nextstep_10
ดู Blog ทั้งหมด

พบอีกสาวท้อง7ด.ติดหวัด

เขียนโดย nextstep_10
PantsSee Through PantsLeather PantsHand In PantsCargo PantsTight PantsHot PantsHand In Her PantsNo Iron Women''S PantsYoga PantsWhite PantsHow To Hem PantsHem PantsCarhartt PantsSpandex PantsSweat PantsDockers PantsDown Girls PantsBdu PantsSki PantsBaggy PantsWomens Cargo PantsDickies PantsGirls In PantsGirls In Tight PantsCapri PantsParachute PantsTight Leather PantsCorduroy PantsMc Hammer PantsVinyl PantsWrangler Cargo PantsSponge Bob Square PantsKhaki PantsSnow PantsWool PantsWomen In PantsDickies Work PantsGirls In Hot PantsDress PantsLatex PantsTactical PantsTap PantsMens PantsEmt PantsMens Dress PantsGolf PantsSoftball PantsMens Cargo PantsPajama Pants

ที่ราชบุรี! ชี้รายแรก ยังน่าห่วง ส่วนทารก ดีขึ้นแล้ว



ดีขึ้น- ทารกเพศหญิงที่ติดเชื้อหวัด 2009 ในครรภ์มารดา รายแรกของโลก ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาต้านไวรัสทางสายยาง นับตั้งแต่ผ่าจากท้องแม่เมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา ร่างกายเริ่มเคลื่อนไหวและส่งเสียง แสดงว่าอาการดีขึ้นแล้ว ที่ร.พ.ราชบุรี ตามข่าว


ราชบุรีพบเพิ่มอีกราย สาวท้อง 7 เดือน ติดเชื้อหวัดใหญ่ 2009 หมอให้ยาต้านไวรัส อาการปลอดภัยแล้ว ส่วนสาวท้องรายแรกยังอยู่ห้องไอซียู จุฬาฯ อาการยังน่าห่วง ต้องดูแลใกล้ชิด ขณะที่ลูกน้อยอาการดีขึ้น แต่ต้องอยู่ในตู้อบ หมอคาดลูกติดเชื้อทางน้ำคร่ำ สธ.เตือนหญิงตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง สวมหน้ากาก อภ.แจงมียาต้านไวรัสเหลือ 3.3 ล้านเม็ด เร่งผลิตล็อตใหม่ 10 ล้าน ผู้เชี่ยวชาญไม่รับรองมติให้คลินิกจ่ายยา อัดการเมืองล็อบบี้คล้อยตามธง หวั่นเชื้อดื้อยา เกิดระบาดใหญ่ครั้งหน้าตายทั้งประเทศ

พบอีกรายสาวท้องราชบุรีติดหวัด

เมื่อ เวลา 12.45 น. วันที่ 27 ก.ค. ที่ตึกนว มินทร์ ร.พ.จุฬาฯ นายมานิต นพอมรบดี รมช. สาธารณสุข พร้อมด้วยนายจินดา เปียถนอม อายุ 38 ปี สามีของผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์และป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และติดเชื้อไปสู่ลูกเดินทางเข้าเยี่ยมภรรยา ซึ่งรักษาตัวอยู่ที่ห้องผู้ป่วยหนัก และยังอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีอาการปอดบวม

นาย มานิต เปิดเผยภายหลังเข้าเยี่ยมว่า ช่วงเช้า ตนเดินทางไปเยี่ยมทารกแรกเกิดเพศหญิงของผู้หญิงคนดังกล่าว ล่าสุดพบว่าอาการดีขึ้น เด็กสามารถขยับแขนขาได้ น้ำหนักขึ้น 20 กรัม จากการตรวจเชื้ออีกครั้งเมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา ไม่พบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 แล้ว แต่เนื่องจากคลอดก่อนกำหนด จึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พบว่าที่จ.ราชบุรี มีรายงานผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ 7 เดือนป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 อีก 1 ราย แต่มาพบแพทย์เร็ว ได้รับยาต้านไวรัสทันที ขณะนี้อาการดีขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือด้วยการผ่าตัดคลอดก่อนกำหนด

