ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Movement เขียนนิยายอย่างไรให้น่าสนใจ?

    ลำดับตอนที่ #9 : แนวเรื่อง : ชอบแบบไหน เขียนแบบนั้น

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.65K
      2
      10 ก.ย. 49


     

              *บทความนี้จะยึดตามแนวเรื่องที่มีให้เลือกในWriterของเวบเด็กดี

              แนวเรื่องกับพล็อตเรื่องนั้น จะเลือกเอาอันไหนก่อนก็ได้ บางคนคิดพล็อตได้แล้วจึงมาดูว่ามันเป็นแนวไหน แต่ก็มีบางคนที่เลือกแนวที่อยากเขียนก่อน แล้วค่อคิดพล็อต

              แนว มีอิทธิพลต่อหลายๆ อย่าง ทั้งอารมณ์เรื่องโดยรวม จำนวนคนอ่าน สไตล์การเขียน เราลองมาดูกันทีละแนวดีกว่า


              1. สบายๆ คลายเครียด
             
              เท่าที่เห็นมักจะเป็นแนวมิตรภาพ เรื่องป่วนๆ เฮฮาๆ เรื่องวุ่นๆ แต่อาจจะไม่ใช่แนวตลกเสียเต็มที่ แต่อ่านแล้วสบายใจเฮฮาๆ ซึ้งบ้าง ก็ถือว่าเป็นแนวนี้แล้ว ถ้าเป็นแนวรักด้วย ก็จะออกมาในรูปแบบที่ค่อนข้างสบายๆ เช่นนางเอกบ๊องๆ พระเอกป่วนๆ

              ภาษาที่ใช้ก็คงไม่มีรูปแบบพิเศษ ขึ้นอยู่ที่เทคนิกการเขียนมากกว่า คิดว่าแนวนี้เขียนให้คนอ่านอมยิ้มได้ ประทับใจในมิตรภาพเพื่อนหรือความรักแบบครอบครัวหรือแฟนได้ ก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว ถ้าคุณชอบแนวที่กล่าวมา ประเภทเขียนให้คนประทับใจในมิตรภาพ คุณอาจจะเหมาะกับแนวนี้ก็ได้


              2. รักหวานแหวว

              แนวยอดนิยมทั้งคนอ่านคนเขียน แนวนี้ได้เปรียบตรงที่คุณจะได้ตลาดคนอ่านมาก แต่เสียเปรียบตรงที่ว่าถ้าคุณคิดพล็อตไม่ดี อาจซ้ำซากจำเจจนน่าเบื่อเอาได้ง่ายๆ และการแข่งขันในหมวดนี้ก็ค่อนข้างสูง สังเกตได้จากท็อบเทน จะเป็นหวานแหววเสียส่วนมาก

              ใครก็ตามที่คิดจะมาเขียนหมวดนี้ ขออย่างเดียว ก็คืออย่าคิดพล็อตที่เห็นบ่อยๆ ไม่ใช่ว่าห้ามเขียนเด็ดขาดเลยหรอก แต่เพราะมองว่ามันเริ่มเกร่อแล้ว ลองคิดอะไรที่แปลก แหวกแนว คนไม่ค่อยกล้าเขียนดูบ้าง แล้วคุณจะสนุกขึ้นอีกเยอะ สร้างสรรค์ความรักที่คุณสร้างขึ้นให้ดี จะถนุถนอมมันให้โรแมนติก บริสุทธิ์ หรือสกปรกและเลวร้าย จนพวกเขาจำต้องพยายามฝ่าฟันไปด้วยกัน ก็แล้วแต่... เขียนในแบบที่ตัวเองถนัดก็ดีมากแล้ว เมื่อเป็นแนวรัก ก็ขอให้เน้นที่ความรักของเขาสองคนให้มากที่สุด


