шарф
ดู Blog ทั้งหมด

โครงงานวิทย์ 3

เขียนโดย шарф

บทที่ 3

วิธีการดำเนินโครงงาน

 

3.1 วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี

3.1.1 เปลือกสับปะรด                                                                                                        100         กรัม

3.1.2 เนื้อสับปะรด                                                                                                             200         กรัม

3.1.3 กะละมัง                                                                                                                     2              ใบ

3.1.4 กระดาษเหลือใช้                                                                                                       100         กรัม

3.1.5 เครื่องปั่นหรือเครื่องโม่                                                                                          1              เครื่อง

3.1.6 ครกหิน                                                                                                                       1              ชิ้น

3.1.7 แม่พิมพ์ (ทำจากลวดหรือผ้าขาวบาง)                                                                  1              ชิ้น

3.1.8 โซดาไฟ                                                                                                                     2              ช้อนชา

3.1.9 ดรอปเปอร์                                                                                                                 1              อัน

3.1.10 ไฟแช็ค                                                                                                                     1              อัน

3.1.11 กระดาษสาที่ขายทั่วไปตามท้องตลาด                                                                1              แผ่น

3.1.12 กรรไกร                                                                                                                    1              เล่ม

3.1.13 ไม้บรรทัด                                                                                                                1              อัน

3.1.14 เครื่องชั่ง                                                                                                                  1              เครื่อง

 

3.2 วัตถุดิบ

                3.2.1 เปลือกสับปะรด                                                                                        100         กรัม

                3.2.2 เนื้อสับปะรด                                                                                             200         กรัม

                3.3.3 กระดาษเหลือใช้                                                                                       100         กรัม

                3.2.4 โซดาไฟ                                                                                                     2              ช้อนชา

3.3 กรรมวิธีการทำเส้นใยสับปะรดจากสับปะรด

3.3.1 นำเนื้อสับปะรดมาบดด้วยครกหิน จนกระทั่งน้ำในเนื้อสับปะรดออกมามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเหลือเพียงกากสับปะรด

3.3.2 นำน้ำใส่ในกากสับปะรดพอท่วม แล้วใส่โซดาไฟตามลงไปใน 1 ช้อนชา คนให้เข้ากัน แล้วนำไปตั้งไฟ

3.3.3 เมื่อน้ำเดือด ให้ยกหม้อใส่กากสับปะรดลง แล้วล้างโซดาไฟออกให้หมดด้วยน้ำสะอาด ก็จะได้เส้นใยสับปะรดมา

3.3.4 ทำในกรรมวิธีเดียวกันกับเปลือกสับปะรด แต่เปลือกสับปะรดให้บดด้วยเครื่องโม่แทนครกหิน

 

3.4 การประดิษฐ์กระดาษสาทำมือจากใยสับปะรด

                3.4.1 นำกระดาษมาแช่น้ำพักไว้เป็นเวลา 30 นาที แล้วนำมาปั่นในเครื่องปั่นน้ำผลไม้หรือเครื่องโม่

                3.4.2 นำเส้นใยสับปะรดที่ได้มาผสมกับกระดาษที่ปั่นแล้ว ด้วยอัตรากระดาษ 1 ต่อ เส้นใยสับปะรด 3

                3.4.3 เทส่วนผสมที่ได้ลงในแม่พิมพ์ที่ทำจากลวดหรือผ้าขาวบาง ตากแดดเป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วนำมาผึ่งให้แห้งในร่มเป็นเวลา 1 คืน

                3.4.4 นำส่วนผสมที่ทำให้แห้งแล้วออกจากแม่พิมพ์ ก็จะได้กระดาษสาทำมือจากเส้นใยสับปะรด

 

 

 

3.5 การทดสอบคุณภาพของกระดาษสาจากเส้นใยสับปะรดทำมือกับกระดาษสาที่ขายทั่วไปตามท้องตลาดด้วยการเผาไฟ

                     3.5.1 นำกระดาษสาทำมือจากเส้นใยสับปะรดกับกระดาษสาที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดที่มีขนาด 2x2 นิ้ว มาเผาไฟแล้วจับเวลาว่า ไฟใช้เวลากี่วินาทีจึงจะเผาไหม้กระดาษสาทั้งสองหมด

                      3.5.2 ทำการทดลองซ้ำ 3 ครั้ง สังเกตและบันทึกผล

 

 

3.6 การทดสอบคุณภาพของกระดาษสาจากเส้นใยสับปะรดทำมือกับกระดาษสาที่ขายทั่วไปตามท้องตลาดด้วยการหยดน้ำเพื่อทดสอบด้วยแรงตึงผิว

                      3.6.1 นำกระดาษสาทำมือจากเส้นใยสับปะรดกับกระดาษสาที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดที่มีขนาด 2x2 นิ้ว มาหยดน้ำลงกระดาษสาทั้งสอง โดยใช้ดรอปเปอร์

                      3.6.2 นับจำนวนหยดน้ำที่กระดาษสาทั้งสองชนิดสามารถรองรับโดยที่น้ำไม่ซึม เพราะแรงตึงผิวของน้ำที่แตกต่างกันบนกระดาษสาที่มีผิวแตกต่างกัน

                      3.6.3 ทำการทดลองซ้ำ 3 ครั้ง สังเกตและบันทึกผล

 

 

 

 

 

 

บทที่ 4

ผลการทดลองและวิเคราะห์ข้อมูล

 

4.1 การทดลองทดสอบคุณภาพของกระดาษสาจากเส้นใยสับปะรดทำมือกับกระดาษสาที่ขายทั่วไปตามท้องตลาดด้วยการเผาไฟ

4.1.1 นำกระดาษสาทั้งสองชนิดมาจุดไฟและจับเวลาในการเผาไหม้ว่ากระดาษสาชนิดใดจะไหม้หมดก่อนกัน

4.1.2 ผลการทดลองปรากฏว่า

เวลาในการเผาไหม้ (วินาที)

ชนิดของกระดาษสา

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

กระดาษสาจากเส้นใยสับปะรด

6.7

7.2

7.1

กระดาษสาตามท้องตลาด

4.1

3.9

4.3

4.1.3 กระดาษสาจากเส้นใยสับปะรดถูกเผาไหม้หมดช้ากว่ากระดาษสาตามท้องตลาด คือ เวลาเฉลี่ย 7 วินาที และเวลาเฉลี่ย 4 วินาที ตามลำดับ

4.1.4 กระดาษสาจากเส้นใยสับปะรดมีคุณภาพดีกว่ากระดาษสาตามท้องตลาดในด้านความคงทนต่อไฟ

 

4.2 การทดลองทดสอบคุณภาพของกระดาษสาจากเส้นใยสับปะรดทำมือกับกระดาษสาที่ขายทั่วไปตามท้องตลาดด้วยการหยดน้ำใส่กระดาษสาด้วยดรอปเปอร์

4.2.1 นำกระดาษสาทั้งสองชนิดมา แจ้ง Blog ไม่เหมาะสม

12 ก.พ. 54
1,611
0

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น