ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #242 : 10 ยอดอาชาในวรรณคดี

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 520
      13
      1 ก.ค. 62

    #วรรณคดีTOPTEN วันนี้ขอเสนอ 10 ยอดอาชานัยในวรรณคดี จะมีม้าตัวไหนที่มีความโดดเด่นจนติดท๊อปเทนของเราบ้างนั้น เราไปดูพร้อมกันเลย let's go++
    .
    .
    .
    .
    .
    1. ม้าสีหมอก (ขุนช้าง-ขุนแผน)
    : ยอดอาชาของขุนแผนแสนสะท้าน เป็นม้าพันธุ์ผสมระหว่างแม่ม้ามะริด + พ่อม้าน้ำ (ม้าอาหรับที่เดินทางผ่านเรือ) มีตัวสีหมอก ตาสีดำ

    เมื่อหลวงศรีวรข่านได้รับคำสั่งให้ import ม้าจากมะริด (Myeikขนกลับมาถึงเพชรบุรี ด้วยความซุกซนทำให้ม้าสีหมอกเที่ยวไล่กัดม้าตัวอื่นๆอยู่เสมอ เมื่อขุนแผนไปพบก็ขอซื้อด้วยราคา 15 ตำลึง แล้วเสกหญ้าให้กิน ม้าสีหมอกจึงเชื่องและติดตามขุนแผนแต่โดยดี
    .
    .
    .
    .
    .
    2. ม้านิลมังกร (พระอภัยมณี)
    ม้าผสมระหว่างพ่อมังกร แม่ม้า มีหัวเป็นมังกร กายเป็นม้า หางเป็นนาค เขี้ยวเป็นเพชร เกล็ดเป็นนิล ลิ้นเป็นปาน กินได้สารพันทั้งกุ้งหอยปูปลา หญ้าใบไม้ รวมถึงคน!!

    โยคีได้สอนมนต์ให้สุดสาครใช้กำราบ จนกลายเป็นพาหนะคู่ใจของสุดสาคร 
    .
    .
    .
    .
    .
    3. ม้าเซ็กเธาว์ (สามก๊ก)
    : ยอดอาชานัยแห่งสามก๊ก มีขนสีแดง สามารถวิ่งได้วันละพันลี้ (520 กม.)

    เดิมเป็นม้าของตั๋งโต๊ะ (Dong Zhuo) ได้มอบให้ลิโป้ (Lu Bu) เพื่อให้ลิโป้ทรยศพ่อบุญธรรม

    ต่อมาลิโป้ถูกประหาร ม้าเซ็กเธาว์จึงอยู่ในมือของโจโฉ (Cao Cao) เมื่อกวนอู (Guan Yu) มาอยู่กับโจโฉระยะนึง โจโฉได้มอบมันให้กวนอู จนเป็นยอดม้าศึกประจำตัวกวนอูในที่สุด

    ภายหลังกวนอูถูกประหาร ม้าเซ็กเธาว์ก็ไม่ยอมกินอะไรและอดตายในที่สุด

    สายพันธุ์ของม้าเซ็กเธาว์นั้น มีผู้สันนิษฐานว่าคือ ม้าเหงื่อโลหิต (Akhal-tekin) ซึ่งตำนานเล่าว่าม้าพันธุ์นี้ยามที่ออกวิ่ง บริเวณแผงคอจะมีเหงื่อไหลออกมาเป็นสีแดงคล้ายเลือด
    .
    .
    .
    .
    .
    4. ม้าเต๊กเลา (สามก๊ก)
    มีขนสีขาว จัดเป็นยอดอาชาไนย แต่จะมอบความซวยแก่เจ้าของ

    ม้าเต็กเลาเดิมเป็นม้าของโจรกบฏ ต่อมาอยู่ในมือของเล่าปี่ (Liu Bei) เล่าปี่ยกให้เล่าเปียว (Liu Biao) แต่ที่ปรึกษาของเล่าเปียวเห็นว่าเป็นม้าพาซวยก็รีบส่งคืนเล่าปี่ทันที

    ม้าเต๊กเลาแม้จะเป็นม้าพาซวย แต่ก็เคยช่วยพาเล่าปี่กระโดดข้ามแม่น้ำหนีการไล่ล่ามาครั้งหนึ่ง

    แต่กระนั้น มันก็ยังเป็นม้าที่พาซวยอยู่ดี! ตอนที่บังทอง ( Pang Tong) และเล่าปี่แยกเข้าตีเสฉวนคนละทาง บังทองเกิดตกม้า เล่าปี่จึงให้สลับม้ากับตน เมื่อบังทองเดินทางมาถึงเนินหงส์ร่วง ก็ถูกซุ่มโจมตีจนตัวเองตาย
    .
    .
    .
    .
    .
    5. ม้ามังกรขาว (ไซอิ๋ว)
    เดิมเป็นองค์ชายสามแห่งทะเลตะวันตก ได้ทำความผิด เผาไข่มุกวิเศษจนต้องโทษประหาร แต่โพธิสัตว์กวนอิมมาช่วย แล้วสั่งให้รอคนที่คุณก็รู้ว่าใครเดินทางมาถึง 

    แต่องค์ชายสามกลับไปแดกม้าของพระถังซัมจั๋ง โพธิสัตว์กวนอิมจึงเปลี่ยนร่างให้เป็นม้าขาวแทน ให้เป็นศิษย์คนที่สองของคณะตี้ 

