A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

สัญญาณชีพ

เขียนโดย A Rai Naa >>>

สัญญาณชีพ

1.    อุณห๓มิในนมมารดาหลังคลอด อาจเป็นปกติ หรือสูงขึ้นเล็กน้อยได้ประมาณ 37.8 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส แล้วจะลดลงสู่ปกติใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดเรียกว่าภาวะนี้ว่า รีแอคชั่นนารี ฟิวเวอร์ (Reactionary Fever) ซึ่งเกิดจากการเสียพลังงานในการคลอด หรือได้รับชอกช้ำ (Truma) ในขณะคลอด หรือถ้าพบในวันที่ 2-3 หลังคลอดอาจเกิดจากนมคัด แต่ถ้ามีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 2 วัน (ไม่นับ 24 ชั่วโมง หลังคลอด) หรือมากกว่า อาจมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในระบบใดระบบหนึ่งของร่างกายมารดา เช่น การอักเสบเยื่อบุโพรงมดลูก เต้านมอักเสบ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หรือการติดเชื้อในระบบอื่นๆ

2.    ชีพจร ภายหลังคลอดจะช้ากว่าปกติ อยู่ระหว่าง 60-70 ครั้ง/นาที หรือบางครั้งอาจช้าถึง 40-50 ครั้ง/นาที ในวันที่ 1-2 วันแรกหลังคลอด และจะกลับสู่ภาวะปกติในวันที่ 7-10 หลังคลอดสาหตุไม่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อว่าเกิดจากการลดจำนวนเลือดที่ออกจากหัวใจในหนึ่งนาที (Cardiac output) ชีพจรอาจเร็วขึ้นจากการสูญเสียเลือดมากในการคลอด มีการติดเชื้อ ความเจ็บปวด ความวิตกกังวล หรือมารดาเป็นโรคหัวใจ

3.    ความดันโลหิต ภายหลังคลอดปกติ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้ามีการตกเลือดหลังคลอด ความดันโลหิตจะเปลี่ยนไปตามสภาพของการเสียเลือด ถ้าความดันโลหิตสูงอาจเป็นข้อบ่งชี้ภาวะ ความผิดปกติของความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ แต่ภายหลังคลอด ถ้าฉีด Methergin เพื่อให้มดลูกหดรัดตัวดี อาจทำให้ความดันโลหิตสูงได้ภายหลังคลอด

ระบบเลือด

ปริมาณเลือด (Blood volume) จะลดลงทันทีจากการสูญเสียเลือดภายหลังคลอดค่า Hemoglobin Hematocrit และ Red blood cell count จะแตกต่างกันไปแต่ละบุคคลใน 3 วันแรกหลังคลอดค่า ฮีมาโตคริตอาจสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีการลดระดับของปริมาณพลาสม่ามากกว่าจำนวนของเม็ดเลือดกลับคืนสู่สภาพปกติเหมือนก่อนคลอดภายใน 1 สัปดาห์หลังคลอด สารที่เป็นองค์ประกอบใน cloting factor ยังคงมีค่าสูงอยู่ และจะลดลงสู่ระดับปกติใน 2-3 วันสัปดาห์หลังคลอด ซึ่งจะมีผลเสียถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวและมีการติดเชื้อหรือได้รับความชอกช้ำจากการคลอดก็จะกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน (Tromboembolism) ได้ง่าย

ระบบทางเดินปัสสาวะ

ระยะหลังคลอดใหม่ๆ จะพบเนื้อเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ บวมแดง หรืออาจพบเลือดออกในชั้นใต้เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ และความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะจะลดลงทำให้มีความจุมากขึ้นความดันในกระเพาะปัสสาวะจะลดลง จึงเกิดกระเพาะปัสสาวะโป่งพองและปัสสาวะได้ไม่หมด อาการเหล่านี้จะคืนสู่ปกติภายใน 5-7 วัน จากการหย่อนกำลังของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะร่วมกับการขยายตัวของหลอดเลือดไตและกรวยไต จำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ง่าย กรวยไตและหลอดไตที่ขยายตัวนี้ จะกลับคืนสู่สภาพปกติในเวลา 8-12 สัปดาห์ แต่ถ้ามีการติดเชื้อก็จะนานออกไปได้

ระยะหลังคลอดร่างกายจะปรับสภาพสมดุลของน้ำและปริมาณเลือด ทำให้เกิดปัสสวาะบ่อยและไตต้องทำงานเพิ่มขึ้นในการขับน้ำออกจากร่างกาย อาจพบน้ำตาลในปัสสาวะในหญิงหลังคลอดได้และอาจพบโปรตีนในปัสสาวะบ้างเล็กน้อย จะหายไปใน 3 วันหลังคลอด