นายมานิต กล่าวต่อว่า ส่วนการสันนิษฐานการติดเชื้อในครรภ์มารดา เบื้องต้นมี 3 ช่องทางคือเลือด รก และน้ำคร่ำ ขณะนี้สั่งให้ร.พ. ราชบุรี ส่งประวัติการรักษาของรายดังกล่าวให้กุมารแพทย์และทีมผู้เชี่ยวชาญมาศึกษา ต่อว่าลักษณะของโรคเป็นอย่างไร ทั้งนี้ กำชับให้โรงพยาบาลทุกแห่งดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงซึ่งอาจจะเกิดอาการรุนแรง และขอให้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการคลุกคลีอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ไข้หวัด และหากจำเป็นต้องออกไปนอกบ้าน โดยเฉพาะในที่ชุมนุมชน ต้องใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อ

เหยื่อรายแรกอาการทรงตัว

ด้าน รศ.น.พ.อดิศร ภัทราดูลย์ ผอ.ร.พ.จุฬาฯ กล่าวว่า ผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ 2009 อาการยังทรงตัว ชีพจรและความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ผลการตรวจเชื้อซ้ำไม่พบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แล้ว และได้รับยาต้านไวรัสครบชุดการรักษาแล้ว แต่ยังมีอาการปอดอักเสบ เพราะมีการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดรุนแรงซ้ำที่ปอด ผลเอกซเรย์ปอดล่าสุดยังไม่ดีขึ้น แพทย์ต้องให้ยาปฏิชีวนะเต็มที่ และให้ยานอนหลับควบคู่เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ต่อต้านเครื่องช่วยหายใจ โดยต้องรอดูอาการอีก 2 วัน จึงจะสามารถประเมินอาการได้อีกครั้ง

รศ. น.พ.อดิศร กล่าวต่อว่า สำหรับบุตรของหญิงดังกล่าว จากการประสานกับรองผอ.โรงพยาบาลราชบุรี ทราบว่าเด็กอาการดีขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องส่งตัวมารักษาที่ร.พ.จุฬาฯ อีก กรณีดังกล่าวอาการหนัก แต่ไม่เกินความสามารถของร.พ.ราชบุรี แต่เนื่องจากมีคนไข้หนักจำนวนมากแล้ว จึงส่งต่อมาที่ร.พ.จุฬาฯ

"การติดเชื้อสันนิษฐานว่าอาจมาจาก 2 ทาง คือ รกกับน้ำคร่ำ ซึ่งรายดังกล่าวมีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อมาจากน้ำคร่ำเพราะเด็กที่อยู่ใน ครรภ์จะมีการกลืนน้ำคร่ำเป็นปกติ และจะปัสสาวะออกมาวนเวียนอยู่ในน้ำคร่ำ จากข้อมูลทางการแพทย์มีการศึกษาวิจัยพบว่าในน้ำคร่ำมีไวรัสปะปนอยู่และมี โอกาสติดต่อสู่เด็กในครรภ์ได้ แต่เป็นโรคอื่นๆ ส่วนโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 เนื่องจากเป็นโรคใหม่ จึงยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยที่ชัดเจน รวมถึงไม่มีข้อมูลทางวิชาการว่ามีการติดเชื้อของไข้หวัดปกติด้วย" รศ.น.พ.อดิศร กล่าว

ผัวชี้เมียติดเชื้อจากเฝ้าไข้ที่ร.พ.

รศ. น.พ.ธีรพงศ์ เจริญวิทย์ รองผอ.ร.พ. จุฬาฯ และหัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ กล่าวว่า การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จากครรภ์มารดาถือเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องศึกษาวิจัย อย่างละเอียดต่อไป ไม่สามารถสรุปได้ว่าหญิงตั้งครรภ์ทุกรายจะถ่ายทอดเชื้อไวรัสไปยังลูกได้ เพียงแต่มีโอกาสเสี่ยง แต่ไม่ได้เกิดขึ้นทุกราย ตามปกติหญิงตั้งครรภ์จะถือเป็นกลุ่มเสี่ยงอยู่แล้ว และยังพบว่ากรณีที่แม่มีไข้สูง ไม่จำเป็นต้องไอจาม ก็อาจส่งผลต่อระบบสมองของลูกได้ ทั้งนี้ ช่องทางการติดเชื้อยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าติดจากไหน อาจเป็นไปได้ว่าเกิดพร้อมกันคือทางน้ำคร่ำและทางเลือด