              3. ซึ้งกินใจ

              แนวนี้คล้ายสบายๆ คลายเครียด แต่เนื้อหาอาจจะหนักกว่า จนเรียกว่าสบายๆ ได้ไม่ถนัดปาก เท่าที่มองดู รู้สึกว่าจะมีหลายแนวปนๆ กัน แต่เน้นไปที่ความรัก ความซึ้ง มีร้องห่มร้องไห้ ความทรมานใจ ความลำบากใจ ความประทับใจ ในขณะที่สบายๆ คลายเครียดอาจจะซึ้งเหมือนกัน แต่เนื้อหาอาจไม่หนักเท่า

              ชอบเขียนแนวเรื่องหนักๆ ชอบทำให้คนอ่านร้องไห้ได้อย่างประทับใจ ลองมองมาที่แนวนี้ อาจไม่ใช่แค่แนวรักอย่างเดียวก็สามารถจัดลงหมวดนี้ได้


              4. รักเศร้าๆ

              เหมือนเอารักหวานแหววกับซึ้งกินใจมารวมกัน คือเน้นว่าเป็นเรื่องรักแน่ๆล่ะ แต่อาจจะไม่จบอย่างแฮปปี้นัก หรือมีเรื่องเศร้ามากมาย ลำบากมากมายให้พระเอกนางเอกฝ่าฟันในขณะดำเนินเรื่อง หรือรักที่ไม่น่าจะมีทางสมหวังก็อาจจัดอยู่ในหมวดนี้ได้

              ถ้าคุณชอบเขียนเรื่องรักที่ไม่น่าจะสมหวัง หรือมีเหตุให้พลัดพราก แต่รักยังคงอยู่ตลอดไป อะไรทำนองนี้ คุณคงเหมาะกับแนวนี้ แต่ขอเตือนนิดหนึ่ง ไอ้การที่รักกันมาทั้งเรื่อง แล้วพระเอกหรือนางเอกมาตายตอนจบแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย ไม่ให้คนอ่านได้เอะใจนิดหนึ่ง หรือการตายนั้นไม่สมเหตุสมผล อาจทำให้คนอ่านเซ็งกับคุณ แล้วพาลเกลียดฉากจบของคุณไปเลยก็ได้ ดังนั้นถ้าจะเขียนหักมุมให้พระเอกนางเอกตายตอนจบ ก็เอาให้มีเหตุมีผลที่สมควรหน่อยนะ....

              อ้อ แนวนี้เป็นแนวรัก เลยยังพอมีคนอ่านพอควร แต่ก็แปลกดี มองๆไปแล้วส่วนใหญ่แนวนี้มักจะมีอีโรติกเล็ก ๆ อืม.... แต่ไม่ได้หมายความว่าจำเป็นต้องมีหรอกนะ


              5. นิทาน

              ถ้าคุณชอบแต่งเรื่องสั้นๆ นี่คือแนวที่เหมาะกับคุณมาก แต่นิทานแบบยาวๆก็มีนะ

              จริงๆแล้ว ใครที่อยากเขียนแนววรรณกรรมเยาวชน (ซึ่งให้ข้อคิดแก่เด็ก และไม่มีพิษมีภัยแก่เด็ก) ก็น่าจะจัดรวมอยู่ในหมวดนี้ด้วย การเขียนแนวเพ้อฝัน ทำนองเจ้าหญิงเจ้าชาย ในแบบคลาสสิก ถ้าให้ความรู้สึกเหมือนนิทานหรือวรรณกรรมเยาวชนก็น่าจะจักรวมในหมวดนี้ทั้งนั้น

              หมวดนี้คนอ่านอาจไม่ใช่ขาประจำมากนัก มักเป็นขาจรที่แวะเข้ามาอ่านมากกว่า


              6. ผจญภัย

              นักเดินทาง นักท่องเที่ยว โจรสลัด นครแปลกประหลาดกับผู้คนที่หลงเข้าไป แนวนี้ช่างคล้ายกับแฟนตาซี แต่เน้นเรื่องการเดินทางผจญภัยกับสิ่งต่างๆ มักจะมีเรื่องมิตรภาพเข้ามามากกว่าความรัก (เว้นแต่จะเป็นแนวผจญภัยความรัก...ภัยความรัก...อืม...)

