gb-15252
ดู Blog ทั้งหมด

โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส

เขียนโดย gb-15252
เริ่มที่จมูกและปาก อากาศเมื่อผ่านเข้ารูจมูกแล้วจะผ่านเข้าสู่โพรงจมูก ที่โพรงจมูกมีขนเส้นเล็กๆและต่อมน้ำมันช่วยในการกรองและจับฝุ่นละอองไม่ให้ผ่านลงสู่ปอด คอหอยเป็นบริเวณที่พบกันของช่องอากาศจากจมูก ช่องอาหารจากจากปาก กล่องเสียงจากหลอดลมคอ หลอดอาหารและจากช่องหูคือหลอดยูสเทเชียน (eustachian tube)  อากาศเมื่อผ่านคอหอยจะเข้าสู่กล่องเสียง ที่กล่องเสียงมีอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการปิดเปิดกล่องเสียงเรียกว่าเอพิกลอทติส (epiglottis) ป้องกันไม่ให้อากาศตกลงสู่หลอดลมคอ ที่กล่องเสียงมีเยื่อเมือกที่มีใยเอ็นยืดหยุ่นได้ เรียกว่า เส้นเสียง (vocal cord) เมื่อลมผ่านกล่องเสียงทำให้เส้นเสียงสั่นและเกิดเป็นเสียงขึ้น
จากนั้นอากาศจึงเข้าสู่หลอดลมคอ หลอดลมคอเป็นท่อกลวงที่มีผนังแข็งและหนาเพราะประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปเกือกม้าเรียงตัวกันเป็นหลอดทำให้หลอดลมคอไม่แฟบ หลอดลมคอของผู้ใหญ่ยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร โดยเริ่มจากกระดูกคอชิ้นที่ 6 จนถึงกระดูกอกชิ้นที่ 5 แล้วจึงแตกแขนงเป็นหลอดลมซ้ายขวาเข้าสู่ปอดซ้ายขวาอีกที่หนึ่  หลอดลมเป็นส่วนที่แตกแขนงแยกจากหลอดลมคอ แบ่งเป็น 2 กิ่ง คือซ้ายและขวาโดยกิ่งซ้ายจะเข้าสู่ปอดซ้ายและกิ่งขวาจะเข้าสู่ปอดขวาพร้อมเส้นเลือดและเส้นประสาทซึ่งเข้าสู่ปอดทั้งสองข้างด้วย
ซึ่งจะแตกแขนงเล็กลงไปเรื่อยๆ เรียกว่า หลอดลมฝอย (bronchiole) 
         
หลอดลมฝอยหรือบรอนคิโอลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. เทอร์มินอลบรอนคิโอล (terminal bronchiole) เป็นท่อที่เเยกออกจากหลอดลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 มิลลิเมตรพบกล้ามเนื้อเรียบ และเยื่ออีลาสติกไฟเบอร์ (elastic fiber) เป็นองค์ประกอบของผนังของเทอร์มินอลบรอนคิโอลแต่ไม่พบโครงสร้างที่เป็นกระดูกอ่อน
2. เรสไพราทอรีบรอนคิโอล (respiratory bronchiole) เป็นส่วนแรกที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สเนื่องจากผนังพองออกเป็นถุงลมย่อยซึ่งจะพบส่วนที่อยู่ท้ายๆ และจะมีมากกว่าส่วนที่อยู่ติดกับเทอร์มินอลบรอนคิโอล
ท่อถุงลม (alveolar duct) เป็นท่อส่วนท้ายของส่วนที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊ส (respiratory division) ซึ่งไปสิ้นสุดที่ถุงลม (alveolar sac)
ถุงลมและถุงลมย่อย (alveolar sac and pulmonary alveoli) ถุงลมเป็นช่องว่างที่ถุงลมย่อยหลายๆมาเปิดเข้าที่ช่องว่างส่วนนี้ส่วนถุงลมย่อยมีลักษณะเป็นถุงหกเหลี่ยมมีเซลล์พิเศษหลั่งสารพวกฟอสโฟลิปิดเรียกว่าเซอร์แฟกแทนต์ (Surfactant) เข้าสู่ถุงลมย่อยเพื่อลดแรงตึงผิวของถุงลมย่อยทำให้ไม่ติดกันเมื่อปอดแฟบเวลาหายใจออกผนังของถุงลมย่อยที่อยู่ติดกันจะรวมตัวกันเป็นอินเตอร์อัลวิโอลาร์เซปตัม (Interalveolar septum) ซึ่งมีเส้นเลือดฝอยอยู่ภายในโดยถุงลมย่อยแต่ละถุงจะมีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยง ประมาณ 1,000 เส้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงมากที่สุดในร่างกายนอกจากนี้ยังมีรูซึ่งเป็นช่องว่างติดต่อระหว่างถุงลมย่อยทำให้อากาศภายในถุงลมย่อยมีแรงดันเท่ากันทั้งปอดทั้งถุงลมและถุงลมย่อยจะรวมเรียกว่าถุงลมปอด
ปอดทั้งสองข้างมีถุงลมปอดประมาณ 300 ล้านถุง ปอดเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการหายใจ ปอดตั้งอยู่ภายในทรวงอก มีปริมาตรประมาณ 2 ใน 3 ของทรวงอก ปอดขวาจะสั้นกว่าปอดซ้าย เนื่องจากตับซึ่งอยู่ด้านล่างดันขึ้นมาส่วนปอดซ้ายจะแคบกว่าปอดขวา เพราะมีหัวใจแทรกอยู่ ปอดมีเยื่อหุ้มปอด (Pleura) 2 ชั้น ชั้นนอกติดกับผนังช่องอก เรียกว่า พาเรียทัลพลิวรา (Parietal pleura) ชั้นในติดกับผนังของปอดเรียกว่า วิสเซอรอลพลิวรา (Visceral pleura) ระหว่างเยื่อทั้งสองชั้นมีของเหลวที่เรียกว่า พลิวรอลฟลูอิด (Pleural fluid) เคลือบอยู่ การแฟบและขยายของปอดจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของอากาศที่เข้าสู่ร่างกายซึ่งทำให้ร่างกายได้รับแก๊สออกซิเจนและถ่ายเทแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกตามที่ร่างกายต้องการ







































Get this widget | Track details | eSnips Social DNA

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุนมากค่า


เนื้อหาดีมากเลย

giupocp&j
ความคิดเห็นที่ 2
Thank จ้า
buktua
buktua 9 ส.ค. 53 / 15:12
ขอบคุณค๊าบ
ความคิดเห็นที่ 4
ครบที่ไหนข้อมูล
ความคิดเห็นที่ 5
แต๊งๆๆๆๆ
ความคิดเห็นที่ 6
ต๋องพ่อพีเจ้น
ความคิดเห็นที่ 7
ขอบคุณมากค่ะ