orishim
ดู Blog ทั้งหมด

ภาคอีสาน

เขียนโดย orishim

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาคอีสาน

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ประกอบด้วย 19 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย

ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และ อุบลราชธานี มีพื้นที่ประมาณ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ภูมิประเทศทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจากภาคกลางอย่างชัดเจน

 

ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคอีสาน

ที่ตั้งตามละติจูด  

ภาคอีสานอยู่ระหว่างละติจูดประมาณ 14 องศา 8 ลิปดา 18ลิปดาเหนือ ( บริเวณเขาใหญ่ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ) ถึง 18 องศา 26 ลิปดา 33 ลิปดาเหนือ ( อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ) จัดว่าอยู่ในเขตละติจูดต่ำอุณหภูมิจึงสูง สถิติจากสถานีตรวจอากาศที่มีอยู่ ไม่มีเดือนใดที่อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 18˚ ซ แม้แต่จังหวัดเลยซึ่งมีสถานีอากาศอยู่เหนือสุดของภาคมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 3 ด้าน คือ

                ทิศเหนือ และตะวันออก  ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   โดยมีแม่น้ำโขงและสาขาของแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดนจากจังหวัดเลยถึงจังหวัดอุบลราชธานี   ยาวประมาณ 800 กิโลเมตร  และต่อไปตอนล่างของจังหวัดอุบลราชธานีแบ่งเขตกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตามแนวสันปันน้ำของภูแดนเมือง  ซึ่งเป็นสันเขาที่ปันน้ำทางด้านตะวันตกไหลลงสาขาของแม่น้ำมูล   ทางด้านตะวันออกจะเป็นสาขาของแม่น้ำโขงในเขตจำปาศักดิ์

                ทางทิศใต้ของภาคอีสานจะติดต่อกับเขมรประชาธิปไตย   โดยมีเส้นเขตแดนต่อเนื่องมาจากพรมแดนไทยและลาวทางด้านตะวันออกของภาค คือเมื่อพรมแดนไทย  ลาวซึ่งถือตามแนวของภูแดนเมืองมาบรรจบกับสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรักซึ่งเป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำเซลลำเภาจุดนี้เองที่เป็นจุดรวมของพรมพรมแดนไทยและลาว และเขมร   เรียกว่าช่องบก

 

 

 

  

 

(ลักษณะจะคล้ายกับที่บริเวณสบรวกในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจุดร่วมของพรมแดนไทย ลาว และพม่า) เขตอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี แล้วแนวพรมแดนจะต่อไปตามแนวสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรัก แล้วลงใต้จนถึงจังหวัดตราด ในภาคตะวันออก

ทิศตะวันตกของภาคอีสาน  เป็นเพียงด้านเดียวของภูมิภาคนี้ที่ติดต่อกับภูมิภาคที่อยู่ในประเทศเดียวกัน คือ มีอาณาเขตติดต่อกับภาคกลาง  โดยมีแนวเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวแบ่งแยกออกจากบริเวณที่ราบภาคกลางอย่างชัดเจน

ลักษณะภูมิประเทศของภาคอีสาน เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างทางธรณีวิทยาและสภาพภูมิประเทศที่ปรากฏภาคอีสาน แบ่งออกเป็น 5 เขต คือ

 

1. เขตเทือกเขาและที่สูงด้านตะวันตก ได้แก่ พื้นที่บริเวณของจังหวัดเลย ตะวันตกของจังหวัดหนองคาย  ตะวันตกของจังหวัดอุดรธานี ตะวันตกของจังหวัดขอนแก่น ตะวันตกของจังหวัดชัยภูมิ  และตะวันตกของจังหวัดนครราชสีมา  ความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500 ถึง 1000 เมตร ลักษณะทิวเขาสูงเป็นแนวเห็นเด่นชัดจากเหนือลงมาใต้ ตอนบนคือ ทิวเขาเพชรบูรณ์ 1 อยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำปาสัก รวมความยาวตลอดทิวเขาประมาณ 236 กิโลเมตร

บริเวณ เทือกเขา และที่สูงด้านตะวันตกนี้มีโครงสร้างทางธรณีวิทยาสลับ ซับซ้อนผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกมากที่สุด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วยหินหลายๆชุด แต่ที่สำคัญที่สุดคือหินชุดโคราชซึ่งประกอบด้วยหินดินดาน หินทรายแป้ง หินทราย และหินกรวดมนสีแดงหรือสีน้ำตาลแดง หินชุดโคราชปกคลุมอยู่ทั่วบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แม่น้ำที่เกิดจากทิวเขาและที่สูงด้านตะวันตก ทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลาย ๆ สาย ดังนี้

