A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การเปลี่ยนแปลงในการที่จะเป็นมารดา (Transition to parenthood)

เขียนโดย A Rai Naa >>>

การเปลี่ยนแปลงในการที่จะเป็นมารดา (Transition to parenthood)

1.    Anticipatory phase ซึ่งเป็นระยะที่มีความรู้สึกเกี่ยวกับความรับผิดชอบในหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในระยะตั้งครรภ์ เป็นระยะยอมรับทารกที่จะมาเป็นสมาชิกใหม่

2.    Honey moon phase เป็นระยะหลังคลอด เป็นระยะการสร้างความคุ้นเคยระหว่างพ่อแม่ลูก เป็นการสร้างสัมพันธภาพ ความรัก ความผูกพัน

นอกจากการเปลี่ยนแปลงความเครียดทางจิตใจของมารดา บิดาและบุตรคนก่อนๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลง คือ

ด้านบิดา

มีความรู้สึกถูกทอดทิ้ง

ความต้องการทางเพศระหว่างสามีภรรยาลดลง

สูญเสียการนอน เนื่องจากถูกรบกวนจากทารก

บทบาทชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไป

ด้านทารก

สูญเสียความอบอุ่นที่เคยได้รับขณะอยู่ในครรภ์

ต้องเผชิญสิ่งแวดล้อมและเสียง

ต้องปรับตัวด้านการดำรงชีวิตภายหลังคลอด

บุตรคนก่อน

การเอาใจใส่ดูแลจากมารดาเสียไป เสียความใกล้ชิด การช่วยเหลืออุ้มชูจากมารดาลดลง เพราะต้องดูแลน้อง

สูญเสียการดูแลตนเอง ทำให้พฤติกรรมถดถอย

การประเมินและการพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะไม่สุขสบาย และมีภาวะแทรกซ้อนโดยใช้หลัก 12B ดังนี้

Blackground ประเมินภูมิหลังคลอดของมารดาเกี่ยวกับเศรษฐกิจสังคม การตั้งครรภ์ และการคลอด เช่น การที่มีน้ำเดินในระยะก่อนคลอดยาวนาน มารดาอาจมีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ ภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอดในครรภ์ก่อน และการเลี้ยงดูบุตรคนก่อน ความเชื่อจะมีผลต่อกรเลี้ยงดูบุตรและการปฏิบัติตัวของมารดา

Body condition  ประเมินสภาพทั่วไปของมารดาเกี่ยวกับภาวะซีด ความอ่อนเพลีย การลุกจากเตียง การอักเสบของหลอดเลือดดำ ความต้องการพักผ่อน และความสะอาดของร่างกาย เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของมารดาได้อย่างเหมาะสมกับสภาพของมารดาแต่ละราย เช่น มารดาที่มีภาวะซีด พยาบาลต้องให้การพยาบาลเพื่อป้องกัน หรือเฝ้าระวังภาวช็อค มารดาที่อ่อนเพลียมากๆไม่ควรให้ลุกจากเตียงโดยเฉพาะช่วง 2 ชั่วโมงหลังคลอด เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ พยาบาลควรให้มารดาได้พักผ่อนและได้อาหารที่เพียงพอ รวมทั้งดูแลเรื่องความสะอาดของมารดาด้วย ถ้ามีเส้นเลือดฝอยที่แขนหรือขาอักเสบควรให้มารดาได้นอนพักผ่อนบนเตียง ให้ยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะ พันผ้าส่วนที่ปวด วัด V/S ทุก 4 ชั่วโมง และระวังการเกิดลิ่มเลือดที่ปอด

Body temperature ประเมินเกี่ยวกับสัญญาณชีพของมารดาหลังคลอดเพื่อให้รู้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น ถ้ามีไข้ต่ำๆ ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดถือว่าปกติ อาจเกิดได้จากสูญเสียพลังงาน สารน้ำ เนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บจากการคลอด พยาบาลควรกระตุ้นให้มารดาได้ดื่มน้ำมากๆพักผ่อนเพียงพอและประเมิน v/s ซ้ำทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าจะปกติ แต่ถ้าไข้สูงมากกว่า 38 oC ติดต่อกัน 2 วัน ภายหลังคลอด 24 ชั่วโมงไปแล้วถือว่ามีไข้จากการติดเชื้อ ถ้ามารดามีความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงต้องวัดความดันทุก 15 นาทีหรือมากกว่านั้นตามสภาพมารดา

