A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การเจ็บครรภ์คลอด

เขียนโดย A Rai Naa >>>

การเจ็บครรภ์คลอด

ความเจ็บปวดเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เนื่องจากมีความสัมพันธ์ทางจิตใจ อารมณ์ และร่างกาย สามารถอธิบายได้ดังนี้

ทฤษฎีความเจ็บปวด

ทฤษฎีควบคุมประตู (Gate control theory) ของ Melzack and wall ได้กล่าวว่า กลไกการปิดเปิดประตูมีความเกี่ยวข้องกับการส่งผ่าน พลังประสาทของความเจ็บปวดจากส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งจะถูกปรับสัญญาณในระดับไขสันหลังก่อนส่งขึ้นไปรับรู้ความเจ็บปวดในระดับสมอง ดังนั้น เมื่อประตูปิดการส่งผ่านของพลัง ประสาทความเจ็บปวดจะถูกยับยั้ง ความเจ็บปวดจะไม่ถึงระดับที่ทำให้รู้สึกถึงความเจ็บปวด แต่ถ้าประตูเปิดจะมีความเจ็บปวด และหากประตูเปิดเพียงบางส่วนจะมีความเจ็บปวดน้อยลง

การส่งพลังประสาทความเจ็บปวดไปยังสมองทำได้ 3 ทาง

  1. การทำงานของใยประสาทการรับรู้ของใยประสาทขนาดใหญ่และขนาดเล็ก มีกลไกการปรับสัญญาณอยู่ในระดับไขสันหลังบริเวณ substantia gelationosa โดยพลังประสาทจากใยประสาทขนาดเล็กจะทำหน้าที่เปิดประตูส่วนพลังประสาทจากใยประสาทขนาดใหญ่ (อยู่บริเวณใต้ผิวหนัง) จะทำหน้าที่ปิดประตู การลูบ นวด หรือที่ผิวหนังจึงลดความเจ็บปวดได้
  2. การส่งสัญญาณจากเรติคูลาร์ฟอร์เมชั่นในก้านสมอง มีการปรับสัญญาณที่เข้าและออกรวมทั้ง ปริมาณความรู้สึกของพลังประสาทนำเข้าสู่สมองจากส่วนต่างๆของร่างกายให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะถ้าพลังประสาทนำเข้าไม่ว่าจะเป็นทางหูทางตามีจำนวนมากขึ้นระบบการทำงานของเรติคูลาร์ก็จะมีการยับยั้งเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้ประตูปิดไม่มีการส่งผ่านพลังประสาทความเจ็บปวดไปถึงระดับการรับรู้ที่เปลือกสมองจึงไม่มีความเจ็บปวด เช่น การเบี่ยงเบนความสนใจอาจยับยั้งความเจ็บปวดได้ ส่วนความเบื่อ ความจำเจทำให้ความเจ็บปวดเพิ่ม
  3. การส่งสัญญาณจากเปลือกสมองและธาลามัส พลังประสาทในระดับนี้ทำงานเกี่ยวข้องกับกระบวนการสติปัญญา (Cognitive) และความรู้สึกหรืออารมณ์ (affective) ดังนั้น ความรู้สึกนึกคิดของ แต่ละคนจะมีอิทธิพลต่อการส่งผ่านของพลังประสาทความเจ็บปวดที่มาจากระบบควบคุมประตูไปยังระดับสมองเพื่อการรับความรู้สึกและความคิดของบุคคล เช่น ความเชื่อของบุคคล ความวิตกกังวล ประสบการณ์ความเจ็บปวดในอดีต

ทฤษฎีการเริ่มต้นเจ็บครรภ์ (Theories of labor onset)