    ม้ามังกรขาวเคยรบกับปีศาจอยู่หนหนึ่ง คือตอนที่ปีศาจหวงเผาเสกพระถังเป็นเสือหลอกเจ้าเมืองเป่าเซียง พี่ม้าแปลงเป็นนางรำเข้าต่อสู้แต่ก็พ่ายแพ้ จึงเตือนให้โป๊ยก่ายไปตามหงอคงกลับมา

    ต่อมา ม้ามังกรขาวได้บรรลุธรรม และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นม้ามังกรสวรรค์แปดเหล่า (八部天龍馬; Ba Bu Tianlongma)
    .
    .
    .
    .
    .
    6. ม้านิลพาหุ (รามเกียรติ์)
    : เป็นม้าของวิรุญจำบัง ตัวดำปากแดง มีอิทธิฤทธิ์สามารถหายตัวได้

    วิรุญจำบังยกทัพไปช่วยป๋าทศทำศึกกับเฮียราม ร่วมกับท้าวสัทธาสูร ต่อมาท้าวสัทธาสูรเสียทีถูกหนุมานสังหาร วิรุญจำบังก็ควบม้านิลพาหุหายตัวเข้าไปในกองทัพของพระราม ลอบฆ่าพวกไพร่พลลิงตายไปเป็นจำนวนมาก 

    พิเภกจึงแนะนำให้เฮียรามแผลงศรสังหารม้านิลพาหุเสีย 
    .
    .
    .
    .
    .
    7. ม้าอุปการ (รามเกียรติ์)
    เป็นม้าที่ใช้สำหรับพิธีอัศวเมธ (Ashvamedha) (รายละเอียดสามารถดูได้ในตอนที่ 66 : พิธีอัศวเมธ พิธีประกาศความเป็นใหญ่)

    ในรามเกียรติ์ เป็นม้าที่เฮียรามปล่อยเสี่ยงทาย กระทั้งม้าพบกับพระมงกุฎ พระลพ (เด็กเปรต) จนเกิดเป็นเรื่องราวอุรุงตุงนังวุ่นวายและทำให้พ่อลูกได้พบกันในที่สุด
    .
    .
    .
    .
    .
    8. ม้ากะเลียว (สังข์ทอง / พระรถเสน / ขุนช้างขุนแผน)
    : ม้าที่สีเขียวอมดำ ปรากฎตัวอยู่ในวรรณคดีหลายเรื่องด้วยกัน

    ม้ากะเลียวเป็นพาหนะของสังข์ทองตอนตีคลีไฝว้กับพระอินทร์ 
    และยังเป็นพาหนะของพระรถเสนที่ขี่ไปหานางเมรี (แถมยังเป็นคนเตือนพระรถเสนอีกด้วย!) 
    แล้วยังเป็นพาหนะของพลายชุมพลอีกต่างหาก
    .
    .
    .
    .
    .
    9. ม้ามณีกักขิ (สุธนูคำฉันท์)
    เป็นม้าคู่ใจของสุธนุ พูดได้เหาะได้ 

    ครั้งหนึ่งเคยพาสุธนุลอบไปซั่มกับนางจีรัปภาแล้วพาทั้งสองหนี ระหว่างทางหยุดพักที่ศาลาของฆันตารยักษ์ น้องถูกยักษ์จับไป ทำให้สุธนุกับนางจีรัปภาต้องอาศัยเรือสินค้าเดินทางต่อ แต่เรืออับปาง ทั้งคู่ก้พลัดพลาดตามสเต็ป

    ต่อมาสุธนุได้พบธิดากษัตริย์ต่างๆ ซึ่งถูกยักษ์จับมาเป็นบริวารของนางอัญชวดี (น้องสาว) สุธนุจึงใช้เสน่ห์มัดใจเจ๊อัญชวดีเพื่อให้ได้ม้าคืน แล้วชิ่งหนีไปหาจีรัปภา

    ชาดกเรียก มณีกักขะ [รายละเอียดสามารถดูได้ในตอนที่ 103 : สุธนูคำฉันท์ : ก๊อบสมุทรโฆษมาแน่ๆ (เดี๋ยว!)]
    .
    .
    .
    .
    .
    10. ม้ามณีกาบ (กาฬะเกษ)
    : เป็นม้าแก้วคู่บุญของท้าวเกษนุราชสุริวงษ์ กษัตริย์ครองเมืองพาราณสี มีฤทธิ์พูดได้ เหาะได้ 

    ต่อมาท้าวสุริวงษ์ต้องการจะมีบุตรชาย จึงทำพิธีขอลูกกับพระอินทร์ จนมีลูกชื่อว่า กาฬะเกษ

    เมื่อกาฬะเกษโตขึ้น เข้าไปเล่นในโรงม้ามณีกาบและแอบขี่ม้า พี่ม้าได้พาเจ้าชายไปเมืองผีมนต์ ซึ่งเป็นเมืองของท้าวผีมนต์ เจ้าชายกาฬะเกษแอบลอบซั่มนางมาลีจันทน์ (พระธิดา)

    เมื่อท้าวผีมนต์ทราบจึงทำหอกยนต์ดักยิง ก่อนที่เจ้าชายจะสิ้นใจ ได้ห้ามนางมาลีจันทน์เผาศพตน ให้เอาศพใส่แพลอยน้ำไป นางมาลีจันทน์ก็ปฏิบัติตาม จนศพของเจ้าชายกาฬะเกษลอยไปถึงอาศรมฤษี ฤษีจึงชุบชีวิตให้

    เมื่อเจ้าชายฟื้น จึงร่ำเรียนวิชาอาคมเพื่ออัพคลาส เพื่อกลับไปสู้รบกับท้าวผีมนต์จนชนะ ได้นางมาลีจันทน์ และกลับไปครองเมืองพาราสีสืบไป…
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×