...
ภาพประกอบ > Thank [ flickr ] , [ El Fotopakismo ]
เมืองใหญ่ๆ อาจจะหาที่เดินสบายๆ ได้ยาก ทว่า... การปลูต้นไผ่เรียงเป็นแถวอาจช่วยให้ที่แคบๆ ในเมืองดูสงบร่มรื่นมากขึ้นได้
...................................................................................................
การขับรถและนั่งรถดูจะเป็นวิถีชีวิตของคนสมัยใหม่... การศึกษาเร็วๆ นี้พบว่า รถเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเราเดินต่ำกว่าวันละ 10000 ก้าว (= จำนวนก้าวขั้นต่ำที่เป็นหลักประกันสุขภาพที่ดี)
ศาสตราจารย์เจมส์ ฮิลล์ (James Hill) กุมารแพทย์ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐฯ ทำการศึกษาพบว่า คนที่เดินขึ้นรถ นั่งรถ ลงรถไปทำงาน และนั่งรถกลับจะเดินน้อยลงจนเหลือเพียงวันละ 1,000 ก้าว
...
อ.ดร.เดียนนา เดนส์มอร์ (Dianna Densmore) แห่งศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐฯ (CDC) กล่าวว่า
การพึ่งพารถมากๆ ทำให้คนสหรัฐฯออกกำลังอย่างหนักน้อยกว่า 75 นาที/สัปดาห์ หรือออกกำลังแรงปานกลางน้อยกว่า 150 นาที/สัปดาห์ตามที่รัฐบาลแนะนำ
...
อ.ลอว์เรนซ์ แฟรงค์ (Laurence Frank) และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยบริทิช โคลัมเบีย ทำการศึกษาพบว่า
- การนั่งรถทุกๆ 30 นาที/วันเพิ่มเสี่ยง (ความน่าจะเป็น) โรคอ้วน 3%
- คนที่อยู่ในละแวกที่มีร้านค้าและธุรกิจมากๆ (บ้านอยู่ใกล้ที่ทำงาน) ทำให้มีโอกาสเดินมากขึ้น โอกาสอ้วนน้อยลง 7%
...
การอยู่ในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมาก หรือเมืองที่มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน ทำให้คนเดินน้อยลง และใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้น
สำนักสุขภาพอังกฤษ (NHS) เสนอให้เดินขึ้นลงบันไดวันละ 7 นาที เพื่อเสริมโปรแกรมออกกำลังต้านอ้วน โปรแกรมนี้ทำได้ง่าย และสามารถนำเวลา 7 นาทีไปบวกกับจำนวนเวลาเดิน สะสมให้เป็นวันละ 30 นาทีขึ้นไปได้
...
ข้อดีเป็นพิเศษของการเดินขึ้นลงบันได คือ ทำให้มวลกล้ามเนื้อลำตัวส่วนล่างและขาเพิ่มขึ้น ขากระชับขึ้นได้ คล้ายการเล่นเวท หรือยกน้ำหนัก ทำให้ไขมันตรงพุงลดลงด้วย
ไขมันทั้งตัวลดลงจากการควบคุมอาหารได้ แต่ไขมันที่พุงจะลดลงได้ด้วยวิธีการควบคุมอาหาร โดยเฉพาะลดแป้ง-น้ำตาล ร่วมกับการออกกำลังที่แรงมากพอเป็นประจำ
...
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
...
> Thank Reuters; Thank [ flickr ] , [ El Fotopakismo ]
ที่มา
- นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > > 29 พฤษภาคม 2552.
- ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
ความคิดเห็น