ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บทความวิชาเกรียน - ข้อมูลเทวดาฉบับฮาเฮ

    ลำดับตอนที่ #25 : พระภรตมุนี : พ่อแก่ผู้แหวกขนบ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 447
      1
      26 มี.ค. 60

     พระภรตมุนี : พ่อแก่ผู้แหวกขนบ


    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พ่อแก่


    ตอนที่ผ่านๆ มาได้กล่าวถึงเหล่าคนธรรพ์ซึ่งเป็นเทวดาที่โดดเด่นเรื่องการร้องรำทำเพลงบนสรวงสวรรค์ และเป็นที่นับถือของเหล่ามนุษย์ในฐานะครูทางด้านดนตรีและนาฏศิลป์กันมาบ้างแล้ว ในตอนนี้ก็จะกล่าวถึงเทพฤๅษีอีกหนึ่งท่านที่เป็นที่นับถือในวงการดนตรีและนาฏศิลป์กันเสียหน่อย นั่นคือ “พระภรตมุนี” ผู้เขียนตำรานาฏยศาสตร์ หรือว่าคัมภีร์ที่ว่าด้วยการนาฏศิลป์นั่นเอง

    ความเป็นมาของพระภรตมุนีนั้นไม่แน่ชัดนัก บางแห่งเชื่อว่าพระภรตมุนีเป็นฤๅษีซ่งมีกำเนิดในพรหมโลกเช่นเดียวกับพระกัศยปเทพบิดร บางข้อสันนิษฐานเชื่อกันว่าพระภรตมุนีเป็นฤๅษีมนุษย์ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ โดยมีชีวิตในช่วงประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช แต่ไม่เกินช่วง ค.ศ. 100 แต่ทั้งนี้ก็เป็นแค่ข้อสันนิษฐาน ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนนัก

    แต่ไม่ว่าจะเป็นเทพฤๅษีที่เกิดมามีความเป็นเทพเจ้าเลยแบบพวกฤๅษีอุศนัส ฤๅษีพุธ หรือจะเป็นฤๅษีมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อนานมาแล้วก็ตาม หากมองในมุมของมนุษย์ปัจจุบันก็จัดว่าเป็นเทพด้วยกันทั้งสิ้น เนื่องจากหากเคยเป็นมนุษย์มาก่อน ด้วยความเชื่อแบบ Ancestor Worship (การนับถือบรรพบุรุษ รวมไปถึงครู บูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว) ดังที่ปรากฏคำพูดทำนองว่า "เครื่องดนตรีมีครูบาอาจารย์" "วิชานาฏศิลป์มีครูบาอาจารย์" อยู่บ่อยๆ นั่นก็เพราะพวกเขานับถือเหล่าครูอาจารย์ทั้งหลายที่ถ่ายทอดวิชาเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นครูเทวดาอย่างพระปัญจสิขะ พระปรคนธรรพ์ หรือครูมนุษย์ที่ล่วงลับไป

    ดังนั้นด้วยชุดความเชื่อดังกล่าว ก็จะยกย่องให้พระภรตมุนีผู้เป็นผู้เขียนตำราว่าด้วยการร่ายรำ จัดว่าเป็นครูคนแรกแห่งวงการนาฏศิลป์ของมนุษย์ ให้มีฐานะเป็นเทพเจ้า ดังที่เราสามารถพบรูปเคารพของเขาในลักษณะของเศียรฤๅษีที่ผู้อยู่ในวงการนาฏศิลป์ในฐานะ “พ่อแก่” บรมครูแห่งวงการนาฏศิลป์

    พูดถึงเรื่องนาฏศิลป์ จะว่าไปแล้วช่วงหลายเดือนก่อนก็มีกรณีพิพาทเรื่องอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับการนำตัวละครในการแสดงนาฏศิลป์อย่างทศกัณฐ์และบริวารยักษ์มาโฆษณาการท่องเที่ยว โดยโฆษณาให้ออกมาแสดงบทบาทในเชิงตลกขบขันเหมือนมนุษย์ทั่วไปที่มาท่องเที่ยวในประเทศ และแน่นอนว่ามีคนออกมาแสดงความเห็นด้วยโดยอ้างว่าการดัดแปลงนาฏศิลป์ ผิดกฎและขนบธรรมเนียม บางคนถึงกับแสดงความเห็นว่าปล่อยให้ศาสตร์นี้ตายไปพร้อมกับพวกเขายังดีกว่าให้ถูกดัดแปลงเช่นนั้น