              คนที่เขียนแนวนี้ ควรถนัดเรื่องการบรรยาย ฉากตื่นเต้นเร้าใจ การต่อสู้ เพราะการเดินทางก็ต้องมีบู๊มั่งแหละน่า และแนวนี้มักผจญภัยไปในโลกที่ไม่ใช่ยุคปัจจุบันของเรา ดังนั้นการบรรยายเสื้อผ้า หน้า ผม สถานที่ บรรยากาศ จึงสำคัญมาก เพราะคนเขียนต้องเป็นคนพาคนอ่านไปรู้จักกับทุกๆที่ที่ตัวละครได้ไป การทำให้คนอ่านได้เห็นได้สัมผัสสิ่งเหล่านั้น แล้วรู้สึกสนุกไปด้วย เป็นสิ่งที่สำคัญ

              ตัวละครที่มีเสน่ห์น่าติดตามก็สำคัญ(ที่จริงสำคัญกับแทบทุกแนว) เพราะจะทำให้คนอ่านอยากติดตามความเป็นไปกับตัวละครเหล่านั้น อยากรู้ว่าพวกเขาเป็นยังไงบ้าง เจอเรื่องร้ายจะผ่านไปได้มั้ย ถ้าคุณชอบจินตนาการถึงการผจญภัยที่พิศดารพันลึก ชอบพาคนอ่านไปเที่ยวสถานที่ใหม่ๆ ลองมาเขียนแนวนี้ ความสามารถของคุณอาจจะส่องประกายออกมามากกว่าที่คุณคิด


              7. สืบสวน

              ไม่ต้องมาเขียนแนวนี้นะ... (เพราะเราเขียนอยู่ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า เดี๋ยวมีคู่แข่ง) เอ้า! ล้อเล่นๆ
              สืบสวน ถ้าคนไม่เคยเขียน ก็จะมองว่าเขียนยากข้อมูลยุบยิบ ต้องสมจริง จากการที่เราลองเขียน เออ...ก็จริง เขียนยากจริงๆ น่ะแหละ

              ดังนั้นถ้าคุณ "แค่" ชอบโคนัน คินดะอิจิ อย่ามาเขียนแนวนี้เลยดีกว่า อย่างน้อยคุณควรมีข้อมูลการสืบสวนสอบสวนของตำรวจบ้าง ว่าเขาทำกันยังไง และตำรวจแต่ละประเทศก็จะไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นตำรวจอเมริกาก็จะเคร่งๆ ปฏิบัติงานรวดเร็ว โทรปุ๊บมาปั๊บ ถ้าเป็นตำรวจไทยก็จะของบไม่ค่อยได้ (ฮา) เครื่องแบบต้องตัดเอง ปืนต้องเช่าเอา ไม่ก็ซื้อเอง เฮ้ย! นี่เรื่องจริงนะเนี่ย

              ก่อนอื่นคุณควรเลือกตัวเอกก่อน ตัวเอกเป็นใคร? มีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนมากแค่ไหนเมื่อเกิดคดี โอเค...ถ้าตัวเอกคุณเป็นตำรวจ หรือนักสืบยอดฝีมือที่ตำรวจไว้ใจ (อย่าลืมว่าตำรวจเขาก็มีฝ่ายสืบสวนของเขาอยู่แล้วเหมือนกันนะ) คุณอาจเขียนให้เขาสืบนั่นนี่ได้เต็มที่ แต่ถ้าเป็นแค่นักเรียนม.ปลาย หรือคุณป้าแก่ๆ ที่ไม่เคยผ่านการสืบสวนมาก่อน การที่เขาจะมาสืบสวนคดีอาจยากขึ้น

              แนวนี้เป็นแนวที่คุณควรร่างพล็อตเอาไว้มากที่สุด โดยเฉพาะรายละเอียดการก่อคดี เพราะเนื้อเรื่องต้องการความสมเหตุสมผลมาก แต่อย่ากังวลเกินไปนัก ขนาดนิยายชื่อดังอย่างเชอร์ล็อค โฮมม์ก็ยังมีจุดที่ไม่สมเหตุสมผลบ้าง หรือในโคนัน คนร้ายอาจฆ่าคนตายได้เพียงเพราะเหตุผลเล็กๆ ถ้าคุณชอบเขียนเรื่องราวที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน หรือมีแรงบันดาลใจบางอย่าง คุณอาจจะชอบเขียนแนวนี้ ทั้งนี้แนวนี้บก.หลานสนพ.ชอบ และกำลังต้องการนักเขียนแนวนี้ แต่ขึ้นอยู่กับฝีมือของคุณด้วยนะ

