gb-15252
ดู Blog ทั้งหมด

กระดูกและกล้ามเนื้อ

เขียนโดย gb-15252
ระบบหายใจจะทำงานได้ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆร่วมกันคือ กระดูก และกล้ามเนื้อ
1.
กระดูก (bone) กระดูกที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจประกอบด้วย
1.1
กระดูกสันหลังส่วนนอก (thoracic vertebrae) ซึ่งเป็นกระดูกที่เป็นที่เกาะของกระดูกซี่โครง โดยกระดูกสันหลังส่วนนอกมีทั้งหมด 12 ชิ้น
1.2
กระดูกซี่โครง (ribs) กระดูกซี่โครงมีทั้งหมด 24 ชิ้น (12 คู่ ) ข้างละ 12 ชิ้นกระดูกซี่โครคู่ที่ 1-7 จะโค้งจากระดูกสันหลังตอนอกมาเกาะกับกระดูกอกทางด้านหน้าเรียกว่าทรูริบส์ (true ribs)กระดูกซี่โครงคู่ที่ 8-10 เชื่อมต่อกันและไปเชื่อมกับกระดูกอ่อนของกระดูกซี่โครงที่อยู่ข้างบน กระดูกซี่โครงคู่ที่ 11-12 จะไม่มีกระดูกอ่อนและไม่มีการเชื่อมต่อกับกระดูกใด ๆ เรียกว่า กระดูกซี่โครงลอยหรือ โฟลติงริบส์ (Floating ribs)
1.3
กระดูกอก (sternum) เป็นกระดูกที่อยู่ทางด้านหน้าของลำตัว มีรูปร่างแบนตรง ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร โดยเริ่มจากบริเวณส่วนล่างของคอลงมาจนถึงส่วนบนของช่องท้องมีกระดูกซี่โครงมาเชื่อมต่อ 7 คู่ส่วนปลายด้านล่างของกระดูกเป็นกระดูกอ่อนยื่นออกมา เรียกว่าไซฟอยด์โพรเซสส์ (xiphoid process)
กระดูกต่าง ๆ เหล่านี้เชื่อมต่อกันเป็นโครงร่างของกระดูกส่วนอก เรียกว่า กล่องอก (thoracic cage)
2.
กล้ามเนื้อ (muscle) กล้ามเนื้อที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการหายใจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
2.1
กล้ามเนื้อหายใจเข้า (inspiratory muscle) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อสำคัญคือ
2.1.1
กล้ามเนื้อกระบังลม (diaphragm) มีความสำคัญที่สุด อากาศที่หายใจเข้าประมาณร้อยละ 75 เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อนี้ ขณะที่หายใจออกกล้มเนื้อกระบังลม มีลักษณะเป็นรูปโดม และเมื่อหายใจเข้ากล้ามเนื้อกระบังลมจะลดตัวต่ำลงเพิ่มขนาดของช่องอกในแนวตั้งให้มากขึ้น และยังช่วยดันให้ซี่โครงส่วนล่างเคลื่อนที่ขึ้นด้วยขณะที่หายใจแบบปกติ กล้ามเนื้อกระบังลมจะเคลื่อนตัวต่ำลง 1-2 เซนติเมตร แต่ถ้าหายใจเข้าเต็มที่กล้ามเนื้อกระบังลมอาจเคลื่อนตัวต่ำลงได้ถึง 10-12 เซนติเมตร เส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อกระบังลม คือ ประสาทเฟรนิก (phrenic nerve) ถ้าหากเส้นประสาทนี้ถูกทำลาย ทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมทำงานไม่ได้และเป็นอัมพาต
2.1.2
กล้ามเนื้อยึดซี่โครงด้านนอก (external intercostals muscle) มีความสำคัญน้อยกว่ากล้ามเนื้อกระบังลม โดยเมื่อหดตัวจะทำให้อากาศไหลเข้าปอดได้ประมาณร้อยละ 25 การหดตัวของกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงด้านนอก ทำให้กระดูกซี่โครงทางด้านหน้าเคลื่อนขึ้นด้านบนและออกไปทางด้านหน้าทำให้เพิ่มขนาดของช่องอกทางแนวนอน เส้นประสาทที่มาเลี้ยงคือ เส้นประสาทระหว่างซี่โครง (intercostals nerve)
2.2
กล้ามเนื้อหายใจออก (expiratory muscle) ในการหายใจธรรมดาไม่จำเป็นต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อ แต่อาศัยการคืนตัวกลับของปอดโดยปอดหดตัวกลับและเกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการหายใจเข้า แต่ถ้าหากมีการหายใจออกมากกว่าธรรมดา จะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อหายใจออก คือกล้ามเนื้อหน้าท้อง (abdominal muscle) ซึ่งจะไปดันกล้ามเนื้อกระบังลมขึ้นทำให้ช่องอกแคบลง นอกจากนี้ยังมีความสำคัญและจำเป็นในการไอ จาม อาเจียน เบ่งปัสสาวะและอุจจาระ การหดตัวของกล้ามเนื้อยึดซี่โครงด้านใน (internal intercostals muscle) ก็ทำให้ซี่โครงลดต่ำลงทำให้เกิดการหายใจออกเช่นกัน


กระดูกอก


กล้ามเนื้อกระบังลม





































Get this widget | Track details | eSnips Social DNA

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลทำรายงาน อิอิ
ความคิดเห็นที่ 2
อิ๊มู๋ปังปอนด์-อ่ะฮึ้ยๆๆ ขอบคุลน่ะค่ะสำหรับข้อมูลนิ๊แบบว่ามีประโยชน์ก่ะงานแก้0 เราจิ๊งๆๆๆ
ความคิดเห็นที่ 3
ดแด่เวาวนาเ
ความคิดเห็นที่ 4
ไหลพ่อน๊อต
ความคิดเห็นที่ 5
ขอบคุณมากค่ะ^^
ความคิดเห็นที่ 6
ขอบคุณมากคับ