"ขณะนี้ กรณีการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกยังพบรายงานน้อยมาก พบว่าในประเทศอเมริกามีรายงานการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในหญิงตั้งครรภ์เพียง 3 รายเท่านั้น จึงต้องศึกษาต่อเพื่อให้ทราบลักษณะของการติดเชื้อต่อไป โดยข้อมูลทั้งหมดส่งให้กระทรวงสาธารณสุขและเชื่อว่าคงส่งต่อเพื่อศึกษาร่วม กันกับองค์การอนามัยโลกต่อไป" รศ.น.พ.ธีรพงศ์ กล่าว

ด้านนายจินดา กล่าวว่า คาดว่าภรรยาจะติดเชื้อเนื่องจากไปเฝ้าลูกชายอีกคนที่โรงพยาบาล แต่ลูกชายตนไม่ได้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ จึงคาดว่าเป็นเพราะภรรยาไม่ได้สวมหน้ากากตลอดเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล เมื่อเริ่มมีไข้จึงพาไปรักษาที่คลินิก แพทย์ฉีดยาให้ 1 เข็ม วันถัดมาพบว่าอาการยังไม่ดีขึ้น จึงเตรียมพาไปโรงพยาบาล แต่อาการทรุดหนักอย่างรวดเร็ว มีอาการหอบ หายใจไม่ออก ซึ่งภรรยาไม่มีโรคประจำตัวอื่น นอกจากอ้วนมีน้ำหนักตัว 115 ก.ก. ขณะนี้อยากให้ปาฏิหาริย์ให้ภรรยาและลูกหายไวๆ ตนตั้งชื่อลูกสาวไว้ว่า ด.ญ.ภิรมย์รัตน์ แต่ยังไม่มีชื่อเล่น

"ทารกติดหวัด"อาการดีขึ้น

ก่อน หน้านี้ เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ร.พ.ราช บุรี นายมานิต พร้อมด้วยนายสุเทพ โกมลภมร ผู้ว่าฯราชบุรี แพทย์ และพยาบาล ร.พ.ราชบุรี เข้าดูอาการของทารกน้อยลูกที่แพทย์ผ่าตัดทำคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากตรวจพบแม่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ขณะนี้เด็กที่ทำคลอดออกมาด้วยการผ่าตัดยังนอนอยู่ในตู้อบ ใส่เครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากครรภ์มีอายุเพียง 7 เดือน โดยแพทย์ให้ยาโอเซลทามิเวียร์ตั้งแต่แรกที่ทำคลอด อาการล่าสุดดีขึ้นตามลำ ดับ เด็กมีน้ำหนัก 1,530 กรัม เพิ่มขึ้นกว่าวันแรกคลอด ซึ่งอยู่ในความดูแลของแพทย์ พยาบาลโรงพยาบาลราชบุรีอย่างใกล้ชิด โดยใช้เครื่องเอกซเรย์ตรวจสอบร่างกายทุกขั้นตอน ขณะนี้เด็กอาการดีขึ้นมาก มีการตอบรับขยับตัว แขวน ขา เคลื่อนไหวได้แล้ว ถือว่าอาการไม่น่าเป็นห่วง แต่แพทย์ยังต้องให้นอนรักษาตัวในห้องไอซียูของเด็กต่อไปก่อน เนื่องจากทารกผ่าออกมาก่อนกำหนด ทางโรงพยาบาลนำตัวไว้ในตู้อบต่อไปจนกว่าจะแข็งแรงดี จึงจะอนุญาตให้ไปอยู่กับครอบครัวได้

นายมานิต กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าติดเชื้อมาจากทางใด เพราะช่วงแรกเกิดนั้นทางแพทย์ไม่ได้เก็บรกไว้ตรวจสอบซึ่งอาจจะติดมาจากน้ำ คร่ำตอนที่อยู่ท้องแม่หรือจากกระแสเลือด คงจะต้องรอตรวจสอบจากการป้ายเชื้อจากลำคอไปตรวจอีกครั้งด้วย แต่ขณะนี้ถือว่าอาการของเด็กปลอดภัยดีแล้ว แต่กำชับให้แพทย์ดูแลอาการอย่างต่อเนื่อง ส่วนแม่ก็ดีขึ้นมาก วันนี้จะพาญาติไปเยี่ยมที่ร.พ.จุฬาฯ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยด้วย

