A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

สาเหตุของรกลอกตัวก่อนกำหนด

เขียนโดย A Rai Naa >>>

สาเหตุของรกลอกตัวก่อนกำหนด

1.ความผิดปกติต่างๆ สายสะดือสั้นกว่าปกติ หรือมีเนื้องอกของมดลูก

2.ครรภ์แฝดน้ำ เมื่อถุงน้ำคร่ำแตก และเสียปริมาณน้ำคร่ำมากทันที

3.ครรภ์ เกิดรกลอกตัวภายหลังทารกคนแรกคลอดก่อนที่ทารกคนที่สองจะคลอดออกมา

4.จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์กับรกลอกตัวก่อนกำหนด พบว่าในครรภ์ที่มีบุตรมากกว่า 5 คน จะมีโอกาสเกิดรกลอกตัวก่อนกำหนดในครรภ์ก่อน อาจจะเกิดภาวะนี้ซ้ำอีกในครรภ์หลังได้ถึงประมาณร้อยละ 10-17

อาการและอาการแสดง

1.เลือดออกทางช่องคลอด หรือน้ำหล่อทารกมีเลือดปนออกมา แต่ขณะที่มดลูกหดรัดตัวเลือดจะไม่ค่อยออก

2.มีอาการของภาวะพิษแห่งครรภ์ระยะแรกร่วมด้วย

3.มดลูกหดรัดตัวมากขึ้น หรือแข็งตัวตลอดเวลา กดเจ็บ อาจจะเจ็บจุดใดจุดหนึ่งหรือกดเจ็บโดยทั่วไป และมักจะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง

4.ทารกในครรภ์อยู่ในท่าปกติ อาจคลำได้ศีรษะที่ขอบเชิงกราน หรือมีบางส่วนเข้าไปในอุ้งเชิงกรานแล้ว การเต้นของหัวใจผิดปกติ หรืออาจฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้

5.มีอาการซีด ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเบาเร็ว กระสับกระส่าย หมดสติและช็อคได้

อาการของเสียเลือดไม่สัมพันธ์กับปริมาณเลือดที่ออกมาให้เห็นภายนอก

เช่น

บางรายอาจมีอาการช็อคหรืออาการไตวาย แต่มีเลือดออกมาให้เห็นเพียงเล็กน้อย ซึ่งเลือดที่ออกมาให้เห็นจะมีเพียงร้อยละ 40 ของจำนวนเลือดที่สูญเสียจริงๆส่วนเลือดที่ไม่เห็นนั้นจะแทรกซึมอยู่ในกล้ามเนื้อมดลูกหรือในชั้นเยื่อบุช่องท้อง

ภาวะแทรกซ้อน

1.เกิดภาวะเลือดไม่แข็งตัวเป็นลิ่ม เพราะมีไฟบริโนเจนในเลือดต่ำ

2.เกิดภาวะไตวาย

3.เกิดภาวะที่เลือดแทรกอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อของมดลูก จนถึงใต้ serosa เรียกว่า convelaire uterus ทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องถึงระยะหลังคลอดที่จะทำให้มารดาตกเลือดได้

4.ทารกตายในครรภ์

แนวทางการรักษา

1.แก้ไขภาวะการสูญเสียเลือดและอาการช็อคที่เกิดขึ้นให้เลือดและน้ำยา lactated ringer ทันที

2.แก้ไขภาวะเลือดไม่แข็งตัวเป็นลิ่ม

3.ให้ยาระงับปวด

4.จัดการให้ทารกคลอดโดยเร็ว

4.1 ถ้าทารกยังมีชีวิตอยู่ แต่มีอาการแสดงว่าอยู่ในภาวะอันตราย จะช่วยให้คลอดโดยเร็ว ด้วยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

4.2 ถ้าทารกตายแล้ว จะทำคลอดโดยการเร่งคลอด

4.3 ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมการเสียเลือดได้ แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดเอามดลูกออก

 

การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด

แนวคิด

1.มดลูกแตกเป็นภาวะที่พบได้ไม่มากนัก แต่ถ้าเกิดขึ้นจะเป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจจะทำให้มารดดาเสียบชีวิตได้ การแตกของมดลูก อาจเกิดได้ในระยะตั้งครรภ์ หรือในระยะคลอดก็ได้ พบได้บ่อยๆในรายที่เคยผ่าตัดที่มดลูก การแตกอาจแตกชนิดสมบูรณ์หรือชนิดไม่สมบูรณ์ก็ได้ซึ่งมีหลายสาเหตุด้วยกันถ้าพยาบาลมีความรู้ในเรื่องมดลูกแตก จะช่วยป้องกันภาวะฉุกเฉินอันคุกคามต่อชีวิตมารดาได้

2.การเคลื่อนต่ำหรือการพลัดต่ำของสายสะดือ ถ้าเกิดขึ้นจะทำให้ทารกในครรภ์เกิดภาวะขาดออกซิเจนจากการที่สายสะดือถูกกด เกิดจากหลายสาเหตุ การป้องกันและการวินิจฉัยได้ทันท่วงทีจะช่วยให้ทารกในครรภ์ปลอดภัย

3.ภาวะมดลูกปลิ้น จะพบในระยะหลังจากที่ทารกคลอดแล้ว การทำคลอดรกที่ไม่ถูกวิธีจะทำให้มดลูกปลิ้นได้ การดูแลช่วยเหลือต้องลดการติดเชื้อ ลดอาการเจ็บปวด แก้ไขภาวะช็อค และพยายามให้มดลูกกลับเข้าที่เดิม

4.ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดปอด เป็นภาวะฉุกเฉินรุนแรง ที่ทำให้ผู้คลอดตายได้ ภายใน 1-2 ชั่วโมง การทราบสาเหตุ กลไกการเกิด อาการ อาการแสดง การป้องกัน และการดูแลรักษาจะช่วยให้มารดาและทารกปลอดภัย

5. ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน มักเกิดได้จากหลายสาเหตุ การดูแลช่วยเหลือทารกอย่างทันท่วงทีจะช่วยลดอัตราการตายของทารก

6.ภาวะช็อคทางสูติศาสตร์เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการลดลงของปริมาณเลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะสำคัญต่างๆ ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรีบให้การรักษา

 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น