    ผมเห็นการถกเถียงแล้วอดคิดในใจไม่ได้ว่าในโลกมนุษย์ยุคปัจจุบัน มีความเข้าใจบางอย่างที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับวิชานาฏศิลป์หรือเปล่านะ เพราะเท่าที่ผมรับรู้มา "นาฏศิลป์" เป็นศาสตร์ที่ดีครับ แต่ไม่ใช่ศาสตร์ที่ควรตั้งอยู่บนหิ้ง แตะต้องไม่ได้ ไม่ควรดัดแปลงแบบนั้น

    เพราะอะไรน่ะเหรอ... จริงอยู่ว่าความเชื่อของคนไทยเกิดขึ้นมาบนฐานของการเคารพบูชาบรรพชนและบูรพาจารย์ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งที่ตกทอดมาจากภูมิปัญญาของบรรพชน เช่นวิชานาฏศิลป์ ควรถูกปฏิบัติด้วยความเคารพ มันก็เป็นกลไกทางสังคมแบบหนึ่ง... แต่อย่างไรก็ตาม วิชานี้เริ่มต้นมันมาจากความคิดจะ "แขวกขนบ" และ "ดัดแปลง" ตั้งแต่แรก เมื่อพระภรตมุนีเริ่มรจนาคัมภีร์น่ะสิ!

    ว่าแล้วก็อ้างถึงสิ่งที่พระภรตมุนีได้เขียนเล่าเรื่องที่มาของการรจนาตำราไว้ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ หรือที่เรียกกันว่านาฏยเวท แบบย่อๆ กันเสียหน่อย ใจความที่เล่าสรุปโดยย่อได้ว่า

    ครั้งหนึ่งเมื่อชมพูทวีปยังถูกปกป้องอย่างใกล้ชิดด้วยโลกบาล ยังเต็มไปด้วยเทพเจ้า คนธรรพ์ ทานพ ยักษ์ รากษส และอุรคะ (ผู้เคลื่อนไปด้วยอก ในบริบทนี้คือเหล่างูและนาค) พระพรหมได้สนทนากับพระอินทร์ว่า พวกเราควรสร้างองค์ความรู้ใหม่นอกเหนือจากพระเวทที่มีอยู่ในขนบจารีตเดิม ความรู้อันสามารถเข้าถึงคนได้ทุกชนชั้น ต่างจากพระเวทสี่เล่มแรกที่วรรณศูทรไม่อาจเข้าถึงได้

    พระพรหมจึงได้กระทำโยคะ และได้นำเอาแต่ละส่วนของพระเวทสี่เล่มแรกมาผสมกัน โดยนำ และบอกกับพระอินทร์ว่าพระเวทฉบับดัดแปลงแบบผสมผสานเล่มนี้น่าจะเหมาะกับคนทุกชนชั้นวรรณะ แล้วพระพรหมก็บอกว่ามันคือ "นาฏย" วิชาที่ปรากฏในนี้เป็นของเทพเจ้า มันจะเป็นทั้งการจารึกเรื่องราวกึ่งประวัติศาสตร์ มันจะเป็นการแสดงสิ่งที่เป็นธรรมะ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่สามารถเข้าถึงทุกชนชั้นวรรณะ

    แต่กระนั้นพระพรหมมันยังไม่สมบูรณ์ ต้องให้ผู้บริสุทธิ์และทรงภูมิปัญญา มีความเจนจบในความลี้ลับแห่งพระเวททั้งสี่ มาเติมเต็มพระเวทฉบับดัดแปลงเล่มนี้ พระอินทร์จอมเทพได้ฟังพระพรหม จึงนำพระเวทฉบับดัดแปลงเล่มที่ห้านี้มาให้กับพระภรตมุนี เพื่อให้พ่อแก่แก้ไขปรับปรุงและดัดแปลงความรู้จากพระเป็นเจ้า ให้กลายเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ เหมาะสมสำหรับการเผยแผ่แก่มนุษย์ต่อไป

