ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเรียนนิยาย

    ลำดับตอนที่ #5 : (บทความ) Elements of Plot

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 492
      6
      25 ก.ค. 61

    เขียนไว้ตั้งแต่ 2548 (นั่งนับนิ้ว ประมาณ 9 ปีก่อน) แต่ที่จริงเขียนก่อนหน้านั้นอีก แต่เครื่องดันแฮงค์ ขี้เกียจเขียนใหม่ ก็ดึงเอาอันเดิมมาก็แล้วกันนะ อ้อ รุ้งเป็นชื่อพี่สาวค่ะ เราสองคนพี่น้องนั่งเขียนห้องเรียนนิยายอัพใน http://peining.bloggang.com กันมาตลอด ลองไปดูก็ได้ คลังความรู้ทั้งนั้นแหละค่ะในนั้นน่ะ มานี่คงหยิบมาแค่บางส่วนที่จำเป็นแหละ (ขี้เกียจ แก่แล้ว)

    ห้องเรียนนิยายเขียนขึ้นตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีคนเอาความรู้เรื่องนี้มาเผยแพร่ หนิงกับเจ๊รุ้งเรียนมาในลักษณะภาษาอังกฤษ เพิ่งจะมีคนหยิบภาษาไทยทับศัพท์มาทีหลังเพราะงั้นบทความที่จะเอามาลงเลยเป็นชื่ออังกฤษซะเยอะ (มันเป็นชื่อเฉพาะ) ก็อดทนหน่อยนะคะ

    =====================================

    Elements of Plot
     
    สำหรับรุ้งเอง นวนิยายก็คือกลุ่มปัญหา ถ้าลองมองแบบที่มีระบบๆ ดู ปัญหาก็จะต้องมี สาเหตุของปัญหาว่าปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้วเกิดเหตุการณ์อะไร ปัญหาเกิดขึ้นแล้วแล้วมีผลอย่างไร แล้วจัดการแก้ปัญหาอย่างไร แล้วเมื่อปัญหาถูกแก้แล้วเหตุการณ์เป็นอย่างไร 
     
    ในเมื่อนวนิยายก็คือกลุ่มปัญหา Process ที่บอกมาข้างต้นก็เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถาม แล้วก็ต้องมีคำตอบ คำตอบนั้นๆก็คือตัวเนื้อเรื่องของนวนิยายนั่นแหละ นวนิยายเป็นกลุ่มปัญหาที่มีระบบ การจะตอบคำถามต่างๆก็ต้องมีระบบด้วย ดังนั้นการเขียนนิยายที่ดี ผู้เขียนก็ต้องมีการจัดระบบโครงสร้างของเรื่องไว้ให้ดีๆ นั่นจะทำให้คนอ่านสามารถลำดับเหตุการณ์ เข้าใจที่มา เหตุและผลของนวนิยายเรื่องๆนั้นๆ ได้ 
     
    ที่พูดๆ มา ก็จะสรุปว่า Elements of Plot มีดังต่อไปนี้ 
     
    1. Background หรือ Exposition แล้วแต่จะเรียก ส่วนนี้ 90 % ของนวนิยายทั่วๆไป มักจะอยู่ในส่วนเริ่มเรื่อง เป็นสิ่งที่เป็นข้อมูลพื้นฐานของเรื่อง ผู้แต่งต้องการจะบอก Background ของตัวละคร ของ Setting ของประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา การปกครอง หรือสิ่งละอันพันละน้อย ก็จะเอามาใส่ไว้ในส่วนนี้ ส่วนนี้มีข้อดีหลายอย่าง เพราะมันเป็นการปูพื้นให้กับคนอ่านได้เข้าใจเงื่อนไขหรือบริบทในด้านทั่วๆ ไปของเรื่อง หรืออาจจะเป็นการปูทางไปสู่ปัญหาที่จะเกิด ซึ่งปัญหาที่เกิด ก็มักจะเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับ Background (ถ้ามันเหมือนกัน แล้วปัญหาจะเกิดได้อย่างไรล่ะ) 
     
    2. Beginning Force การเริ่มของปัญหา ส่วนนี้ก็มักจะตามมาหลังจากที่ผู้เขียนได้บอก Background ไปแล้ว โดยส่วนใหญ่มักจะตรงกันข้ามกันกับ Background ที่ได้บรรยายเอาไว้ 
     
    เช่น 
     
    (ถ้า Background บรรยายว่า) กาลครั้งหนึ่งนาน ซินเดอเรล่า อยู่กะป๊ากะแม่ อย่างสงบสุข (Beginning Force ก็จะทำให้ Background ที่ปูไว้เปลี่ยนไป เช่น) แต่อยู่มาวันหนึ่ง แม่ตาย พ่อก็มีแม่เลี้ยง แถมมีได้แป๊ปเดียวพ่อก็ตายอีก แม่เลี้ยงก็ใจร้าย ใช้งานนางซินเป็นผักเป็นปลา จิกๆกัดๆ 
     
    จะเห็นได้ว่า Beginning Force จะฉีกแนว ออกมาจาก Background ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ ประมาณว่า ตอนแรกสงบสุข ต่อมาเริ่มมีปัญหา มันมักจะต้องเป็นแบบนี้อยู่แล้วล่ะ ^^" 
     
