วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2555 นี้จะเป็นวันเสาร์ห้า เราลองมารู้จักวันเสาร์ห้ากันว่ามีความเป็นมาอย่างไร
วันเสาร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ตรงกับแรม ๕ ค่ำเดือน ๕
และวันเสาร์ที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๔ ตรงกับแรม ๕ ค่ำเดือน ๕
ถือว่าเป็นวันที่ร้อนแรงแห่งสุริยะเทพ เพราะวันสำคัญแห่งการสร้างวัตถุมงคล และพุทธาภิเษกวัตถุมงคล
ด้วยเหตุผลที่ว่า
ตรงกับขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๕ สำหรับวัดหรือหน่วยงานใด ที่พลาดการประกอบพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในวันเสาร์ห้าที่ผ่านมา
หากต้องการจะพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในวันเสาร์ห้าอีกครั้งหนึ่ง
ก็คือวันเสาร์ห้าจะตรงกับ
วันเสาร์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๗ ตรงกับแรม ๕ ค่ำเดือน ๕
วันเสาร์ห้า
ในแวดวงดาราศาสตร์ทราบดีว่าวันดังกล่าวจะตรงกับปรากฏการณ์สำคัญในรอบปีที่เรียกว่า “วสันตวิษุวัต” (Vernal equinox) เพราะโลกโคจรเข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่เส้นศูนย์สูตรตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ ทำให้
1) กลางวันเท่ากับกลางคืน
2) เริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ (Spring) ที่ซีกโลกด้านเหนือ
3) เริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) ที่ซีกโลกด้านใต้
ปฏิทินมหาศักราชของอินเดียถือว่าเป็นวันปีใหม่ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า “มหาสังกรานติ”
- อัฟกานีสถาน
- อุซเบกีสถาน
- คาซักสถาน
- เติกร์มีนิสถาน
- อิหร่าน
สำหรับผู้ที่นับถือศาสนา “บาไฮ” ก็ถือว่าเป็นวันปีใหม่ เป็นวันที่ ...ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ขอบท้องฟ้าในตำแหน่งทิศตะวันออกแท้ทำมุมกวาด ๙๐ องศา จากทิศเหนือภูมิศาสตร์ และตกที่ขอบฟ้าในตำแหน่งทิศตะวันตกแท้ ส่งผลให้เงาของวัตถุที่ตั้งฉากกับพื้นดินจะเป็นเส้นตรงตั้งแต่เช้าจรดเย็นระหว่างทิศตะวันออกกับตะวันตก
โบราณสถานที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของโลกถูกออกแบบและสร้างให้หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออก เพื่อให้แสงอาทิตย์ยามเช้าส่องตรงเข้ามายังจุดสำคัญของสถานที่นั้นๆ เช่น
- สฟิ๊งส์ มหาปิรามิดที่ประเทศอียิปส์
- มาชูปิกชูที่ประเทศเปรู
- วิหารเซ้นปีเตอร์ที่นครวาติกันประเทศอิตารี่
- นครวัดและนครทมที่ประเทศกัมพูชา
- ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร
- ปราสาทนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร
สำหรับอาณาจักรขอมในยุคก่อตั้ง จะเห็นภาพการประกอบพิธี “ราชาภิเษก” ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ บนยอดภูเขาพนมกุเลน โดยพราหมณ์เทน้ำศักดิ์สิทธิ์ลงบนศิวะลึงค์เพื่อให้พระองค์ยกฐานะจากกษัตริย์ธรรมดาเป็น “เทวราชา” อย่างสมบูรณ์แบบ มีอำนาจการปกครองบ้านเมืองชนิดสั่งเป็นสั่งตายได้ พิธีนี้จึงกลายเป็นราชประเพณีของกษัตริย์ขอมองค์ต่อๆมา ทำให้เราได้เห็นว่า วัน “วสันตวิษุวัต” ต้องมีมนต์ขลังต่อความเชื่อของมวลมนุษยชาติ
ข้อมูลทางดาราศาสตร์ วันวสันตวิษุวัต หรือวันเสาร์ห้า1 ดวงอาทิตย์ทำมุมตั้งฉากกับผิวโลกที่เส้นศูนย์สูตร หรือเส้นรุ้ง ๐.๐ องศา เส้นแวง ๘๑.๑ องศาตะวันตก ชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกของประเทศเอกวาดอร์ ทวีปอเมริกาใต้ เวลา ๑๗.๓๒ นาฬิกา ตามเวลาสากล
2 ประเทศไทย บนท้องฟ้ามีปรากฏการณ์พิเศษคือ ดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ ๕ ดวง เรียงตัวเป็นเส้นตรง เริ่มจาก ดาวศุกร์ ดาวพุธ ดวงอาทิตย์ ดาวยูเรนัส ดาวพฤหัส และดาวเนปจูน"
3 วันวสันตวิษุวัต เริ่มต้นราศีเมษ และ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ผู้สนใจด้านโหราศาสตร์ถือเป็นฤกษ์ดีในการประกอบพิธีปลุกเสกต่างๆ และถ้าจะให้ขลังจริงๆต้องไปประกอบพิธีที่ประเทศอีกวาดอร์ โดยโดยไปที่ ที่ตำแหน่ง เส้นแวง ๘๑.๑ องศาตะวันตก เวลา GMT ๑๗.๓๒ นาที เพราะตามเวลาดังกล่าวดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะ พอดีทำให้ได้รับพลังสูงสุดจากสุริยะเทพพอดี ....
ที่มา http://new.goosiam.com/variety/html/0025100.html
ความคิดเห็น