กระจายยา50คลินิกทั่วราชบุรี

ด้าน น.พ.ธนินทร์ พันธุเตชะ ผอ.ร.พ.ราชบุรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมาโรงพยาบาลรับตัวหญิงตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุ 30 ปี เข้ารักษาตัวอีก 1 ราย โดยผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วยอาการไข้สูง หอบ แพทย์เอกซเรย์ปอดพบว่ามีภาวะปอดบวมแทรก จึงแยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกโรคของโรงพยาบาล และให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ทันที แม้ผลตรวจเชื้อยังไม่ออก ส่วนอาการของผู้ป่วยรายนี้ถือว่าไม่รุนแรง ผู้ป่วยหายใจเองได้ ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ความดันและระดับออกซิเจนในเลือดปกติดี เช่นเดียวกับทารกในครรภ์มีอาการปกติ

น.พ.ธนินทร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้จ.ราชบุรีกระจายโอเซลทามิเวียร์ไปยังคลินิกในจังหวัดแล้วกว่า 50 แห่ง โดยจัดสรรให้แห่งละ 50 เม็ด สำหรับรักษาผู้ป่วย 10 คน ราคาต้นทุน คือเม็ดละ 25 บาท หากหมดสามารถเบิกเพิ่มเติมให้อยู่ในจำนวนที่กำหนดได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคลินิกแต่ละแห่งจะต้องทำรายงานแจ้งการสั่งจ่ายยาชนิดนี้ให้กับผู้ป่วย แต่ละรายมาให้กับโรงพยาบาลอย่างละเอียด เพื่อแสดงถึงเหตุผลจำเป็นที่จะต้องให้ยาในผู้ป่วยแต่ละราย และหากผู้ป่วยรายใดมีเงินไม่เพียงพอสำหรับจ่ายค่ายาดังกล่าว แต่แพทย์พิจารณาเห็นว่าผู้ป่วยรายนั้นจำเป็นต้องได้รับยาทันที ก็ให้คลินิกสั่งจ่ายยาแล้วมาเบิกเงินที่โรงพยาบาล การที่ต้องดำเนินการเช่นนี้เนื่องจากผู้ป่วยในจ.ราชบุรีส่วนใหญ่จะไปพบแพทย์ ที่คลินิกก่อนจะมาโรงพยาบาล ทำให้ได้รับยารักษาช้า

ด้านน.พ.สุริยะ คูหรัตน์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจ.ราชบุรี เปิดเผยว่า อาการของทารกคลอดก่อนกำหนดที่ร.พ.ราชบุรี เพราะแม่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ขณะนี้เด็กมีอายุ 7 วันแล้ว ยังนอนอยู่ในตู้อบ ภาพรวมถือว่าอาการดีขึ้น หายใจดีขึ้น และให้อาหารที่เป็นนมได้พอสมควร สำหรับผลการตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 นั้น แพทย์ตรวจเลือดแล้ว 2 ครั้ง ตั้งแต่ทำคลอดใหม่ๆ อยู่ระหว่างรอผล และจะต้องเจาะเลือดพิสูจน์อีกครั้งอายุ 3-4 สัปดาห์ เนื่องจากการเจาะเลือดขณะที่เด็กยังไม่แข็งแรงดีอาจเกิดอันตราย

ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกรายงาน"ฮู"

วัน เดียวกัน ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีหญิงตั้งครรภ์วัย 24 ปี จ.ราชบุรี ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 โดยผ่าตัดคลอดบุตรขณะที่อายุครรภ์ 7 เดือน พบว่าทารกติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นรายแรกของโลกนั้นว่า กรณีนี้ถือเป็นกรณีศึกษาที่คณะแพทย์ให้ความสนใจ ขณะนี้ศ.น.พ.อมร ลีลารัศมี อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และนายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย รวมทั้งคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ตรวจสอบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ 2009 จากแม่สู่ลูก ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปทั้งหมดว่าเป็นการติดเชื้อจากการกินน้ำคร่ำหรือผ่านทาง รก อย่างไรก็ตาม สธ.ราย งานข้อมูลกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ทราบเป็นระยะๆ อยู่แล้ว ทั้งนี้หญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังอยู่แล้ว จึงยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มมาตรการใดๆ

