...
ภาพที่ 1: ตารางแสดงจุดเกิดควัน (smoke points) ของน้ำมันพืช > Thank [ canola-council ]
- น้ำมันที่ใช้ทอดควรเป็นน้ำมันที่มีจุดเกิดควันสูง (อุณหภูมิสูงมากจึงจะเกิดควัน) เพื่อลดโอกาสเกิดสารก่อมะเร็ง (องศาเซลเซียส - C คือ แถวขวามือ) > คิดที่ตัวเลข 240 องศาเซลเซียสขึ้นไปจึงจะดี
- น้ำมันพืชที่ทนความร้อนสูงหน่อย คือ น้ำมันทานตะวัน (sunflower), คาโนลา (canola), ถั่วลิสง (peanut) ใช้ทอดได้
...
- น้ำมันที่มีจุดเกิดควันสูง แต่ไม่มีในตารางนี้ คือ น้ำมันรำข้าว (rice bran oil), เมล็ดชา > น้ำมันรำข้าวมีจุดเกิดควันที่ 254 องศาเซลเซียส (C) สูงกว่าน้ำมันทุกชนิดในตารางนี้ ทำให้การทอดด้วยน้ำมันรำข้าวมีโอกาสเกิดสารก่อมะเร็งต่ำกว่า และมีความปลอดภัยกว่าน้ำมันทุกชนิดในตารางนี้ > [ Telegraph ]
- น้ำมันพืชบางชนิดมีหลายสายพันธุ์ ควรดูค่าที่ต่ำกว่าเป็นหลัก จึงจะปลอดภัย (ถ้ามีกรดไขมันโอเลอิคสูงหรือ high oleic acid > น้ำมันจะทนความร้อนได้สูงขึ้น)
...
- น้ำมันที่ไม่ค่อยทนความร้อนเลยคือ น้ำมันเมล็อองุ่น (grape seed), มะกอก (olive oil) ซึ่งสังเกตได้จากจุดเกิดควันต่ำกว่า 230 องศาเซลเซียส
- น้ำมันที่มีจุดเกิดควันอยู่กลางๆ คือ น้ำมันข้าวโพด (corn), ถั่วเหลือง (soybean), ดอกคำฝอย(safflower) กลุ่มนี้พอจะใช้ผัดความร้อนไม่สูงได้ แต่ถ้าใช้ทอดจะไม่ค่อยปลอดภัย (ความร้อนจากการทอดสูงกว่าการผัด และการทอดมักจะใช้เวลานานกว่า)
...
สรุปคือ
- (1). น้ำมันที่ใช้ทอดได้ปลอดภัยได้แก่ น้ำมันที่มีจุดเกิดควันสูง > น้ำมันรำข้าว (จุดเกิดควันสูง แต่ไม่ได้แสดงไว้ในตาราง), ทานตะวัน, คาโนล่า, ถั่วลิสง, เมล็ดชา
- (2). น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าวมีจุดเกิดควันค่อนข้างสูง ใช้ทอดได้ แต่ไม่ดีกับสุขภาพ เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวสูง
...
ภาพที่ 2: ตารางแสดงกรดไขมันชนิดต่างๆ ในน้ำมันพืช (น้ำมันดอกคำฝอยส่วนใหญ่จะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวต่ำ = 12%;
สายพันธุ์ในตารางนี้เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นเฉพาะ ไม่ใช่สายพันธุ์ที่มีจำหน่ายทั่วไป) > Thank [ canola-council ]; [ prevention ]
...
วิธีเลือกน้ำมันพืชมีหลักการสำคัญได้แก่
- (1). ไขมันอิ่มตัวควรจะต่ำ (แถวซ้ายสุด - saturated fat / SFA) > ไม่ควรเกิน 30% > น้ำมันมะพร้าวหรือกะทิ (palm = 91%), น้ำมันเนย (butter = 68%), น้ำมันปาล์ม (palm = 51%), น้ำมันหมู (lard = 43%) พวกนี้ไม่ควรใช้
- (2). ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง (แถวที่สอง - monounsaturated fat / MUFA) > ช่วยเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) + ลดโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) > มะกอก (75%), คาโนลา (61%), รำข้าว (ไม่มีในตารางนี้), ถั่วลิสง (48%)
...