Breast and lactation พยาบาลต้องประเมินเกี่ยวกับลักษณะหัวนม เต้านม ปริมาณและลักษณะน้ำนมว่าทารกสามารถดูดได้หรือไม่ ปริมาณเพียงพอหรือไม่ ถ้าเพียงพอ ขณะที่ทารกดูดข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งจะไหล ก่อนให้ทารกดูดนมควรมีการเช็ดทำความสะอาดหัวนมด้วยน้ำสะอาดก่อนถ้าหัวนมมีความผิดปกติ แนะนำให้มารดาแก้ไขด้วย Hoffman’s maneuver และ nipple shield ถ้ามีอาการคัดตึงให้มารดาประคบร้อน-เย็น และบีบน้ำนมทิ้ง สวมเสื้อชั้นในให้กระชับ ถ้าปวดมากอาจให้ยาแก้ปวด แต่ถ้าเป็นเต้านมอักเสบ แดง ร้อน แข็งตึงใหญ่ ปวดมาก ไข้สูงมากกว่า 38 oC การพยาบาลคือ งดดูดนมข้างที่เป็นจนกว่าจะหาย งดการกระตุ้นเต้านม หรือหัวนมบริเวณที่ติดเชื้อ ให้ความร้อนเป่ากระตุ้น การไหลเวียนและการไหลของนม สวมเสื้อชั้นในพยุงไว้แต่ห้ามแน่นเกินไป

Belly and fundus มดลูกหลังคลอดต้องมีการหดรัดตัวอยู่เสมอ ถ้าไม่หดรัดตัวหรือหดรัดตัวไม่ดี บริเวณยอดมดลูก มดลูกต้องมีการลดขนาดลงเรื่อยๆ อย่างน้อยวันละครึ่งถึงหนึ่งนิ้วจนไม่สามารถคลำได้ทางหน้าท้อง โดยจะวัดวันละครั้งเมื่อครบ 24 ชั่วโมง ก่อนวัดต้องให้กระเพาะปัสสาวะว่าง ถ้าไม่มีการลดลงของมดลูก หรือมดลูกไม่หดรัดตัว ต้องประเมินให้ได้ว่าเกิดจากอะไร เพื่อให้การพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มารดาบางรายที่มดลูกมีการยืดขยายค่อนข้างมาก เช่น มารดาที่คลอดครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ หรือครรภ์หลังมักมีอาการปวดมดลูก การพยาบาลคืออธิบายให้มารดาทราบสาเหตุ สอนวิธีการหายใจเป็นจังหวะ ให้นอนคว่ำหมอนหนุนหน้าท้อง แต่ถ้าปวดมากก็ให้ยาแก้ปวดได้

Bladder มารดาหลังคลอดต้องปัสสาวะภายใน 6-8 ชั่วโมงหลังคลอด มิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด เกิดการติดเชื้อในปัสสาวะและไม่สุขสบายได้ ก่อนการสวนปัสสาวะควรกระตุ้นให้มารดาปัสสาวะเองก่อน เช่น การใช้น้ำเย็นรดอวัยวะเพศ การเปิดน้ำ เพื่อลดอัตราการติดเชื้อหลังคลอด

Bleeding and Lochia ภายใน 24 แรกหลังคลอด สิ่งที่ถูกขับออกทางช่องคลอด ส่วนใหญ่จะเป็นเลือดสีแดงสด เรียกว่า Bleeding ต่อมาก็เป็นน้ำคาวปลาที่มีสีจางลงเรื่อยๆ ถ้าปริมาณน้ำคาวปลามีมากขึ้น และเข้มขึ้นหลังจากจางลงแล้ว แสดงว่ามีความผิดปกติ ต้องหาสาเหตุ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อได้

Bottom หลังคลอดต้องมีการประเมินฝีเย็บและทวารหนัก เพื่อดูว่ามีการแยกของแผลฝีเย็บหรือไม่มีบวมยาชา บวมก้อนเลือดเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าปวดแผลฝีเย็บให้มารดานอนตะแคงด้านตรงข้ามแผลและขยับตัวช้าๆ ประคบเย็นและให้ยาแก้ปวด ถ้าเป็นบวมยาชาไม่ต้องทำอะไรเพราะจะหายได้เองแต่ถ้าเป็นบวมก้อนเลือดต้องประเมินว่ามีขนาดเท่าใด ขยายขนาดเพิ่มขึ้นหรือไม่ ถ้าก้อนไม่ใหญ่และไม่เพิ่มขนาดไม่ต้องทำอะไร สามารถหายได้เอง แต่ถ้ามีขนาดใหญ่ มารดาเจ็บปวดมาก ขยายขนาดเรื่อยๆควรมีการประคบเย็นเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาเลาะก้อนเลือดออกแล้วเย็บปิด ร่วมกับการให้ยาแก้ปวด

 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น