การขับถ่าย

ใน 2-3 วันแรกหลังคลอด อาจจะไม่ถ่ายอุจจาระ จากการเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง รับประทานอาหารได้น้อย การสูญเสียน้ำไปมาก ทำให้กากอาหารมีน้อย เกิดอาการท้องผูกได้

น้ำหนัก

หลังคลอดทันทีน้ำหนักจะลดลง 5-8 กิโลกรัม โดยสูญเสียไปกับตัวเด็ก รก น้ำคร่ำ เยื่อหุ้มเด็ก และน้ำเลือด และลดลงอีก 2-3 กิโลกรัม จากการเสียน้ำไปกับปัสสาวะ เหงื่อ และน้ำคาวปลา ใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด อย่างไรก็ตาม การลดของน้ำหนักขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัว และการรับประทานอาหารของแต่ละคน

ความสัมพันธ์ของต่อมใต้สมองและรังไข่

หลังคลอดระดับฮอร์โมนจากรกจะลดลงอย่างรวดเร็ว พบว่า Human Palcental Iactogen จะลดลงจนไม่สามารถตรวจได้รัดับเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน จะลดลงอย่างรวดเร็วใน 3 ชั่วโมงหลังรกคลอด ระดับ Prolactin ในมารดาที่ไม่ได้ให้นมบุตรจะลดลงใน 2 สัปดาห์ แต่ถ้าให้นมบุตรจะมีโปรแลคตินหลั่งมากขึ้น ทำให้นมคัดและน้ำนมไหลแต่ปฏิกิริยานี้จะลดลงเมื่อเวลานานออกไป

ระดับ FHS จะต่ำใน 10-12 วัน ไม่ว่าจะให้ทารกดูดนมหรือไม่ก็ตาม แล้วจะเพิ่มขึ้นจนทำให้ไข่ตกได้

การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคมของมารดาหลังคลอด

การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจในระยะหลังคลอด เป็นผลจากความวิตกกังวลในระยะตั้งครรภ์เนื่องจากมารดาเพิ่มภาระรับผิดชอบต่อทารกโดยตรง มารดาต้องทุ่มเทความสามารถทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อเลี้ยงดูทารกเป็นอันดับแรก สามีและญาติรวมทั้งสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจด้วยการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคมของมารดา อันก่อให้เกิดความเครียดทางจิตใจ (Psycho social Stress) มีดังนี้

ภาวะวิกฤต

ภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นเมื่อมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดการปลี่ยนแปลงในระบบสังคมเล็กๆของครอบครัวซึ่งทำให้บทบาทต่างๆ ถูกปรับใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ ค่านิยม และวิถีการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัว ถ้าครอบครัวได้รับการช่วยเหลือ แก้ปัญหาต่างๆ ในลักษณะที่ถูกต้องเหมาะสม ประสบการณ์ที่ได้จะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สุขภาพจิตที่ดีต่อไป

บทบาททางพฤติกรรม

การยอมรับในบทบาทของหญิงหรือชาย จะทำให้สามารถพัฒนาตนเองและจิตใจได้เหมาะสมไม่เกิดความขัดแย้ง บทบาทของบิดามารดาอาจกำหนดขึ้นมาในลักษณะที่แตกต่างกัน ด้วยอิทธิพลของบุคคลรอบข้าง สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี บิดามารดาใหม่ต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพครอบครัวของตน ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดความแตกร้าวและขัดแย้งกัน

บทบาทเป็นมารดา

ขึ้นอยู่กับทัศนคติของมารดาในการเลี้ยงดูบุตร การเรียนรู้เกี่ยวกับบุคลิกภาพของการเป็นมารดา บทบาทมารดาที่สังคมกำหนด ต้องอ่อนหวาน นุ่มนวล มีความรัก มีพฤติกรรมที่อบอุ่น มารดาในภาวการณ์จริงมักไม่มั่นใจในบทบาทของตนเอง โดยเฉพาะมารดาครรภ์แรกไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนและมักได้รับทัศนคติมาจากบุคคลแวดล้อม ซึ่งแตกต่างกันไปทำให้เกิดความไม่แน่ใจ

