A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

Bowel movement

เขียนโดย A Rai Naa >>>

Bowel movement

ใน 2-3 วันหลังคลอดมารดาอาจมีอาการท้องอืด ทำให้ไม่สุขสบายได้และถ้ามารดาเบ่งถ่ายแรงๆ อาจทำให้แผลฝีเย็บแยกได้ ดังนั้น ควรแนะนำให้มารดาดื่มน้ำมากๆรับประทานอาหารที่มีกากใย และไม่เบ่งถ่ายอุจจาระแรง ถ้าท้องอืดมากอาจให้ยาระบายอ่อนๆได้

Blue

ประเมินว่ามารดาสามารถปรับตัวต่อบทบาทมารดาได้หรือไม่ ใน 1-2 วันแรกเป็นระยะที่มารดามีพฤติกรรมพึ่งพา สนใจแต่ความต้องการของตนเองมากกว่า ดังนั้น พยาบาลควรมีส่วนในการช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆของมารดา เช่น การดูแลทารก ถ้ามารดาไม่พร้อมเลี้ยงทารกอาจน้ำไปเลี้ยงให้ หลังจากนำมาดูดนมมารดา และเปิดโอกาสให้มารดาได้ระบายความรู้สึก อธิบายให้สามีและครอบครัวได้เข้าใจถึงความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ของมารดา

อาการผิดปกติหลังคลอด (postpartum Psychiatric disorder) ที่มักพบคือ

1.    อารมณ์เศร้าหมองหลังคลอด (Postpartum Blue) จะพบได้ในระยะ 10 วันหลังคลอดโดยมากจะพบในวันที่ 3 หลังคลอด เป็นผลเนื่องจากความรู้สึกตื่นเต้นมาก และมีอาการเปลี่ยนแปลงของร่างกายกับความตึงเครียดทางจิตใจอย่างมากในระยะแรก ต่อมาจะกลายเป็นความรู้สึกท้อแท้ ซึ่งมารดาไม่สามารถอธิบายได้ อาจมีอารมณ์หงุดหงิด เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ความรู้สึกว่าความรักจากสามีและญาติได้เปลี่ยนไปจากตน คือ ทุกคนมุ่งทุ่มเทความรักความสนใจไปสู่ทารก ขณะเดียวกันก็รู้สึกผิดต่อความคิดรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นความผิดปกติทางจิตเวชหลังคลอด

2.    โรคประสาทหลังคลอด (Postpartum Depression) มารดามีอาการหงุดหงิดหรือซึมเศร้า ร้องไห้ง่าย กังวลในสุขภาพของทารกมาก ความรู้สึกต่างๆ เช่น การรู้สึกไม่ต้องการทารกอาจแสดงออกมา ในรูปแบบของความรู้สึกผิด (Guil feeling) คิดซ้ำๆ วิตกกังวลกลัวตนเองจะเผลอทำร้ายทารก ควบคุมอารมณ์ไม่ได้เมื่อทารกร้องไห้ไม่หยุดหรือไม่ดูดนม บางคนทำร้ายตนเองหรือแสดงออกมาในรูปอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ ไม่มีความรู้สึกทางเพศ ไม่สนใจ การงานแม้แต่การเลี้ยงดูทารก บางครั้งร้องไห้คร่ำครวญว่าตนไม่สามารถจะเลี้ยงดูทารกได้

3.    อาการโรคจิตหลังคลอด(Postpartum Depression) อาการโรคจิตหลังคลอด ถ้าเริ่มเป็นระยะ 3-4 วันแรกหลังคลอด มักมีอาการสับสน (Confusion) สูญเสียความทรงจำและสมาธิ อาการมักเริ่มต้นด้วยอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย ต่อมาเริ่มวุ่นวาย พูดเพ้อเจ้อ ท่าทางแปลกๆหรือร้องไห้ คร่ำครวญ เรียกหามารดา อารมณ์ที่แสดงออกมักเฉยเมย หงุดหงิดหรือเศร้า มักมีอาการหลงผิดว่ายังไม่คลอด มีคนปองร้าย กล่าวหาว่าจะมีคนลักทารกไปฆ่า มีประสาทหลอนทางหู ไปทำนองเดียวกับอาการหลงผิด ฆ่าทารก บางทีแสดงออกโดยการจำสามีไม่ได้

สาเหตุ เกิดจากความวิตกกังวลต่างๆ ร่างกายอ่อนเพลียมาก ได้รับการพักผ่อนน้อย ประสบการณ์ จากการคลอดในครรภ์ก่อนๆไม่ดี

