ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #49 : ช้างน้ำจากป่าหิมพานต์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.35K
      14
      28 ก.ค. 64

    วารีกุญชร กับ กุญชรวารีนั้นเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ มีรูปร่างเป็นช้างครึ่งปลาทั้งหมด อาศัยอยู่ในทะเลสีทันดร สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้ดี 

    .
    .
    .
    โดยคำว่า “กุญชร” แปลว่า “ช้าง” ส่วนคำว่า “วารี” แปลว่า “น้ำ”

    รวมกันก็แปล่า ช้างน้ำ (ไม่ใช่ฮิปโปนะ ฮา) 

    .
    .
    .
    หลายคนอาจจะสงสัยว่า เอ๋! แล้วไอ้สองตัวนี้มันต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาจัดแบ่งแยกสปีชีล์พวกมันออกด้วยกัน ซึ่งอ้างอิงจากเว็บไซด์หิมพานต์ดอทคอมดังนี้ 

    .
    .
    .

    โดย "วารีกุญชร" นั้นมีร่างกายเกือบทั้งตัวเป็นช้าง แต่จะมีอวัยวะบางส่วนมาจาก สัตว์ประเภทปลาเช่น ครีบบนแผ่นหลัง ครีบเท้า และครีบหาง 


     

    ส่วน "กุญชรวารี" นั้น มีช่วงตัวท่อนแรกเป็นช้าง ช่วงหลังเป็นปลา 

    .
    .
    .

    เรื่องราวของช้างน้ำ หรือ วารีกุญชร ได้ตกเป็นข่าวครึกโครมตามหน้าหนังสือพิมพ์ของไทยครั้งแรก เมื่อกลางปี 2539

    ว่ามีผู้ได้ซากของช้างน้ำมาจากชาวกะเหรี่ยงที่ป่าชายแดนไทย-พม่า โดยซากของช้างน้ำนี้ เป็นสิ่งที่มีลักษณะคล้ายช้าง แต่มีขนาดเล็กจิ๋วจนสามารถวางบนฝ่ามือได้ เมื่อนำไปเอ็กซ์เรย์แล้ว พบว่าภายในมีโครงกระดูกต่าง ๆ เหมือนช้างจริงไม่มีผิด ซึ่งในเรื่องนี้ก็ได้มีหลายบุคคลออกมายืนยันว่า ช้างน้ำเป็นสัตว์ที่มีอยู่จริง เช่น พระภิกษุชาวไทยรูปหนึ่งอ้างว่าขณะที่ไปธุดงค์ปักกลดในป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

    โดยเป็นสัตว์ในตำนานของชาวกะเหรี่ยง เชื่อกันว่า ช้างน้ำเป็นสัตว์วิเศษที่สัตว์ใหญ่ยังหวาดกลัว หากผู้ใดครอบครองซาก เมื่อเข้าป่าก็จะปลอดภัย สัตว์ป่าดุร้ายจะไม่มาคุกคาม

    จนกระทั่งในต้นปี พ.ศ. 2552 ช้างน้ำก็กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง เมื่อผู้ใหญ่บ้านที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้เปิดเผยว่ามีทหารกะเหรี่ยงพุทธนำซากช้างน้ำมาขาย โดยเชื่อว่าหากนำมาขายที่ฝั่งไทยแล้ว จะมีราคาสูงถึง 3-5 ล้านบาท ผู้ที่ซื้อส่วนใหญ่ซื้อมาเก็บไว้เป็นสิริมงคล 
     

    อย่างไรก็ตามในวันที่ 2 กันยายน ปีเดียวกันนี้ นายวราวุธ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ได้กล่าวว่า ถึงกรณีชาวบ้าพบสัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายช้างขนาดเล็กว่า

    แต่เมื่อพิจารณาดูภาพฟิล์มเอ็กซเรย์ พบว่าโครงร่างโดยรวมมีลักษณะเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกกัดแทะที่เรียกว่า โรเดนท์ (Rodent) เช่น หนู กระรอก หรือบีเวอร์ โดยเฉพาะส่วนหัว บริเวณกรามล่าง ใต้งา จะเห็นชัดเจนเลยว่าฟันมีลักษณะเป็นซี่ มีฟันหน้าที่ยื่นยาวออกไป รวมถึงโครงกระดูกส่วนอื่นนั้นก็มีลักษณะแตกต่างจากของช้างโดยสิ้นเชิง 

    คาดว่าน่าจะเป็นซากสัตว์จำพวกหนูแล้วไปต่อเติมงวงและเสียบงาเข้าไปภายหลัง 

    ส่วน รองศาสตราจารย์สมโภชน์ ศรีโกสามาตร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า อาจเป็นสัตว์จำพวกหนูผี เนื่องจากตรงที่ฟันมีลักษณะเป็นซี่แหลมยื่นออกมา และที่บริเวณขาและเท้ามีลักษณะยาว เห็นนิ้วเท้าเป็นซี่ 4-5 นิ้ว และมีเล็บ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×