นายวิทยา กล่าวต่อว่า ส่วนการกระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ที่คลินิกซึ่งเริ่มนำร่องที่จ. ราชบุรี เป็นแห่งแรก ยังไม่สามารถบอกได้ว่ามีผลเป็นอย่างไรบ้าง เพราะเพิ่งดำเนินการเพียง 2 วันเท่านั้น ซึ่งกรณีที่จ.ราชบุรี ถือเป็นการตัดสินใจเฉพาะหน้า เนื่องจากมีตัวเลขผู้เสียชีวิตสูง 7 ราย จากผู้เสียชีวิตทั้งหมด 44 ราย อย่างไรก็ตาม มอบหมายให้นายมานิต นพอมรบดี เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตรวจสอบว่าขณะนี้ประเทศไทยมีการกระจายยาไปที่ใด บ้าง จำนวนเท่าไหร่เพื่อให้ทราบว่ามีการกระจายยาอย่างทั่วถึงหรือไม่

ยาต้านไวรัสถึงร.พ.ชุมชนแล้ว

" สธ.ไม่ควรกระโดดไปกระโดดมาตามที่มีการเสนอ เพราะทำให้ประชาชนสับสนมาก แม้แต่รัฐมนตรีก็ไม่แน่ใจ คนที่เสนอไม่ได้เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบ แต่เป็นแพทย์ของสธ.ที่ต้องลงมือทำงาน ดังนั้นไม่ใช่เสนอความเห็นอย่างเดียว แต่การเสนอความเห็นต้องระมัดระวัง ถ้าทำตามความเห็นที่เสนอมาหมดทุกอย่างผมอาจจะโดนด่ามากกว่านี้อีก" นายวิทยากล่าว

นายวิทยา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ หารือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อเรียกประชุมโรงพยาบาลในเครือข่าย ที่เป็นโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งคลินิกในกรุงเทพฯ กว่า 200 แห่ง ในวันที่ 30 ก.ค.นี้ เพื่อเข้าระบบการรักษาและการให้ยาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ขณะนี้มีผู้ป่วยประมาณกว่าร้อยละ 30 เสียชีวิตเนื่องจากได้รับยาช้าไป บางคนป่วยอยู่กับบ้านนาน แล้วเพิ่งมาหาหมอ แล้วโรคลงแพร่ถึงปอดทำให้ยุ่งยากในการรักษา โดยพบว่าผู้เสียชีวิตหลายรายเริ่มต้นจากการรักษาที่คลินิกมาก่อน

ทั้ง นี้ กระทรวงสาธารณสุข กระจายยาต้านไวรัสให้หน่วยงานและโรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง ครอบคลุมถึงโรงพยาบาลชุมชนแล้ว โดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรค 12 แห่งทั่วประเทศ มีแห่งละ 20,000 เม็ด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด แห่งละ 5,000 เม็ด โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป แห่งละ 2,000 เม็ด และโรงพยาบาลชุมชนแห่งละ 300 เม็ด

"สปสช."ของบสำรอง300ล.

น. พ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. กล่าวว่า จากประมาณการตัวเลขผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า คาดว่าน่าจะมีประมาณร้อยละ 75 ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้นนั้นกลายเป็นภาระของโรงพยาบาล เนื่องจากค่าเหมาจ่ายรายหัวเป็นการคำนวณตามอัตราการรักษาโรคในภาวะปกติ ไม่มีในส่วนของงบประมาณในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น โรคระบาด อุบัติเหตุ ที่ผ่านมาสปสช.จะเป็นผู้สำรองจ่ายไปก่อน แล้วเสนอของบกลางจากรัฐบาล แต่การของบกลางไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น ในปีงบประมาณหน้า มีแนวคิดนำข้อเสนอตั้งงบประมาณสถานการณ์ฉุกเฉินพิจารณาในคณะกรรมการบริหาร หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งอาจสำรองงบประมาณ 200-300 ล้านบาท ซึ่งบางปีอาจไม่นำมาใช้เลยก็ได้ ทั้งนี้จะต้องคำนวณงบประมาณที่เหมาะสมและเสนอครม.พิจารณาต่อไป

