A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

สาเหตุ

เขียนโดย A Rai Naa >>>

สาเหตุ

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีเหตุส่งเสริมให้เกิดดังนี้

1.    การมีบุตรมากและมารดาอายุมาก เป็นเหตุให้เยื่อบุมดลูกส่วนบนเสื่อมสภาพ

2.    มีความผิดปกติของเยื่อบุผนังมดลูก (Decidua) ซึ่งอาจเนื่องมาจากการอักเสบของการติดเชื้อ

3.    รกมีขนาดใหญ่มาก เช่น ในรายที่มารดาเป็นเบาหวาน หรือเมื่อตั้งครรภ์แฝด

4.    มดลูกบีบรัดตัวมากกว่าปกติ ทำให้ไข่ที่ผสมแล้วไปฝังตัวที่ส่วนล่างของมดลูก

อาการและอาการแสดงที่สำคัญ

คือ

1.    อาการเลือดออกโดยไม่มีความเจ็บปวด ปกติจะเกิดภายหลังการตั้งครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ แต่ส่วนมากจะพบเมื่อตั้งครรภ์เกินกว่า 32 สัปดาห์ ขึ้นไป

2.    อาการเลือดออกโดยไม่มีอาการนำล่วงหน้า บางครั้งจากการซักประวัติ จะพบว่า นอนหลับอยู่ เมื่อตื่นขึ้นมาก็พบว่ามีเลือดออก เลือดออกครั้งแรกจะไม่มาก และจะไม่หยุดได้เอง

3.    อาการเลือดออกซ้ำ ปริมาณเลือดออกครั้งหลังจะมีจำนวนมากกว่าครั้งแรก ถ้ารกเกาะต่ำมาก เช่น ในรายที่รกปิดปากมดลูกด้านในทั้งหมด จะมีเลือดออกเร็วและจำนวนมากกว่าชนิดอื่น

4.    การตรวจทางหน้าท้อง จะพบ

-          มดลูกนุ่มตามปกติ กดไม่เจ็บ

-          ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้น หรือท่าขวาง

-          คลำพบส่วนของทารกได้ง่าย ถ้าเป็นท่าศีรษะจะพบศีรษะลอยสูงเนื่องจากรกเกาะที่บริเวณส่วนล่างของมดลูก ทำให้ส่วนนำเข้าไปในช่องเชิงกรานไม่ได้

-          ฟังเสียงหัวใจทารกได้

การวินิจฉัยโรค

1.    จากประวัติการมีเลือดออกในระยะหลังของการตั้งครรภ์ ไม่มีอาการเจ็บปวด ไม่มีสาเหตุและเลือดออกซ้ำ ซึ่งต้องแยกออกจากอาการรกลอกตัวก่อนกำหนด

2.    จากการตรวจหน้าท้อง ถ้าพบทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง หรือท่าเฉียง ศีรษะลงช้า ให้สงสัยว่าอาจเป็นรกเกาะต่ำได้

3.    จากการตรวจ หาตำแหน่งของรกโดยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)

4.    จากการตรวจภายใน ซึ่งจะต้องทำการตรวจในห้องผ่าตัด และเตรียมพร้อมที่จะทำการผ่าตัดหน้าท้องได้ทันที (Double set-up) เพราะการตรวจภายใน จะกระตุ้นทำให้เลือดออกมากขึ้น

การรักษา

1.    การรักษาตามอาการ (Conservative Treatment) เพื่อให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปตามปกติ เช่น ในรายที่เลือดออกน้อยหรือเลือดหยุดแล้วยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ทารกมีชีวิตอยู่และอายุต่ำกว่า 37 สัปดาห์ หรือคะเนว่าน้ำหนักทารกในครรภ์น้อยกว่า 2,500 กรัม ให้การรักษาโดย

1.1                       ให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำ หรือให้เลือดเมื่อมีข้อบ่งชี้

1.2                       ตรวจเลือดหาฮีมาโตคริต และเฮโมโกลบิน เพื่อดูภาวะเลือดจาง

1.3                       การตรวจทางช่องคลอดเมื่อเลือดหยุดแล้วหรือออกน้อย Speculum เพื่อหาสาเหตุของเลือดออกอื่นๆ