  1. Oxytocin stimulation theory ระยะท้ายของการตั้งครรภ์ oxytocin เพิ่มขึ้นและเพิ่มสูงสุดระยะที่ 2 ของการคลอด ทำให้มดลูกหดรัดตัว
  2. Prostaglandin theory ระยะใกล้คลอด prostaglandin เพิ่มสูงทำให้มดลูกหดรัดตัว
  3. Estrogen stimulation theory เมื่อครรภ์ครบกำหนด estrogen เพิ่มขึ้น ทำให้มดลูกหดรัดตัวและเพิ่มการสังเคราะห์ prostaglandin
  4. Progesterone withdrawal theory ใกล้คลอด progesterone ลดลงทำให้มดลูกหดรัดตัว ***ออกสอบ
  5. Fetal cortisol theory เมื่อทารกในครรภ์โตเต็มที่ adreno corticotropic hormaone จะกระตุ้นต่อมหมวกไตให้สร้าง cortisol มากขึ้น มีผลให้มดลูกหดรัดตัว
  6. Uterine stretch theory เมื่อครรภ์ครบกำหนด มดลูกจะยืดถึงขีดสุด เกิด depolarization ทำให้มดลูกหดรัดตัว
  7. Pressuretheory การเคลื่อนต่ำของส่วนนำของทารกจะกระตุ้นตัวรับรู้ความดันที่บริเวณมดลูกส่วนล่าง ส่งสัญญาณไปที่ต่อมใต้สมองให้หลั่ง oxytocin ทำให้มดลูกหดรัดตัว
  8. Placental aging theory หลังอายุครรภ์ 40 สัปดาห์ การไหลเวียนเลือดบริเวณรกลดลง ทำให้รกเสื่อม และผลิต progesterone ลดลง
  9. Changes in the estrogen/progesterone ratio ระยะต้นๆ ของการตั้งครรภ์มี progesterone มาก กระตุ้น beta-receptor ทำให้มดลูกคลายตัว ระยะท้ายของการตั้งครรภ์ estrogen เพิ่มสูงขึ้น กระตุ้น alpha-receptor ทำให้มดลูกหดรัดตัว

สาเหตุของความเจ็บปวดในระยะคลอด

  1. การขาดออกซิเจนของกล้ามเนื้อมดลูก
  2. การยืดขยายของปากมดลูก กล้ามเนื้อพื้นเชิงกราน และฝีเย็บ
  3. แรงกดดันของส่วนนำของทารกต่อปากมดลูก ช่องคลอด บางส่วนของท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ และทวารหนัก

ปฏิกิริยาและการตอบสนองต่อความเจ็บปวดในระยะคลอด

ด้านมารดา

  1. ปฏิกิริยาเฉพาะที่ มดลูกหดรัดตัวปล่อย prostaglandin กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวด เนื้อเยื่อหลั่งสาร bradykinin และ histamine ทำให้มดลูกไวต่อความเจ็บปวด
  2. ระดับไขสันหลัง มี reflex ทำให้กล้ามเนื้อลายและหลอดเลือดหดตัว เกิด hypoxia ส่งผลให้เกิด anaerobic metabolism ส่งผลให้เกิด lactic acid และ local acidosis ทำให้เจ็บปวดกล้ามเนื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่ายลดลง
  3. ระดับเหนือไขสันหลัง พลังประสาทกระตุ้น autonomic center ในไฮโปธาลามัสเร่งการทำงานของประสาทซิมพาเธติคให้หลั่ง epinephrine เพิ่มขึ้นส่งผลให้ อัตราการเต้นของหัวใจอัตราการหายใจและความดันโลหิตสูงขึ้น หลอดเลือดส่วนปลายหดตัว ปลายมือปลายเท้าเย็น คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก ขนลุก ถ้าเจ็บมากและเจ็บนาน จะกระตุ้นการทำงานของพาราซิมพาเธติคส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตลดลง หลอดเลือดส่วนปลายขยายตัว อาจทำให้ช็อค
  4. ระดับเปลือกสมอง

4.1  ปฏิกิริยาทางจิต

-         เร้าอารมณ์ ทำให้วิตกกังวล กลัว เศร้า โกรธ

-         เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านอารมณ์ อารมณ์เปลี่ยนแปลงจากปกติ หงุดหงิด โมโหง่าย ไม่มีสมาธิ กระสับกระส่าย จดจำข้อมูลไม่ได้ ถอยหนี แยกตัว ถดถอยเข้าสู่วัยที่ต่ำกว่า ท่าทีหมดหวัง ถือเอาตัวเองเป็นหลัก

-         เปลี่ยนแปลงแบบแผนการดำเนินชีวิต เบื่ออาหาร นอนไม่พอ เหนื่อยล้า ความอดทนลดลง

4.2  ปฏิกิริยาทางจิตสรีระ ได้แก่ พฤติกรรมด้านน้ำเสียง ด้านการเคลื่อนไหว

ด้านทารกในครรภ์

ขณะเจ็บครรภ์ เกิด fetal distress ทารกชดเชยโดยการเพิ่ม cardiac output ถ้าขาดออกซิเจนนานอัตราการเต้นของหัวใจทารกมีภาวะ late deceleration สมองของทารกอาจได้รับความกระทบกระเทือนจากการหดรัดตัวของมดลูก

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น