ด้าน น.พ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดสธ. กล่าวว่า เรียกประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และผอ.โรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัดที่พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ 2009 โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในเชิงระบบ พบว่ามีทั้งการที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาช้า และแพทย์ให้ยาโอเซลทามิเวียร์ช้าเกินไป รวมทั้งร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาโดยให้ปฏิบัติตามคู่มือแนวทางปฏิบัติการดูแล ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Clinical Practice Guideline หรือ CPG)

เหลือยาต้านไวรัสหวัดใหญ่3ล้าน

เมื่อ เวลา 17.00 น. ที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) นายมานิตเป็นประธานการประชุมเรื่องการสำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ ภายหลังการประชุม นายมานิตกล่าวว่า ขณะนี้เหลือยาต้านไวรัสคงคลัง 3.39 ล้านเม็ด จากเดิมมียาสำรองทั้งหมดก่อนการระบาด 6.2 ล้านเม็ด ตั้งแต่มีการระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ปลายเม.ย. มีการใช้ยาไปแล้วทั้งสิ้น 2.8 ล้านเม็ด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เริ่มผลิตยาต้านไวรัสอีก 10 ล้านเม็ด โดยมีกำลังการผลิตวันละ 1 ล้านเม็ด พร้อมทั้งสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตเพิ่มอีก 30 ล้านเม็ด โดยจะได้รับวัตถุดิบสัปดาห์หน้า เมื่อมาถึง จะเริ่มผลิตทันที

"ต่อ จากนี้ อภ.จะเป็นหน่วยงานที่กระจายยาทั้งหมดทั่วประเทศ จะกระจายผ่านศูนย์ที่จ.เชียง ใหม่ อุดรธานี สงขลา และกทม. โดยร.พ.ทุกแห่งต้องรายงานการใช้ยาอย่างละเอียดทุกวัน จะตัดยอดทุก 15.00 น. เพื่อให้ทราบว่ามีการใช้วันละเท่าใด รวมทั้งติดตามผลการใช้ยาของผู้ป่วยทุกราย เพื่อรายงานให้อภ.และสธ.รับทราบ" นายมานิต กล่าว

นายมานิต กล่าวต่อว่า สำหรับแนวคิดการกระจายยาต้านไวรัสลงไปในระดับคลินิก หากทีมผู้เชี่ยวชาญของสธ.เห็นชอบ โดยหลักการอภ.จะเป็นผู้ควบคุมคลินิกอิสระที่อยู่ในกทม. ซึ่งมีประมาณ 2,100 แห่ง จะเปิดให้คลินิกมาลงทะเบียนรับยา พร้อมทั้งรายงานยอดการจ่ายยาทุกวัน และให้ประวัติการรักษาทุกราย มีชื่อที่อยู่ พร้อมเลข 13 หลักและติดตามการใช้ยา ส่วนคลินิกทั่วประเทศอีก 14,900 แห่ง จะให้เบิกจ่ายยากับโรงพยาบาลในพื้นที่ คลินิกแต่ละแห่งจะได้ยาวันละ 50 เม็ด หรือ 5 ชุดการรักษาสำหรับผู้ป่วย 5 คนต่อวัน รวมทั้งหมดจะต้องใช้ยา 8 แสนเม็ดต่อวันสำหรับผู้ป่วย 8 หมื่นคนต่อวัน สำหรับจ.ราชบุรีซึ่งให้ยาระดับคลินิกไปแล้ว จะประชุมคลินิกทุกแห่ง ในวันที่ 28 ก.ค. เพื่อวางหลักเกณฑ์ในการจ่ายยา และแบบฟอร์มในการติดตามผู้ป่วยทั้งหมด คาดว่าวันที่ 1 ส.ค. จะรู้ตัวเลขที่ชัดเจนว่าประเทศไทยใช้ยาต้านไวรัสวันละเท่าไหร่