1.4                       ให้นอนพัก ไม่สวนอุจจาระ

2.    การรักษาอย่างรีบด่วน (Active treatment) เพื่อทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง เช่น ในรายที่มีเลือดออกมาก มีอาการเจ็บครรภ์หรือทารกตายในครรภ์ หรือมีอายุเกิน 37 สัปดาห์ขึ้นไป คะเนน้ำหนักทารกในครรภ์เกิน 2,500 กรัม ซึ่งการทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงนี้ จะกระทำได้ 2 วิธีคือ

2.1                       การทำคลอดทางช่องคลอด (Vaginal Delivery) จะพิจารณาทำในรายที่รกปิดปากมดลูกด้านในเพียงบางส่วน และในรายทีขอบของรกอยู่เหนือปากมดลูกด้านในจำนวนเลือดออกน้อย อาการของมารดาดี มีการก้าวหน้าของการคลอดดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อน แพทย์จะทำการเจาะถุงน้ำคร่ำให้ส่วนศีรษะของทารกลงมากดรก เพื่อให้เลือดหยุดออก สำหรับการเร่งคลอด แพทย์จะหยดออกซิโทซินทางเส้นเลือดดำ แล้วใช้เครื่องดูดสุญญากาศ หรือคีม เพื่อย่นระยะของการคลอดให้เร็วขึ้น

2.2                       การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (Caesarean Section) รกจะพิจารณาทำในรายที่รกปิดปากมดลูกด้านในทั้งหมด หรือในรกเกาะต่ำชนิดอื่นที่ผู้ป่วยมีอาการเลือดออกมาก หรือครรภ์แรกที่มารดามีอายุมาก หรือทารกในครรภ์อยู่มนท่าผิดปกติ แม้ในกรณีที่ทารกตายในครรภ์แล้ว ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของมารดาเป็นอันดับแรก ข้อดีของการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง คือ การตั้งครรภ์จะสิ้นสุดลงทันทีเลือดจะหยุดออก มดลูกจะหดรัดตัวได้ปกติ และป้องกันการฉีกขาดของปากมดลูกด้วย

รกลอกตัวก่อนกำหนด

(Placenta abruption หรือ Abruptio Placenta)

รกลอกตัวก่อนกำหนด (Placenta Abruption หรือ Abruptio Placenta) หมายถึง การลอกตัวของรกที่เกาะอยู่ในตำแหน่งปกติก่อนทารกคลอด

ลักษณะของการตกเลือด มี 3 แบบ คือ

1.    เลือดออดมาให้เห็นทางช่องคลอด (External หรือ Revealed Hemorrhage)

2.    เลือดออกและขังอยู่ในโพรงมดลูก (Concealed Haemorrhage) จะเกิดขึ้นได้เมื่อ

-          เลือดขังอยู่ด้านหลังรก แต่ขอบรกยังเกาะติดอยู่ที่ผนังมดลูก

-          รกลอกตัวหลุดออกทั้งอัน แต่เยื่อหุ้มทารก Chorion และ Amnion ยังติดแน่นที่ผนังมดลูก

-          เลือดที่ออกซึมผ่านเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ

-          ศีรษะทารกลงมากดอยู่ที่บริเวณส่วนล่างของมดลูก ทำให้เลือดผ่านออกมาข้างนอกไม่ได้

-          เลือดบางส่วนออกมาให้เห็นทางช่องคอลด และบางส่วนขังอย่ในโพรงมดลูก (Mixed Haemorrhage) เลือดที่ออกมาจะขังอยู่ในโพรงมดลูกก่อน ต่อมาจึงจะออกมาให้เห็นทางช่องคลอด

อุบัติการณ์

พบในครรภ์หลังมากกว่าครรภ์แรก

สาเหตุ

ที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่มีสาเหตุส่งเสริมให้เกิดได้แก่

1.    การตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ซึ่งพบได้มากกว่าร้อยละ 50

2.    ภาวะทุพโภชนาการและการขาดแร่ธาตุอาการบางชนิด เช่น กรดโฟลิก (Folic acid)

3.    ครรภ์ถูกกระทบกระแทกจากอุบัติเหตุต่างๆ การหมุนกลับท่าทารกจากภายนอก มารดาหกล้ม เป็นต้น

 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น