    พระภรตมุนีจึงได้เรียงร้อยความรู้ของตนเอง และของเหล่าเทพเจ้าที่มีความชำนาญในศาสตร์ต่างๆ เช่นพระศิวะอยู่ร่ายรำในปางศิวนาฏราช เข้ามาดัดแปลงกันเป็นนาฏศิลป์ และถ่ายทอดให้กับมนุษย์แบบที่เห็นในปัจจุบัน

    จากที่เล่ามาจะเห็นได้ว่า ในกรณีที่เชื่อในเทพเจ้าและตำนาน วิชานาฏศิลป์จึงเป็นวิชาที่พระเป็นเจ้าได้ประทานให้แก่พ่อแก่ ให้เอามา "ดัดแปลงต่อยอดเพื่อแหวกขนบ เพื่อให้องค์ความรู้ประการต่างๆ เข้าถึงคนทุกชนชั้น" มาตั้งแต่แรกแล้วครับดังนั้นการดัดแปลงวิชานาฏศิลป์เพื่อให้เขาถึงคนอื่นโดยง่าย ผมว่าไม่น่าจะผิดวัตถุประสงค์เท่าไรมั้ง

    ในกรณีที่ไม่เชื่อในเทพเจ้า ก็มีข้อสันนิษฐานว่าตัวพระภรตมุนีเองนั่นแหละ ที่เอาความรู้จากพระเวททั้งสี่มาดัดแปลง แต่ยกเครดิตให้กับเทพเจ้า เพราะในบริบทยุคนั้น การกระทำที่ยิ่งใหญ่ เปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อยุคสมัย ถ้าไม่มีแบ็คดีพอ การอุทิศให้กับเทพเจ้า หรือบอกว่าเทพสั่งมานี่ดีที่สุดแล้ว

    ก็แล้วแต่ว่าจะเชื่อในกรณีไหน แต่อย่างไรก็ตาม ภรตมุนีก็เป็นคนที่ยิ่งใหญ่มากพอควร ก็ต้องของขอบคุณจริงๆ ที่รจนาตำรานี้ ซึ่งนอกจากการร่ายรำแล้ว ยังมีการเอ่ยถึงรสของวรรณกรรม ซึ่งเอามาใช้กับวงการวรรณกรรมได้ และยังมีเรื่องราวอื่นๆ มากมายแทรกเอาไว้อีกด้วย

    ผมเองก็ไม่แน่ใจนะว่ามนุษย์ยุคหลังๆ เริ่มยึดถือว่าวิชาที่พ่อแก่คิด เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ห้ามดัดแปลงตั้งแต่เมื่อไร แต่ถ้าเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การห้ามดัดแปลง ยกบนหิ้งเป็นของสูงแตะไม่ได้ ยินดีให้ตายพร้อมกับตัวมากกว่าให้มีการดัดแปลง มันผิดวัตถุประสงค์ของเทพเจ้าที่น่าจะเป็นที่นับถือ ทั้งพระพรหม พระอินทร์ และพ่อแก่มั้ง เพราะหากเชื่อในเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว นาฏศิลป์คือสิ่งที่สะท้อนองค์ความรู้จากพระเจ้าที่มนุษย์ไม่อาจเข้าถึง ให้มนุษย์ทุกชนชั้นได้ประจักษ์

    หากไม่ได้เชื่ออะไรกับเทพเจ้า นาฏศิลป์คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง และวัฒนธรรมเกิดขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการของคนในสังคม ยิ่งนาฏศิลป์เป็นที่รู้จักของสังคมและไม่ได้มีอะไรเสียหาย ขัดกับเนื้อหามาก และเป็นประโยชน์ต่อชาติและสังคม มันก็ดีกว่าปล่อยไว้เฉยๆ ไม่มีใครสนใจ แล้วสักวันก็จะหายไปเอาน่ะสิ

    นอกจากเรื่องพระภรตมุนีเขียนคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ซึ่งปรากฏในคัมภีร์ของตัวเองแล้ว พระภรตมุนียังปรากฏบทบาทในวรรณกรรมเรื่องวิกรโมรวศียะ แต่เดี๋ยวจะเล่าในตอนต่อๆ ไป

    ตอนนี้คงต้องพอเท่านี้ก่อน ไว้พบกันใหม่ตอนต่อหน้าครับ...

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×