    3. Rising Action เมื่อเหตุการณ์ร้ายเข้มข้นขึ้น เมื่อปัญหาเกิด มันก็จะต้องมีผลของปัญหา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาที่เป็นลูกโซ่เกิดขึ้นตามๆกันมาก็ได้ ทำให้ปัญหาไม่ได้อยู่โดดๆแล้ว แต่จะเป็นกลุ่มปัญหาเกิดขึ้นแทน (หรืออาจจะไม่เกิดก็ได้ถ้าหากว่าเป็นเรื่องที่สั้นๆมากๆ) ตรงนี้เป็นการกระชากอารมณ์ของคนอ่านให้ขึ้นสูงขึ้นมา 
     
    เช่น 
     
    (ต่อจากเมื่อกี้ละกัน) อยู่มาวันหนึ่ง สารน์จากเจ้าชายมาป่าวประกาศว่าจะจัดงานเลี้ยงเต้นรำ ซินก็อยากไป แต่ว่าไร้ตังค์ซื้อชุด ได้แต่นอนร้องห่มร้องไห้ นางฟ้าก็ช่วยให้ได้ไป แต่ว่า หลังเที่ยงคืนก็ทุกอย่างจะหายไปนะซินก็ไปลันล้า เต้นๆๆๆ
     
    4. Crisis ก็คือปัญหาซับๆซ้อนๆขึ้นไปอีก เป็นวิกฤตเลยล่ะ แต่ส่วนนี้ก็ไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นทุกเรื่อง เป็นส่วนที่สคิปได้ 
     
    เช่น 
     
    จู่ๆ ก็เที่ยงคืน นางซินเต้นเพลินไปหน่อย แย่แล้ว วิ่งๆๆๆๆ หนีๆๆๆๆๆ เจ้าชายก็ตามๆๆๆๆ เก็บได้แต่รองเท้าข้างหนึ่ง ก็เลยไปป่าวประกาศหา
     
    5. Climax เป็นจุดที่ปัญหาเกิดขึ้นสูงสุด ปัญหาจะถูกคลี่คลายออกไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง จำเป็นสุดๆ ต้องมีเลยนะ ถ้าไม่มี หรือ เขียนได้ไม่ดี เรื่องนั้นจะจืดสนิทเลย 
     
    เช่น 
     
    เจ้าชายมาถึงบ้านซิน เอารองเท้ามาให้ลอง นางซินก็ถูกกีดกัน แต่เมื่อได้ลองรองเท้ากับใส่ได้พอดี (วี๊ดวิ้ว) (ตรงนี้เป็นฉากที่แบบว่าลุ้นๆพอสมควรว่าจะได้ใส่ไหม ถ้าเป็นเวอร์ชั่นวอลล์ดิสนีย์ ขนาดรู้เรื่องแล้วนะว่ายังไงก็ต้องได้ลอง แต่มันก็ยังตื่นเต้น) 
     
    6. Resolution ปัญหาคลี่คลายไปแล้วเหตุการณ์ต่อไปเป็นอย่างไร อันนี้ก็คือเหตุการณ์ที่มันเป็นผลลัพธ์ของการแก้ปัญหานั่นเอง ตรงนี้ก็ละได้ หรือบางทีก็ไปรวมกับข้อสุดท้ายก็คือ Ending (เช่นเรื่องนี้นั่นเอง ข้อ 6 กับ 7 รวมกัน)
     
    7. Ending จบเป็นอย่างไร Happy or Sad หรือว่าอย่างอื่น 
     
    เช่น แล้วซินก็เข้าวังแต่งงานกะเจ้าชาย เรื่องก็ Happy Ending (กี๊บกิ้ว)
     
    ******************
     
     
    7 ขั้นตอนนี้ บางเรื่องมีไม่ครบ ก็ไม่เป็นไร เพราะว่าบงอันก็ละได้ แต่สิ่งที่สำคัญๆ ก็ควรจะต้องมีโดยเฉพาะ Climax เพราะเห็นหลายเรื่อง เขียนแล้วไร้ Climax อ่านแล้วอยากจะเขวี้ยงหนังสือทิ้ง การเขียน Climax ไม่ดี หรือไม่มีมันเลยก็เหมือนกินต้มยำแล้วไม่เปรี้ยว ไปพัทยาแล้วไม่เจอทะเล มันเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ จริงๆ (ทำไมเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยสนใจมันนักก็ไม่รู้) 
     
    และตามลำดับนี้ นักเขียนที่เก่งๆ บางท่านก็สามารถจะสลับลำดับของมันได้เช่นกัน เอาตอนจบมาขึ้นต้น เช่นเรื่องชั่วนิรันดร์ (ชื่อเรื่องประมาณนี้น่ะนะ ถ้าจำไม่ผิด) แต่อยากจะแนะนำนักเขียนมือใหม่ๆ ว่าถ้าหากว่า ลำดับ Plot ข้างบนนี้ยังไม่แข็งพอ ก็อย่าเพิ่งเขียนแบบสลับเลย เพราะว่าลูกเล่นหลายๆอย่างถ้าคนเขียนมีฝีมือจะทำให้นวนิยายอัพเลเวลความสนุก แต่ในทางกลับกัน ถ้าเขียนไม่ดี จัดลำดับไม่ดี ก็ทำให้หมดสนุกได้เช่นเดียวกัน ดีไม่ดี คนอ่าน + คนเขียนจะงงเอง ^^"
     
    *****************

    อันนี้เป็นรูปภูเขาของเรื่องค่ะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×