- (3). โอเมกา-3 สูง (แถวที่สาม - polyunsatured omega-3 fat / PUFA) > นำมันเมล็ดปอป่านหรือแฟลกซีด (flaxseed = 57%), คาโนลา (11%), ถั่วเหลือง (8%)
- (4). โอเมกา-6 (แถวที่สาม - polyunsatured omega-6 fat / PUFA) ไม่ต้องไปเน้น เพราะมีมากในอาหารทั่วไปอยู่แล้ว > น้ำมันชนิดนี้ลดโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) และถ้ากินมากๆ จะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ต่ำลง
...
คนไทยเราควรใช้น้ำมันดังต่อไปนี้
- (1). ผัด (ความร้อนสูง) > น้ำมันรำข้าว, คาโนลา, เมล็ดชา, ทานตะวัน (น้ำมันทานตะวันมีข้อด้อยกว่าตรงที่กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว หรือ MUFA ต่ำ)
- (2). ทอด (ความร้อนปานกลาง) > น้ำมันรำข้าว +/- น้ำมันถั่วเหลือง (ผสมเพื่อให้ได้โอเมกา-3 เพิ่มขึ้น), คาโนลา, เมล็ดชา
- (3). สลัด > น้ำมันมะกอก, ถั่วเหลือง, รำข้าว
...
ถ้าต้องการประหยัดควรเลือกน้ำมันรำข้าวเป็นหลัก ใช้ได้สารพัด และกินปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อให้ได้โอเมกา-3
ถ้ากินปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอดต่ำกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ควรผสมน้ำมันถั่วเหลืองกับรำข้าว เพื่อให้ได้โอเมกา-3 จากน้ำมันถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น
...
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
...
> Thank Realage; [ 2 ]; [ 3 ]; [ ss.mahidol ]; [ncbi.nlm.nih.gov ]; [ prevention ]; [ Telegraph ]
ที่มา
- นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > > 31 พฤษภาคม 2552.
- ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
ความคิดเห็น
ต้องการขายน้ำมันดอกคาโนล่า น้ำมันพืชเพื่อสุขภาพ ประหยัดเงินประหยัดงบฯ เพื่อนน่าคบของจัดซื้อ
1. สกัดจากธรรมชาติ ไร้สารเคมี ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลระดับโลกต่างๆ เช่น Non GMO, Halal, Kosha และได้รับอนุญาตจาก อย. ประเทศไทยโดยผ่านการทดสอบมาตรฐานจากห้องทดสอบของบริษัท SGS ที่ได้มาตรฐานและการยอมรับผลการทดสอบจาก อย.
2. จุดเกิดควันสูงมาก ทำให้สามารถทอดอาหารที่มีอุณหภูมิสูงได้หลายครั้งโดยไม่เกิดสารที่เป็นอัตรายต่อร่างกาย ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน สีสันของอาหารสวยงาม รสชาติอร่อยอย่างเป็นธรรมชาติ และเป็นการประหยัดรายจ่าย
3. สามารถปรุงอาหารได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นการทอด ผัด ทำน้ำสลัด ทำครีมสลัด ทำมายองเนส ทำเบเกอรี่ ฯลฯ และใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องต่าง ๆ เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง และอาหารขบเคี้ยวต่าง ๆ
4. มีส่วนผสมของกรดไขมันอิ่มตัวน้อยที่สุดเพียง 7% เท่านั้น ซึ่งกรดไขมันอิ่มตัวนี้เองถ้าร่างกายสะสมไว้มาก ๆ จะไปเกาะผนังเส้นเลือดในร่างกายทำให้เกิดเป็นไขมันอุดตันเส้นเลือดซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ต่าง ๆ เช่นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต แสดงว่าน้ำมันคาโนล่าปลอดภัย
5. ไม่มีกรดไขมันทรานส์ที่เกิดจาการใส่สารเคมีบางอย่างลงในไปในน้ำมันพืชเพื่อรักษาระดับคุณภาพตามที่เขาต้องการ แต่สารเคมีนั้นเมื่อเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายของมนุษย์แล้วก่อให้เกิดผลเสียกับร่างกาย
6. มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในหลอดเลือดซึ่งได้แก่ กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดต่าง ๆ เช่น Omega3, Omega6 และ Omega9
7. ภาชนะบรรจุ ขวด 500 มล., 1 ลิตร, 5 ลิตร ปี๊ป 18 ลิตร, 13.75 ลิตร ถัง 200 ลิตร, 1,028 ลิตร แท็งค์ใหญ่, ตู้คอนเทนเนอร์
ติดต่อคุณพล บริษัทซัพพลาย เชน (ประเทศไทย) จำกัด โทร.087-0043210 หรือ 038-574171-3 Email : ruok888@gmail.com