการเผาผลาญอาหารต่างๆ เพื่อปลดปล่อยพลังงานออกมาต่อต้านความเครียด
    5. เป็นสมุนไพรที่ชลอความแก่่ อนุมูลอิสระที่สลายตัวจากการเผาพลาญ จะเป็นตัวทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ ให้เสื่อมสลายลง อันเป็นสาเหตุหนึ่งของความแก่ โสมสามารถทำลายอนุมูลอิสระของออกซิเจน ช่วยให้เนื้อเยื่อเสื่อมช้าลง ประกอบกับคุณสมบัติเป็นตัวปรับสภาพให้ร่างกายและจิตใจ มีความทนทานต่อความกดดัน ซึ่งช่วยลดขบวนการของความแก่ ดังนั้นโสมจึงช่วยให้ชะลอความแก่ลงได้
    6. ช่วยลดน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน ในคนไข้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โสมทำให้ต่อมในตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการเกิด อาการมึนชา ตามนิ้วมือนิ้วเท้า และการเกิดแผลเน่าเปื่อย นอกจากนี้ ginsenoside Rb และ ginsenoside Rc ยังออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน จึงช่วยลดขนาดการใช้อินซูลินจากภายนอกในการรักษาคนไข้โรคเบาหวานได้
    7. รักษาโรคสมรรถภาพทางเพศเสื่อม ผลต่อสมรรถภาพทางเพศ ในสมัยโบราณเชื่อกันว่าโสมเป็นตัวกระตุ้นกำหนัดทางเพศ แต่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ว่า โสมไม่ได้ทำให้ฮอร์โมนทางเพศเปลี่ยนแปลงเลย การที่โสมช่วยให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น เป็นผลจากคุณสมบัติ ที่ทำให้สุขภาพจิต และสมรรถภาพทางร่างกายดีขึ้น
    สารสำคัญในโสม

    สารสำคัญ ที่พบในรากเป็นสาร saponin ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม ginsenoside กลุ่ม panaxoside และกลุ่ม chikusetsusaponin แต่ส่วนประกอบที่สำคัญ ของโสมคือ ginsenoside ซึ่งจะมีในโสมประมาณ ร้อยละ 1 -2 โดยน้ำหนัก ขึ้นกับชนิดของโสม แหล่งที่ปลูก รวมทั้งกระบวนการผลิต พบว่าโสมที่ขายในท้องตลาดบางชนิดแทบจะไม่มี ginsenoside เลย ดังนั้นเมื่อหาซื้อโสมมาบำรุงร่างกายจึงควรดูส่วนประกอบของโสม คือ ginsenoside เป็นสำคัญ

    หลักฐานทางวิทยาศาสตร
    • ยังไม่มีมาตรฐานความบริสุทธิ์และความเข้มข้นของโสม ทำให้ขาดความน่เชื่อถือ
    • พอจะมีหลักฐานว่าโสมทำให้มีพลังเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากยังขาดมาตรฐานในการทดลองจึงขาดความน่าเชื่อถือ
    ผลข้างเคียงของโสม
    • ผู้ที่รับประทานโสมมานานและปริมาณมากอาจจะเกิดกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วย ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ มีผื่นและท้องร่วงที่เรียกว่า ginseng abuse syndrome
    • โสมแดงอาจจเสริมฤทธิ์กับกาแฟ หรือสารที่กระตุ้น
    • แม่ที่รับประทานโสมขณะตั้งครรภ์เมื่อคลอดลูกอาจจะมีขนมาก
    • โสมมีฮอร์โมนซึ่งทำให้เกิดอาการคัดเต้านม
    การทดสอบคุณภาพของโสม
    • ตรวจพบยาฆ่าแมลง hexachlorobenzene ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งหนึ่งตัวอย่างในห้าตัวอย่าง
    • พบยาฆ่าแมลง quintozene and lindane สองในห้าตัวอย่าง
    • บางตัวอย่างพบว่ามีปริมาณโสมน้อยกว่าที่ระบุในฉลาก
    • สรุบพบว่า 10ใน 12 มใีคุณภาพตามที่ระบุในฉลาก ไม่พบโลหะหนัก หรือสารเจือปน
    ที่มา http://www.siamhealth.net/public_html/alter/herbal/ginseng.htm
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×