การพยาบาล

1.    พยาบาลต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับมารดา ทำให้เกิดความไว้วางใจ และเมื่อมารดามีปัญหาและข้อสงสัยก็กล้าที่จะพูดหรือเล่าให้พยาบาลฟังเพื่อให้พยาบาลทราบสาเหตุและแนวทางป้องกันอาการทางจิตหรือบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาได้

2.    ให้โอกาสและเวลาเพียงพอ เพื่อตอบปัญหาข้องใจแก่มารดา

3.    ช่วยเหลือมารดาที่เพิ่งคลอดทารกเป็นครรภ์แรก ได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตลอดจนการเลี้ยงดูทารก การอาบน้ำ การให้นม ฯลฯ

4.    จำกัดผู้เยี่ยมและเวลาเยี่ยม เพื่อให้มารดาได้มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ

5.    ช่วยดูแลทารกโดยให้มารดาได้พักผ่อน นำทารกมาให้ดูดนมเป็นครั้งคราวในมารดาที่อ่อนเพลียมาก

6.    พยาบาลควรสังเกตอาการผิดปกติทางอารมณ์ของมารดาอย่างใกล้ชิดขณะให้การพยาบาลโดยเฉพาะในรายที่อ่อนเพลียจากการคลอดมากๆหรือมารดาที่ทารกเสียชีวิต มีการชมเชยมารดาที่ช่วยตัวเองได้และสามารถให้นมบุตรทารกได้ ในรายที่พบว่า มารดามีอาการทางจิตต้องแยกทารกและแยกมารดาพร้อมทั้งอธิบายให้สามีเข้าใจ และรายงานแพทย์ทราบเพื่อการรักษาแต่เนิ่นๆโดยปฏิบัติดังนี้

6.1                       ให้มารดาได้พักผ่อนมากๆ จัดให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบ สะอาด ไม่มีใครมารบกวนแต่ต้องไม่ทิ้งไว้ตามลำพังในห้อง ต้องกำจัดสิ่งของที่อาจนำไปทำร้ายตัวเองได้ เช่น ขวดน้ำ ขวดแก้ว ช้อนส้อม มีด จาน เชือก เป็นต้น

6.2                       ดูแลให้มารดาได้รับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำมากๆ วันละ 2,000 – 3,000 ซีซี และควรดื่มนม โอวัลติน วันละ 2-3 แก้ว เพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรง

7.พยาบาลต้องให้คำแนะนำแก่สามีในเรื่องต่างๆ ดังนี้

7.1 สามีต้องเข้าใจว่าภรรยาตนเองมีความสามารถพอที่จะเลี้ยงทารกได้ ต้องให้ความเชื่อมั่น ไว้วางใจ และให้โอกาส ส่วนตัวสามีเพียงคอยช่วยเหลือใกล้ๆช่วยอำนวยความสะดวก เช่น หยิบยกของบางอย่างให้ เพราะมารดาหลังคลอดจะมีพยาบาลคอยช่วยเหลืออยู่ใกล้ๆและให้คำแนะนำในเรื่องๆต่างๆอยู่แล้ว

7.2 สามีต้องคอยช่วยดูแลบ้านแทน เพื่อให้ภรรยาคลายความวิตกกังวลลง และได้พักผ่อนเต็มที่สามีต้องรับภาระหน้าที่แม่บ้านแทนชั่วคราว เมื่อมารดามีความสุข สดชื่น มีกำลังใจ ก็สามารถรับภาระหน้าที่มารดาหลังคลอดได้ดียิ่งขึ้น

การป้องกันภาวะโรคจิตหลังคลอด มีดังนี้ คือ

1.    ให้สุขศึกษาตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ เพื่อลดความวิตกกังวล

2.    แนะนำหลักการเยี่ยมมารดาหลังคลอดให้ญาติเข้าใจ

3.    ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล เห็นอกเห็นใจ ให้การพยาบาลโดยตอบสนองความต้องการทั้งด้านร่างกาย และด้านจิตใจ คอยสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด

4.    ในมารดาที่ทารกเสียชีวิต พยาบาลต้องแสดงความเห็นอกเห็นใจ พูดปลอบโยน พร้อมทั้งให้คำแนะนำในสิ่งที่ญาติและมารดาสงสัย ไม่แสดงความเบื่อหน่ายกับการฟังและตอบคำถามของญาติ

4.1. Baby   ประเมินความผิดปกติต่างๆของทารกและให้การพยาบาลตามความต้องการของทารก

4.2. Bonding and attachment ประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก พยาบาลเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการสงเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก โดยนำทารกมาดูดนมมารดาภายใน 30-45 นาทีหลังคลอด และจัดให้มารดาและทารกได้อยู่ในห้องเดียวกัน

 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น