dodoramos
ดู Blog ทั้งหมด

สู่...ย่างเก้า 99ปี เภสัชกรรมไทย

เขียนโดย dodoramos

 ประวัติของวงการเภสัชกรรมของไทยคราวๆนะครับ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งโรงพยาบาลศิริราชใน พ.ศ. 2431 และจัดตั้งโรงเรียนแพทยากรในปี พ.ศ. 2432 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนราชแพทยาลัย โดยนักเรียนแพทย์ต้องเรียนทั้งการบำบัดรักษาและการปรุงยาไปพร้อมๆกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 มีการจัดตั้งกองโอสถศาลาขึ้น สังกัดกระทรวงธรรมการ และผลิตยาโอสถศาลาหรือยาตำรับหลวงขึ้น ในปี พ.ศ. 2445 ซึ่งปัจจุบันพัฒนาไปเป็นยาสามัญประจำบ้านแล้ว ซึ่งตำรับยาดังกล่าวได้กระจายไปยังหัวเมืองต่างๆ เพื่อให้หัวเมืองมีทางเลือกในการบำบัดรักษาโรคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยาโอสถศาลานับว่าเป็นร้านยาสมัยใหม่ที่คนไทยไม่นิยมใช้ จึงยังคงผลิตยาแผนไทยโบราณโดยให้โอสถศาลาผลิต "ยาโอสถสภาแผนโบราณ" ออกจำหน่ายทั้งสิ้น 10 ขนาน

การศึกษาเภสัชกรรมแบบตะวันตกหรือเภสัชกรรมแผนปัจจุบันในประเทศไทยนั้น สถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการในฐานะโรงเรียนแพทย์ปรุงยาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยดำริของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถต่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัยในสมัยนั้น จนมีคำสั่งกระทรวงธรรมการเรื่องระเบียบการจัดนักเรียนแพทย์ผสมยา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456 จึงถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทยและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรเป็น "พระบิดาแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมไทย"

คำสั่งของกระทรวงธรรมการให้เภสัชกรรมเป็นแผนกแพทย์ปรุงยาในโรงเรียนราชแพทยาลัย (ปัจจุบันคือคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จัดหลักสูตรการศึกษา 3 ปี เมื่อจบการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรจากกระทรวงธรรมการ มีศักดิ์และสิทธิ์ในการปรุงยา และเปิดรับนักเรียนครั้งแรกในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2457แต่อย่างไรก็ดี การศึกษาเภสัชศาสตร์ไม่เป็นที่สนใจของประชาชนนัก เนื่องจากประชาชนส่วนมากยังใช้ยาแผนโบราณและยังไม่มีกฎหมายควบคุมเรื่องการจำหน่ายยาในขณะนั้น ต่อมาได้มีการควบคุมการประกอบโรคศิลปะทางด้านเภสัชกรรมครั้งแรกเกิดขึ้นในพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 ซึ่งควบคุมเฉพาะการปรุงยา ไม่ครอบคลุมถึงการโฆษณา การจำน่าย อันก่อให้เกิดปัญหาในสังคมตามมาอีกมาก

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการก่อตั้งเภสัชกรรมสมาคมแห่งกรุงสยาม เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2472 โดยเป็นที่พบปะของเภสัชกรในสมัยนั้น ณ บ้านชุมแสง บ้านของพระมนตรีพจนกิจ (หม่อมราชวงศ์ชาย ชุมแสง) อาจารย์ประจำวิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ต่อมาในปี พ.ศ. 2477พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2477 กำหนดให้การศึกษาเภสัชศาสตร์อยู่ภายใต้การดำเนินการของแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2479 ได้มีการประกาศพระราชบัญญิตควบคุมการขายยา พ.ศ. 2479ซึ่งมอบอำนาจและหน้าที่การบริการเรื่องยาแก่เภสัชกร และมีการประกาศพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ซึ่งกำหนดบทบาทของเภสัชกรด้านการปรุงยา ครั้นในปีต่อมา เภสัชกร ดร. ตั้ว ลพานุกรมอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น ได้ริเริ่มการก่อตั้งโรงงานเภสัชกรรม (ต่อมาคือองค์การเภสัชกรรม) และจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเภสัชศาสตร์สู่ระดับปริญญาบัณฑิต

ในปี พ.ศ. 2502 อุตสาหกรรมยาในประเทศไทยพัฒนาขึ้น เมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 มีการประกาศพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน รวบรวมไว้ซึ่งการสนับสนุนลงทุนอุตสาหกรรมยาทดแทนการนำเข้า และส่งเสริมบรรษัทข้ามชาติมาตั้งโรงงานผลิตยาอีกด้วย

อย่างไรก็ดี การศึกษาทางด้านเภสัชศาสตร์ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของประชาชนมากนัก จนกระทั่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดการขาดแคลนยาในประเทศเนื่องจากไม่สามารถนำเข้ายาจากต่างประเทศได้ และโรงงานเภสัชกรรมในขณะนั้นก็ยังไม่มีความเชี่ยวชาญมากนัก อีกทั้งเภสัชกรทั้งประเทศมีจำนวนไม่มาก จึงทำให้ศาสตร์ด้านนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนมากขึ้น และมีการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์เพิ่มเติม ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยมหิดลขึ้นตามลำดับ

เนื่องจากประชาชนส่วนมากยังใช้ยาแผนโบราณและยังไม่มีกฎหมายควบคุมเรื่องการจำหน่ายยาในขณะนั้น ต่อมาได้มีการควบคุมการประกอบโรคศิลปะทางด้านเภสัชกรรมครั้งแรกเกิดขึ้นในพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 ซึ่งควบคุมเฉพาะการปรุงยา ไม่ครอบคลุมถึงการโฆษณา การจำน่าย อันก่อให้เกิดปัญหาในสังคมตามมาอีกมาก

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการก่อตั้งเภสัชกรรมสมาคมแห่งกรุงสยาม เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2472 โดยเป็นที่พบปะของเภสัชกรในสมัยนั้น ณ บ้านชุมแสง บ้านของพระมนตรีพจนกิจ (หม่อมราชวงศ์ชาย ชุมแสง) อาจารย์ประจำวิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ต่อมาในปี พ.ศ. 2477พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2477 กำหนดให้การศึกษาเภสัชศาสตร์อยู่ภายใต้การดำเนินการของแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์

เเละมีคณะเภสัชศาสตร์ที่ผ่านการรับ 17 มหาลัยวิทยาลัย
1.คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
6.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
7.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
8.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
9.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
10.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
11.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
12.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
13.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
14.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
15.สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
16.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
17.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

       "เ้ก้าต่อไปเภสัชกรรมของไทย   99ปีไซร้ภูมิใจรับใช้ปวงประชา"

  วันที่ 8 ธันวาคม เป็นวันเภสัชกรรม ไทยนะครับ ผม ^ ^

ความคิดเห็น

dodo1989
dodo1989 9 ธ.ค. 54 / 20:53

 credit http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AA%E0%B8%

B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A
2
http://pharmacycouncil.org/main/news_de ... &section=1 ครับผม