nextsterpp
ดู Blog ทั้งหมด

ประวัติศาสตร์ ยางพาราในประเทศไทย

เขียนโดย nextsterpp
ประะวัติ และความสำคัญของยางพาราในประเทศไทย

ยางพารามีการปลูกในประเทศมากว่าร้อยปีแล้ว จากการตรวจสอบเอกสารพบว่า มีการปลูกยางตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2442 – 2444 จากการรายงาน ของรัตน์ เพชรจันทร (2527) ได้กล่าวถึงว่า พระยารัษฎาหุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เป็นเจ้าเมืองตรัง ได้นำต้นยางพารามาปลูกในอำเภอกันตัง หลังจากนั้นประชาชนเริ่มมีการนำมาปลูกขยายเป็นสวน คือ สวนยางแถบจังหวัดตรัง นอกจากนี้ยังมีการขยายไปยังที่ต่างๆ เช่น สวนยางของหลวงราชไมตรี ในจังหวัดจันทบุรี ได้ปลูกขึ้นมาในปี พ.ศ.2454 และสวนยางชาวเดนมาร์ก ที่อำเภอยี่งอ ในจังหวัดนราธิวาส ในระยะเวลาล่วงมากว่าร้อยปี ยางพาราได้มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกยางพารา ประมาณ 13 ล้านไร่ผลผลิต 2.9 ล้านตัน ถือได้ว่า มีปริมาณการส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก ทั้งนี้ประเทศไทยมี นโยบายที่จะเพิ่มพื้นที่ปลูกยางอีก 1 ล้านไร่ ในปี 2547-2549 โดยเป็นการขยายพื้นที่ปลูกยางไปยังภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งคาดว่าผลผลิต ยางพาราจะสามารถเพิ่มขึ้นได้ 250,000 ตัน/ปี และพื้นที่ยางที่มีการส่ง เสริมให้ปลูกเพิ่มนี้จะเริ่มทยอยให้ผลผลิตตั้งแต่ปี 2553 และจะให้ผลผลิตได้เต็มที่ในปี 2556 (ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ปริมาณการส่งออก จากเดือนมกราคม ถึงเดือน กรกฏาคม จำนวน 2,819,210 ตัน มีมูลค่าทั้งสิ้น 122,826.5 ล้านบาท รูปแบบในการจำหน่ายแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ 1)ยางแผ่น แบ่งออกเป็น 7 ระดับได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ชั้นที่1, ยางแผ่นรมควัน ชั้นที่2, ยางแผ่นรมควัน ชั้นที่3, ยางแผ่นรมควัน ชั้นที่4, ยางแผ่นรมควัน ชั้นที่5, ยางผึ่งแผ่นแห้ง และยางแผ่นไม่รมควัน 2) ยางแท่ง 3) น้ำยางข้น และ4) ยางราอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติที่กำหนดไว้ในทางเทคนิค, ในลักษณะขั้นปฐมภูมิ, ยางเครป และ อื่นๆ ทั้งนี้ราคายาง แต่ละชนิด และแต่ละคุณภาพก็มีราคาที่แตกต่างกันออกไปอีก ปัจจุบันประเทศไทยมีตลาดกลางยางพาราทั้งสิ้น 3 แห่งได้แก่ หาดใหญ่ สุราษฏร์ธานี และนครศรีธรรมราช และนอกจากนี้ระบบตลาดยางพารา ยังมีการ ตลาดการซื้อขายกันล่วงหน้า