ความรู้สึกสูญเสีย

ภาวะสูญเสียกับความรู้สึกที่ไม่เป็นที่ต้องการ ก่อให้เกิดความทุกข์ด้วยเหตุผลดังนี้

1.    สูญเสียรูปลักษณ์การตั้งครรภ์ มารดาหลายคนพบว่า การตั้งครรภ์ก่อให้เกิดความสุข ความพึงพอใจ ซึ่งมักรู้สึกเมื่อตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 มารดาจะคิดถึงตนเองและทารกในครรภ์ รู้สึกว่าทารกในครรภ์เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย เมื่อทารกคบอดออกไปก็จะมีความรู้สึกว่างเปล่า และมีความรู้สึกสูญเสียบางอย่างของร่างกายออกไป

2.    สูญเสียความสนใจจากบุคคลรอบข้าง ขณะตั้งครรภ์มารดารู้สึกได้รับความนใจเอาใจใส่เป็นพิเศษจากบุคคลรอบข้าง มารดาจะรู้สึกว่าจุดรวมความสนใจเปลี่ยนแปลงไปสู่เด็ก แม้ว่าส่วนหนึ่งของมารดาจะรู้สึกตื่นเต้นยินดี แต่ก็ยังรู้สึกเศร้าหมองต่อภาวะสูญเสียนี้ อย่างไรก็ตามบทบาทใหม่ที่ต้องรับผิดชอบ ทำให้ความรู้สึกดีขึ้น

3.    การสูญเสียต่อภาพกายและรูปร่างของตน ระยะหลังคลอดใหม่จะมีความรู้สึกสูญเสียเพราะจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นผิวหนังยืดขยายพร้อมมีร่องรอยของความเหี่ยวย่นปรากฏอยู่ทำให้ความสูญเสียการนับถือตนเอง (self esteem)

4.    สูญเสียการควบคุมระบบต่างๆ ของร่างกาย (Loss of comtrol over body function) ในระยะหลังคลอด จะพบว่าไม่สามารถถ่ายปัสสาวะ อุจจาระได้ตามปกติ มารดามีความรู้สึกขาดผู้ให้ความช่วยเหลือ หรือพึ่งพิง มีความรู้สึกโกรธ จนกระทั่งสามารถทำเองได้สำเร็จความรู้สึกจะดีขึ้น

5.    การสูญเสียการควบคุมตนเอง (Loss of self control) มารดาจะมีความรู้สึกกดดันและอยากร้องไห้ ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้

6.    สูญเสียบทบาทของตนเองในสังคม การสูญเสียสภาพความเป็นอิสระของตนเองในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังคลอดซึ่งก่อนตั้งครรภ์เคยเป็นผู้นำสังคม มีความภูมิใจในการทำงาน

ความรู้สึกขาดเกินในการตอบสนองของมารดา ซึ่งสามารถแยกได้เป็นลักษณะต่างๆ ดังนี้

1.    ความรู้สึกมากเกินไป เช่น

ความรู้สึกไม่สบายทางร่างกาย

ความคาดหวังของสังคม

การพักผ่อนไม่เพียงพอ

การถูกรบกวนจากบุคคลอื่น

คำแนะนำความช่วยเหลืออย่างมากมายจากเพื่อน ครอบครัวทำให้เกิดความเครียด ทางอารมณ์

2.    ความรู้สึกขาด เช่น

การแยกมารดาและทารกออกจากกัน

ขาดการเอาใจใส่จากสามี

การขาดคำแนะนำ ปรึกษาจากผู้ใหญ่ ขาดความช่วยเหลือจากญาติ

ความขัดแย้ง (Conflict) ถึงแม้ว่ามารดาจะมีการวางแผนสำหรับทารกมาก่อน แต่การมีทารกใหม่ ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ ดังนี้

1.    การพึ่งผู้อื่นก่อให้เกิดความมั่นคงและปลอดภัย แต่ขณะเดียวกันก็รู้สึกว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำและตัดสินใจในสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง

2.    ความขัดแย้งระหว่างบทบาทมารดที่คาดหวัง ในขณะที่ตั้งครรภ์กับที่เกิดขึ้นจริงหลังคลอด มารดาอาจคิดว่าบุตรทำให้ตนเองเหน็ดเหนื่อย มีงานมาก และในเวลาเดียวกันเกิดความรู้สึกผิดต่อความรู้สึกเช่นนั้น

3.    ความขัดแย้งจากการเปลี่ยนแปลงบทบาทในตนเอง จากการเป็นภรรยาอย่างเดียวกลายเป็นภรยาและมารดาซึ่งไม่สอดคล้องกันทำให้เกิดความขัดแย้ง

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น