แฉวัตถุดิบราคาพุ่งพรวด 50%

ด้วย น.พ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ขณะนี้ราคาวัตถุดิบเพื่อผลิตยาต้านไวรัสเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ซึ่งแต่ละประเทศไม่มีใครทราบว่าช่วงฤดูหนาวจะมีการระบาดรุนแรงอีกหรือไม่ ทำให้มีการสำรองยาเพิ่มขึ้น หากไม่มีการสั่งซื้อช่วงนี้อาจทำให้ประเทศไทยเป็นลำดับท้ายที่จะได้รับวัตถุ ดิบและอาจทำให้เกิดความขาดแคลน ล่าสุดทางสหรัฐอเมริกาแจ้งว่าอาจจะมีการระบาดระลอก 2 ในฤดูหนาว หากสถานการณ์เลวร้ายที่สุดอาจมีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน สอดคล้องกับประวัติการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ สแปนิชฟูล เมื่อปี 1918 ที่มีการระบาดรอบ 2 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 ล้านคนทั่วโลกหากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ระบาดระลอก 2 และสถานการณ์รุนแรงขึ้น

"มีเพียงยาและวัคซีนที่จะช่วยชีวิตคนไทย ได้ แม้จะมีเงินก็ไม่สามารถซื้อยาหรือวัคซีนได้หากไม่สำรองไว้ก่อน คงได้แต่จุดธูปและอธิษฐานเท่านั้น เพราะการสั่งซื้อวัคซีนจากฝรั่งเศสที่ได้เพียง 2 ล้านโดสก็ไม่เพียงพอกับประชาชนทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม หากการระบาดของโรคเบาบางลงถึงเวลานั้น ทั้งวัคซีนที่สั่งซื้อและผลิตเองอาจไม่ต้องใช้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่หากไม่มีอะไรเลย จะเกิดความโกลาหลอย่างแน่นอน" น.พ.วิทิต กล่าว

น. พ.วิทิต กล่าวต่อว่า สำหรับการผลิตวัคซีนขณะนี้อภ.สั่งซื้อไข่ไก่ปลอดเชื้อจากประเทศเยอรมนีเพื่อ เพาะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะไม่มีการใช้ไข่ไก่จากซีพีหรือสหฟาร์มก่อนหน้านี้ เนื่องจากประชาชนมีความกังวลเรื่องการปลอดภัย ซึ่งวันนี้ส่งไข่ไก่ 1,500 ฟองและล็อตต่อไปจะส่งไข่อีกสัปดาห์ละ 6,000 ฟอง โดยต้องใช้ทั้งหมดมากกว่า 20,000 ฟอง ซึ่งไข่ไก่ 1 ฟองสามารถผลิตวัคซีนได้ 30-100 โดส ตั้งเป้าจะผลิตให้ได้สูงสุด 10 ล้านโดสโดยใช้เวลา 6 เดือน

ไม่รับรองให้คลินิกจ่ายยา

เมื่อ เวลา 17.30 น. ศ.เกียรติคุณ น.พ.ประ เสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และ สาธารณสุข โรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 กล่าวภายหลังการประชุมนักวิชาการนานกว่า 4 ชั่วโมงว่า คณะอนุกรรมการเห็นด้วยที่จะให้คลินิกเอกชนสำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ เพื่อจ่ายยาให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรักษาและสงสัยว่าจะติดเชื้อไข้หวัด ใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพียงแต่การดำเนินการของคลินิกต่างๆ จะต้องกระทำภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะอนุกรรมการกำหนดไว้

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า การประชุมของคณะอนุกรรมการครั้งนี้ไม่มีการแถลงข่าวภายหลังการประชุม โดยให้เหตุผลว่าประธานคณะอนุกรรมการป่วย มีอาการไอ และไม่มีคณะกรรมการคนอื่นให้สัมภาษณ์

รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมครั้งนี้ มีนักวิชาการบางคนไม่พอใจที่ฝ่ายบริหารให้ข่าวก่อนว่ามีการนำร่องให้คลินิก จ่ายยาโอเซลทามิเวียร์กับผู้ป่วยแล้วในบางพื้นที่ เนื่องจากเห็นว่าเมื่อมีแนวทางเช่นนั้นแล้วจะขอความเห็นจากนักวิชาการที่ เป็นผู้เชี่ยวชาญทำไม เหมือนเป็นการกดดันให้มีมติเป็นไปตามแนวทางที่มีการตั้งธงไว้ล่วงหน้า ซึ่งยังไม่มีมติที่ประชุม จำเป็นต้องประชุมครั้งต่อไป