สถานการณ์ยางในปัจจุบัน

จากโครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้เกษตรกรในแหล่งปลูกยาง ใหม่ระยะที่ 1 ภายในระยะเวลา 3 ปี (2547 – 2549) รวม 1 ล้านไร่ ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้คาดว่าในปี 2547 เนื้อที่ยืนต้นจะเพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรจะปลูกยางทดแทนในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ ปอ สำหรับ เนื้อที่กรีดได้ ปี 2547 มีเพิ่มขึ้นในทุกภาค จากเนื้อที่ยางที่ปลูกในปี 2540 เริ่มกรีดได้ในปีนี้ มีมากกว่าเนื้อที่ยางที่โค่นทิ้งเพื่อปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี ปาล์ม และไม้ยืนต้นอื่น ส่วนผลผลิตต่อไร่ ในภาพรวมทั้งประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากราคายาง ตั้งแต่ช่วงต้นปีถึงพฤษภาคม 2547 สูงถึง 40-52 บาท จูงใจให้เกษตรกรกรีดยางเพิ่มขึ้น และเกษตรกรมีเงินทุนในการบำรุงดูแลใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกยางใหม่ มีต้นยางที่กรีดได้เข้าสู่ช่วงอายุ 10-15 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ให้น้ำยางสูงมีเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว พื้นที่ในการปลูกยางทั่วประเทศ