              ความเห็นส่วนตัว : ไม่ค่อยแนะนำให้เขียนแนวนี้เป็นเรื่องแรกในชีวิต ถ้าข้อมูลคุณไม่ปึ้กพอ และ หากคุณอยากเขียนมากๆ ลองเขียนจากคดีง่ายๆ หรือเรื่องการสืบสวนแบบน่ารักๆดูสิ


              8. ระทึกขวัญ

              ถึงแนวโปรดเราจนได้ ^^

              เมื่อก่อนแนวนี้ยังไม่บูมเท่าไหร่ แต่พอเกิดกระแสเดอะริง จูออน ไล่มาถึงนิยายในเด็กดี เรื่องด็อกเตอร์ครูเอิล โรงเรียนพิศวง เกมร้อยวิญญาณ จนด็อกเตอร์ครูเอิลโดดไปอยู่ในท็อปเทนแล้วตามมาด้วยโรงเรียนพิศวง แนวนี้เลยมีคนอ่านเฉพาะอยู่บ้าง ที่ชอบความน่ากลัว หรือความดิบเถื่อน

              แต่ขอเตือนคนที่จะมาเขียนว่า อย่าสักแต่เขียนให้ดิบ เถื่อน โหด เพื่อความสะใจ แม้จะเป็นแนวระทึกขวัญ ก็ขอให้มีอะไรให้คนอ่านนอกจากสิ่งเหล่านั้นด้วย

              นิยายระทึกขวัญที่มีการเลือด ฆ่า ความดิบ เถื่อน โหดร้าย โดยที่เนื้อเรื่องไม่ได้มีอะไรไปมากกว่าจุดเด่นตรงนั้น ก็ไม่ต่างอะไรจากหนังเกรดบี ที่คนดูเช่าแผ่นมาดูแล้วเอาไปคืน นานวันก็ลืม... จงแทรมปมที่น่าสนใจลงไป ใส่ข้อคิด ใส่ความมีชีวิตและเสียชีวิตของตัวละครลงไป แม้จะเป็นแนวสยองขวัญ ก็ไม่ใช่ว่านึกจะให้ใครตาย ก็ฆ่าให้ตายเสียแบบนั้น...

              ทั้งนี้แนวระทึกขวัญ ยังไม่ใช่สยองขวัญอย่างเดียว แต่รวมถึงพวกแอ็คชั่นตื่นเต้น อะไรแบบนั้นด้วย แต่คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นยสยองขวัญอย่างเดียว และคนที่จะเขียนแนวนี้ ต้องทำใจเอาไว้ว่า จะมีคนอ่านดูถูกนิยายของคุณ เพราะคิดว่าเป็นแค่เรื่องผีธรรมดาๆ ไม่ต้องไปบอกเขาว่า "ลองอ่านดูก่อนสิ" จงทำให้มัน สนุกและไม่ธรรมดา แล้วคนอ่านที่ชอบงานของคุณ เขาจะช่วยเป็นกระบอกเสียงให้คุณเอง

              ในฐานะที่เขียนแนวนี้มาก่อน อยากย้ำให้มากๆ ว่าอย่าเขียนเอามันส์ เอาเลือดอย่างเดียว ถามตัวเองด้วย ว่าคนอ่านอ่านแล้วจะได้อะไรบ้าง ไม่ใช่ได้แต่ความบันเทิงอย่างเดียว...

              คนที่จะเขียนแนวนี้ ควรเก่งเรื่องการบรรยายมากกว่าบทพูด บรรยากาศมีผลต่อเนื้อเรื่องมาก และควรมีไอเดียใหม่ๆ เข้ามาใส่เสมอ




     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×