ศ.น.พ.ธีระ วัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสัตว์สู่คน กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯเชิญนักวิชาการเข้าหารือเกี่ยวกับการให้คลินิกเอกชนจ่ายยาต้านไวรัสโอ เซลทามิเวียร์ให้กับผู้ป่วยเพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยได้รับยาช้า ทำให้เสียชีวิตเร็ว ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าการกระจายยาแบบนี้ไม่ถูกต้อง เพราะการจะกระจายยาลักษณะเช่นนี้ได้ คลินิกจะต้องผ่านเกณฑ์หลักๆ 4 ข้อ คือ 1.มีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับโรคนี้ 2.แพทย์ในคลินิกจะต้องสามารถให้คำแนะนำกับผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำงานเป็นกะ ทำให้ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ตลอดเวลา เช่นในโรงพยาบาล เนื่องจากการรักษาโรคนี้จำเป็นต้องติดตามผู้ป่วยสม่ำเสมอ และให้คำแนะนำหากมีอาการรุนแรงขึ้นให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล 3.คลินิกต้องมีความสามารถในการแยกผู้ป่วยไข้หวัดและผู้ป่วยที่ไม่ใช่ผู้ป่วย ไข้หวัด และ 4.ต้องมีระบบการรายงานข้อมูลผู้ป่วยให้กับกระทรวงสาธารณสุขอย่างชัดเจน ซึ่งคลินิกในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์ดังกล่าว

จวกนักการเมืองหวังหาเสียง

" สาเหตุที่จะต้องกระจายยาให้กับคลินิก เพราะนักการเมืองอยากได้คะแนนเสียง เพราะคิดว่าการให้ยากับผู้ป่วยเร็วที่สุด จะลดอัตราการเสียชีวิตได้ ทั้งที่ผู้ป่วยไข้หวัดที่มาพบแพทย์ไม่ได้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทุกราย อาจเกิดการให้ยาเกินความจำเป็น" ศ.น.พ. ธีระวัฒน์กล่าว

ศ. น.พ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า ข้อมูลที่มีอยู่ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยเสียชีวิตเนื่องจากการ รับยาช้า การออกมาให้ข้อมูลว่าผู้ป่วยเสียชีวิตเนื่องจากการได้รับยาช้าอาจไม่ใช่ ยกตัวอย่างเช่นผู้ป่วยเสียชีวิตในวันที่ 8 แต่ให้ยาเมื่อวันที่ 6 ไม่ได้หมายความว่าให้ยาช้า เนื่อง จากผู้ป่วยบางรายในวันที่ 1-5 อาการยังไม่ปรากฏเข้าเกณฑ์ที่จะต้องให้ยา เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต มีการเหมารวมว่าป่วยมานานถึง 6 วันแล้วเพิ่งจะได้รับยา เหมือนกับว่าได้รับยาช้า ทั้งที่ ความจริงแล้วกรณีเช่นนี้เป็นคนละเรื่องกับการได้รับยาช้า

"การเสีย ชีวิตของผู้ป่วยอาจมาจากสาเหตุอื่น เพราะถ้ารู้ว่าปัญหาอยู่ที่การให้ยาช้า การแก้ปัญหาต้องให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ ไม่ใช่ปล่อยให้กระจายยากระจัดกระจาย เพราะปัจจุบันไม่ใช่ระยะรุนแรงของโรค ถ้ามีการให้และเกิดการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ก็ไม่มีมาตรการรองรับ ก็จะตายกันทั้งประเทศ หมดทางรักษา เนื่องจากเมื่อเชื้อดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ ต้องให้ยาซานามิเวียร์ ซึ่งไทยยังผลิตเองไม่ได้และยามีราคาแพงมาก ไม่สามารถซื้อมาให้กับผู้ป่วยได้ครอบคลุมทั้งหมด หากเกิดการระบาดใหญ่ในอนาคต" ศ.น.พ.ธีระวัฒน์ กล่าว

ศ.น.พ.ธีระวัฒ น์ กล่าวด้วยว่า นักวิชาการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการกระจายให้กับคลินิก แต่ถูกล็อบบี้จากฝ่ายการเมืองคิดว่าหากดำเนินการเช่นนี้แล้วจะดี สร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน เมื่อจำเป็นต้องเห็นด้วย คณะอนุกรรมการจึงกำหนดเงื่อนไขคลินิกที่จะสามารถจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์ให้ กับผู้ป่วยไว้อย่างชัดเจน คือต้องมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ข้างต้นทั้ง 4 ข้อ

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น