หน่วยงาน และบทบาทที่สำคัญต่อยางพาราในประเทศไทย

1. องค์การสวนยาง ดำเนินกิจการและบริหารงานภายในขอบเขตของวัตถุประสงค์ที่บัญญัติไว้ในพระราช กฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การ สวนยาง พ.ศ. 2504 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของ องค์การสวนยางไว้ดังนี้
1. ประกอบเกษตรกรรม ซึ่งมีการทำสวนยางพาราเป็นสำคัญรวมทั้งการสร้างแปลงเพาะและแปลงขยายพันธุ์ ยางพารา
2. ผลิตยางแผ่นรมควัน ยางเครปขาว น้ำยางข้น ยางผง ยางแท่ง ยางชนิดอื่น ๆ และสารประกอบของยางพารา
3. ประดิษฐ์หรือผลิตวัตถุจากยางพารา
4. ผลิตและจำหน่ายพลังงานเพื่อประโยชน์แก่กสิกรรม และกิจการ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ขององค์การสวนยาง
5. ประกอบการค้าและธุรกิจเกี่ยวกับผลิตผล ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอยได้ที่เกิดจากกิจการตามข้อ 1,2,3 และ 4 และเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องจักรกล และอุปกรณ์เกษตรกรรม
6. อำนวยบริการแก่รัฐและประชาชนเกี่ยวกับยางพารา
วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นรัฐวิสาหกิจหลักด้านธุรกิจยางพาราครบวงจรอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นกลไก ภาครัฐในการพัฒนายางและเพิ่มมูลค่ายางของประเทศภารกิจ (Mission) ดำเนินธุรกิจยางและปัจจัยในการผลิตยางครบวงจร, ลงทุนกับเอกชนในการประกอบการอุตสาหกรรมยาง และไม้ยาง อำนวยบริการแก่รัฐ และประชาชนเกี่ยวกับยางพารา
2. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ได้มีการจัดตั้ง ปี 2503 สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ภารกิจหลัก สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การสวนยาง ( สกย.) เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทส่งเสริมที่ไม่แสวงหากำไร สังกัด กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขในปี 2505 2518 และ 2530 รวม 3 ครั้ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการ ให้การสงเคราะห์การทำสวนยาง และการสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ภารกิจพิเศษ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล นอกเหนือจาก พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง แล้ว รัฐบาลยังมอบนโยบาย ให้ สกย. ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ให้รวมตัว จัดตั้งสหกรณ์กองทุนสวนยาง โดยจัดสรร งบประมาณ สร้าง โรงผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง / รมควัน ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อแปรรูปผลผลิต เป็นยางแผ่นรมควัน หรือ อบแห้ง สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกัน ไม่มากพอ ที่จะจัดตั้งสหกรณ์ รัฐก็ให้ สกย. จัดสร้างโรงเรือนผลิตยางแผ่นดิบคุณภาพดี ให้ นองจากนั้นรัฐยังมอบหมาย ให้ สกย. จักตลาดประมูลยางระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกร และพ่อค้ามาซื้อขายผลผลิต ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน และราคาที่เป็นธรรม
3. องค์กรสถาบันวิจัยยาง ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดจนถึงในปัจจุบัน ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีหน้าที่ในการวางแผน ควบคุม บริหารและดำเนินการศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนากิจการยางในทุกสาขาและครบวงจรทั้งด้านการผลิตยาง การแปรรูปยาง การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง การตลาดยางและการใช้ประโยชน์จากไม้ยาง ประสานงานกับหน่วยงานภายใน ภายนอกกรมวิชาการเกษตรและต่างประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบการแปรรูปยาง ผู้ประกอบการค้ายาง ผู้ส่งออก ผู้นำเข้ายาง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง องค์การยางระหว่างประเทศและสถาบันวิจัยยางประเทศต่างๆ การควบคุมยางตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยียางสู่กลุ่มเป้าหมายทั้งภาครัฐเอกชนและ เกษตรกรชาวสวนยาง
4. สมาคมยางพาราไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2494 ด้วยความร่วมมือของบริษัทผู้ผลิตและผู้ค้ายางพารา โดยใช้ชื่อว่า "สมาคมพ่อค้ายางพาราแห่งประเทศไทย" เพื่อเป็นองค์กรกลางของผู้ประกอบธุรกิจการผลิตและการค้ายางพารา เป็นศูนย์กลางที่ทางราชการสามารถติดต่อและประสานความร่วมมือ รวมทั้งเป็นกลไกที่จะช่วยผลักดันให้เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์ ทั้งในด้านการพัฒนาวิชาชีพและยกระดับมาตรฐานการดำเนินการของบริษัทสมาชิกให้ อยู่ในระดับที่มีคุณภาพโดยทัดเทียมกัน วัตถุประสงค์หลักในการริเริ่มก่อตั้งสมาคมยางพาราไทยก็เพื่อแก้ปัญหาอัน เนื่องมาจากการประกอบธุรกิจที่ยังขาดกฎและข้อบังคับ ผู้ซื้อและผู้ขายมีอิสระในการประกอบธุรกิจที่สร้างความพึงพอใจแก่ตน โดยมิได้คำนึงถึงผลกระทบต่อการค้าโดยรวม ปัญหาที่ปรากฏมักเป็นปัญหาเรื่องสินค้าด้อยคุณภาพและการไม่ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งก่อให้เกิดการพิพาทที่ยืดเยื้อและเป็นผลเสียต่อผู้ประกอบธุรกิจ ด้วยเหตุนี้เองจึงได้มีการรวมตัวกันของผู้ประกอบธุรกิจยาง เรียกตัวเองว่า "สมาคมพ่อค้ายางพาราแห่งประเทศไทย" ก่อตั้งขึ้นเพื่อขจัดการค้าที่ไม่เป็นธรรม และเพื่อส่งเสริมสมาชิกที่ค้าขายด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ควบคู่ไปกับการร่างกฎและข้อบังคับขึ้นมาใน ที่ทำการของสมาคมยางพาราไทยใช้ที่ทำการหอการค้ากรุงเทพฯ มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2494 และสมาชิกเริ่มแรกมีเพียง 15 ราย เป็นสมาชิกสามัญและสมาชิกสมทบ ปัจจุบันสมาคมยางพาราไทยมีสมาชิกทั้งสิ้น 50 บริษัท มีทั้งผู้ผลิตและผู้ค้ายาง สมาคมยางพาราไทยได้รับการรับรองโดยรัฐบาลและได้รับการพิจารณาว่าเป็น องค์กรกลางในการประสานความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐและเอกชน

หน่วยงานระหว่างประเทศ
องค์การยางธรรมชาติระหว่างประเทศ (International Natural Rubber Organization : INRO) เกิดจากการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ในปี 2519 เพื่อแก้ไขปัญหาราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำ และได้นำไปสู่การจัดตั้งINRO ในปี 2523 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของยาง ธรรมชาติ มิให้เกิดการขาดแคลนหรือล้นตลาด ตลอดจนมุ่งรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยใช้มูลภัณฑ์กันชน (Buffer Stock) เป็นเครื่องมือ ปัจจุบัน INRO มีสมาชิกรวม 22 ประเทศ 1.โดยประเทศสมาชิกมีหน้าที่ต้องชำระเงิน สมทบ 2 ลักษณะ คือ การชำระเงินสมทบเข้างบบริหารองค์การ และการชำระเงินสมทบเข้ามูลภัณฑ์กันชน เพื่อนำเงินที่ได้ใช้ในการแทรกแซงราคายาง ด้วยการพิจารณาราคาชี้สภาวะตลาด, 2. เปรียบเทียบกับราคาเสถียรภาพกลาง และราคาเพื่อการแทรกแซงอีก 6 ระดับ ซึ่ง 3ระดับอยู่เหนือระดับราคาเสถียรภาพกลางและอีก 3 ระดับอยู่ต่ำกว่าระดับราคาเสถียรภาพกลาง โดย INRO จะเข้าแทรกแซงซื้อยางเมื่อราคา DMIP ต่ำและขายยางเมื่อราคา DMIP สูงจากระดับราคาเสถียรภาพกลาง ทั้งนี้ เป็นไปตามความตกลงยางธรรมชาติฉบับที่ 3 (INRA III) ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 4 ปีนับแต่ปี 2540-2543
FAO/UNDP Rubber Development Project ได้เข้ามามีบทบาทในการสนับสนุน แนะนำด้านความรู้ และวิชาการในระหว่างปี 2525 (1982) ให้กับเกษตรกร จำนวน 9,600 คน และเจ้าหน้าที่ 600 คนรวมถึงการจัดประชุมสัมมนาต่างๆขึ้นด้วย
International Rubber Study Group: IRSG (องค์การศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ) จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2490 มีนโยบายประสานงานทางการผลิต การค้า และการใช้ยางธรรมชาติ และยางสังเคราะห์ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง 3อย่างคือ ประทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ ประเทศผู้ผลิตยางสังเคราะห์ และประเทศผู้ใช้ยาง โดยองค์กรจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลด้านการผลิต และการใช้ยางทั้งยางธรรมชาติ และยางสังเคราะห์ ประกาศให้สมาชิกทราบล่วงหน้า เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้สร้างแผนการผลิต และการใช้ยางให้อยู่ในภาวะสมดุล ปัจจุบัน (ข้อมูลปี 2540) มีประเทศสมาชิก 23ประเทศซึ่งประเทศไทย เป็น1 ในสมาชิก 23ประเทศ
Association of National Rubber Producing Countries: ANRPC (สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ) เป็นสมาคมจัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือของประเทศผู้ผลิตยางในโลก ปัจจุบัน(ณ ปี พ.ศ.2540) มีสมาชิก 7 อันได้แก่ อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย ไทย ปาปัวนิวกินี สิงคโปร์ และศรีลังกา
International Rubber Council: INRC (สภายางธรรมชาติระหว่างประเทศ) เป็นองค์กรที่แยกออกมาจากสมาคมผู้ผลิตยางธรรมชาติ โดยมีการลงนามในสนธิสัญญา International Rubber Agreement เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2519 และตั้งมนตรีเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2510 มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุม และรักษาเสถียรภาพราขายางพาราโดยควบคุมการผลิต ส่งออก และการสร้างมูลภัณฑ์กันชน มีสมาชิก 4ประเทศคือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา
International Tripartite Rubber Organization (ITRO ) จัดตั้งเนื่องจากในช่วงก่อนปี 2546 ราคายางในตลาดโลกตกต่ำลงมากจนเกิดความเดือดร้อนต่อเกษตรกรของประเทศผู้ปลูก ยาง ทำให้ต้องมีการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ โดยได้จัดตั้งองค์กรความร่วมมือยางของ 3 ประเทศผู้ผลิตรายสำคัญ ซึ่งประกอบด้วยไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย เพื่อที่จะพยายามรักษาเสถียรภาพของราคายางโลก โดยมีนโยบายหลักครอบคลุมเกี่ยวกับการต่อรองกับประเทศผู้ซื้อ และลดปริมาณการผลิต4% จากผลผลิตเฉลี่ย 4 ปีของแต่ละประเทศ
International Rubber Research and Development Board: IRRDB (สภาวิจัย และพัฒนายางระหว่างประเทศ) เป็นการจัดตั้งองค์การขึ้นมาโดยความร่วมมือของสถาบันวิจัย และพัฒนายางธรรมชาติ จากทุกทวีป มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุม และวางนโยบายการวิจัย และพัฒนายาง ระหว่างสถาบันที่เป็นประเทศสมาชิก และสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ ปัจจุบันมีสมาชิก 15สถาบัน จาก15 ประเทศ มีสำนักงานเลขาธิการขององค์การอยู่ที่กรุงลอนดอน
International Rubber Quality and Packing Conference: IRQPC (คณะกรรมการด้านการหีบห่อ และคุณภาพยางธรรมชาติระหว่างประเทศ) เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นโดยมีหน้าที่กำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ และมาตรฐานยางดิบต่างๆ ซึ่งจัดพิมพ์เป็นคู่มือที่รู้จักกันในนามของ Green Book สำหรับประเทศไทย สถาบันวิจัยยาง เป็นองค์กรร่วมในการดำเนินการโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ พรบ. ควบคุมยาง เพื่อควบคุมมาตรฐาน และการหีบห่อ
HDTVLCD TVHDTVTV StandsPlasma TVFlat Screen TVHDTV AntennaSamsung TVPlasmaLCD TV ReviewsTV StandWhat Is PlasmaSamsung LED TVPanasonic TVPlasma Vs LCDHDTV AntennasHDTV ReviewsWho Makes The Best HDTVLCD TVsPanasonic HDTVSamsung LCD TVPanasonic Plasma TVBest LCD TVHDTV TunerBest HDTV AntennaLCD TV RatingsFlat Screen TVsHDTV RecorderFlat Screen46 Plasma TV1080p26 LCD HDTVBest HDTVLCD Vs PlasmaVizio LCD TVSony LCD TVWho Makes The Best Plasma TVFlat Panel TVWhat Is 1080p FormatSamsung TVsLg LCD TVSamsung HDTVPlasma TV ReviewsCheap LCD TV32 LCD TVLCD HDTVHDTV Tuner Box1080i Vs 1080pHDTV Digital ReceiverPanasonic PlasmaPlasma Or LCDFlat Screen MonitorBest Plasma TVFlat Screen MonitorsPlasma TV StandsPlasma TVsSony HDTV26 LCD TVTop Rated LCD TVCheap LCD TVsReviews On Panasonic HDTVBest Flat Screen TVHDTV Converter BoxFlat Screen TV'SFlat Screen TelevisionSharp LCD TVHDTV Indoor AntennaLCD TV SaleSamsung Plasma TVFlat Panel TV StandsBest LCD TVsHDTV ReceiverPanasonic LCD TVHDTV TunersPioneer Plasma TVHDTV RatingsPlasma TelevisionPortable HDTV32 Inch LCD TVDiscount LCD TVWhat Is The Best Brand Of HDTV15 LCD TV19 LCD TVBest LCD HDTVPlasma Vs LCD TVLCD Or PlasmaFlat Screen TelevisionsLCD TV Wall MountsLCD Vs Plasma TVPlasma TV RatingsSamsung PlasmaPolaroid LCD TVPortable LCD TVWhat Is Plasma TV42 Inch LCD TV42 LCD TVCheap Flat Screen TVSmall LCD TV26 In LCD TVPlasma Screen TVBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlog

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น