แม่น้ำที่เกิดจากทิวเขาเพชรบูรณ์

                1. แม่น้ำเลย

                2. แม่น้ำพอง

                3. แม่น้ำเชิญ

                4. แม่น้ำพรม

                5. แม่น้ำชี

                6. แม่น้ำลำดันฉู

 

 

แม่น้ำที่เกิดจากทิวเขาดงพญาเย็นด้านตะวันออกและด้านเหนือของทิวเขาที่ไหลผ่านตะวันออกเฉียงเหนือ  ดังนี้

                                1. ลำน้ำเชิงไกร

                                2. ลำน้ำตะคอง

 

2. เขตเทือกเขาและที่สูงด้านใต้ เขตนี้มีบริเวณที่แคบกว่าเขตเทือกเขา และที่สูงด้านตะวันตก อยู่ทางตอนใต้สุดของภาค ตอนใต้ของจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ  และอุบลราชธานี  ประกอบด้วยทิวเขาสันกำแพง และทิวเขาพนมดงรัก ลักษณะทิวเขาเป็นแนวผาชัน ยกตัวสูงจากที่ราบต่ำในประเทศเขมร

                แม่น้ำที่เกิดจากทิวเขาสันกำแพงและพนมดงรัก แม่น้ำ ที่เกิดจากทิวเขาสันกำแพงและพนมดงรัก จะไหลลงสู่แม่น้ำมูลในแนวเหนือและใต้ ขนานกันลงสู่แม่น้ำมูล

                แม่น้ำที่เกิดจากทิวเขาสันกำแพงเฉพาะทางด้านเหนือเท่านั้นที่จะไหลลงสู่ลำน้ำห้วยต่าง ๆ

( ทางด้านใต้จะไหลไปทางทิศตะวันออก ) ที่สำคัญคือ

1. ลำน้ำพระเพลิง

2.แม่น้ำมูล

 

แม่น้ำที่เกิดจากทิวเขาพนมดงรัก เฉพาะลำน้ำทางด้านเหนือของทิวเขาสันกำแพงไหลมาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1. ลำปลายมาศ

2.  คลองนางรอง

3.  ลำชี

4.  ห้วยขะยูง

5.  ลำโคมใหญ่

6.  ลำโคมน้อย

 

  

 

3. แอ่งโคราช เขตนี้มีบริเวณกว้างขวางมากที่สุด ปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งแต่ตะวันออกของนครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ตะวันตกของกาฬสินธุ์ ตะวันตกของยโสธร ตะวันตกของอุบลราชธานี และดินแดนส่วนใหญ่ ของบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของ ลุ่มแม่น้ำมูล และแม่น้ำชี และสาขาของแม่น้ำทั้งสองสาย 3 ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกฟูกเอียงลาดจากขอบสูงของบริเวณเทือกเขา และที่สูงจากด้านตะวันตกและด้านใต้ นอกจากนั้นด้านตะวันออกและด้านเหนือยังเป็นแนวของเทือกเขาภูพานอีกด้วยทำให้พื้นที่ตรงส่วนกลางเป็นแอ่งต่ำ การระบายน้ำไม่ดี น้ำไหลช้า

 

4. เขตเทือกเขาภูพาน เริ่มตั้งแต่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดอุบลราชธานี

เขตอำเภอพิบูลมังสาหาร ผ่านโขงเจียมตอนเหนือของอำเภอตะการพืชผล อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอสหัสขันธ์  จังหวัดกาฬสินธุ์ ไปจนถึงอำเภอวาริชภูมิ และอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

                แม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำมูลซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเทือกเขาภูพาน คือ

1 ลำปาว

2 ลำเซ

3 ห้วยเซบก

4 แม่น้ำยัง

ส่วนทางด้านเหนือของทิวเขาภูพาน ลำน้ำไหลลงสู่แม่น้ำโขงสายที่สำคัญคือ

1. แม่น้ำสงคราม

2. ห้วยน้ำก่ำ

 

5. เขตแอ่งสกลนคร  ได้แก่บริเวณตอนเหนือของเทือกเขาภูพานขึ้นไปจนจดแม่น้ำโขง จัดได้ว่าเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ของประเทศไทย  ดินส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบทั้งหมด ประกอบด้วยหินทราย ทำให้เนื้อดินของภาคนี้มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะ

                                1. หินทรายมักจะประกอบด้วยแร่ควอท ซึ่งชาวบ้านเรียกหินเขี้ยวหนุมาน หรือ     โป่งขาม เมื่อสลายตัวกลายเป็นดิน จะไม่สามารถดูดซับแร่ธาตุที่เป็นอาหารของพืชไว้ได้ และตัวของมันเองเมื่อสลายตัวก็ไม่มีธาตุอาหารแก่พืช

               

 

 

                                2. ดินทรายมีช่องว่างระหว่างเม็ดดินกว้าง ทำให้สามารถระบายน้ำได้ดี มความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำกว่าดินเหนียวมาก

                                3. การระบายน้ำได้ดีของดินทำให้ขบวนการชะล้างสารที่เป็นอาหารของพืชลงไปสู่ดินชั้นล่างอย่างรวดเร็ว

                                4. การไถคราดเพื่อทำนาในดินทราย ทำให้ดินตกตะกอนจับกันแน่นเนื่องจากดินขาดอินทรียวัตถุ อากาศในดินน้อยมาก ขาดสิ่งมาชีวิตในดินที่ทำให้ดินร่วนซุยรากพืชแผ่กระจายได้น้อยมาก

สภาพภูมิอากาศ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับร้อนแห้งแล้งหรือทุ้งหญ้าเมืองร้อน ในช่วงฤดูร้อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัฒนาจากมหาสมุทรอินเดียนำฝนมาตก ซึ่งฝนที่ตกจะมีปริมาณไม่มากนัก เพราะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเขตเงาฝน คือ อยู่ในบริเวณด้านหลังของภูเขามีฝนตกน้อย ฝนที่มีปริมาณมากของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักจะมากับพายุดีเปรสชั่น ถ้าปริมาณพอเหมาะจะทำให้ได้ปริมาณน้ำเพียงพอ แต่ถ้ามากหรือน้อยเกินไปจะเกิดปัญหาน้ำท่วมหรือแห้งแล้งได้

       อุณหภูมิ ในช่วงฤดูร้อนอากาศจะร้อน แต่ในฤดูหนาวเย็น เป็นผลมาจากแผ่นดินที่กว้างใหญ่ที่มีลักษณะเป็นที่ราบสูงอยู่ห่างไกลจากทะเล มีพิสัยของอุณหภูมิแตกต่างกัน 

20-30 องศาเซลเซียส เฉลี่ยอุณหภูมิในฤดูร้อนอุณหภูมิสูงสุด 43.9 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวต่ำกว่า 0.1 องศาเซลเซียส

ปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 600-2000 มิลลิเมตร เขตที่ฝนตกชุกคือบริเวณทางตะวันออกของภาค เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร อุบลราชธานี เพราะมีโอกาสได้รับพายุดีเปรสชั่นมากกว่าเขตอื่นส่วนที่ได้รับผลน้อย คือ ด้านหลังของเทือกเขาสันกำแพง ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ และนครราชสีมา ซึ่งประมาณน้ำฝนถือว่ามีมากกว่าบางภาคของไทย แต่แห้งแล้งเพราะดินไม่อุ้มน้ำ อัตราการระเหยของน้ำสูงกว่าเขตอื่น

     

 

 

 

 

       ฤดูกาลของภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ

ฤดูฝน เริ่มประมาณปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายน สิ้นสุดเดือนตุลาคม

ส่วนใหญ่เป็นฝนที่มากับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณมากครับ อ่านที่นี่แห่งเดียวได้ครบ
ทำได้ดีด้วย นับถือ
ความคิดเห็นที่ 2
รบกวนเปลี่ยนสีตัวหนังสือให้หน่อยนะครับ
เนื้อหาดีแล้วครับ
minped
minped 8 ม.ค. 55 / 20:24
 ถ้าว่างจะทำให้จร้า พอดีมาทำงานแล้วไม่มีคอมใช้
minped
minped 8 ม.ค. 55 / 20:25
 ขอบคุณคุณ  พระมหาชนินทร์  ที่ติดตามค่ะ 
ความคิดเห็นที่ 5
เปลี่ยนเป็นสีชมพูก็ดีน่ะ
ความคิดเห็นที่ 6
เนื้อหาดีแล้วค่ะแต่น่ามีรูปประกอบด้วย
ความคิดเห็นที่ 7
กด Ctrl+A ตัวหนังสือจะกลายเป็นสีขาวครับ
ความคิดเห็นที่ 8
หาอยุ่พอดีเลย ใจจ้าา
ความคิดเห็นที่ 9
หน้าจะมีที่มาของข้อมูลด้วยนะครับ