A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด

เขียนโดย A Rai Naa >>>

การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด

1.การตั้งครรภ์เกินกำหนด บางครั้งเกิดจากการคำนวณอายุครรภ์ผิดพลาด โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ช้า และมีระดูไม่สม่ำเสมอ ทำให้การวางแผนการดูแลผิดพลาด และเกิดอันตรายต่อทารก

2.ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาไดหลายประการ เช่น การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย การวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะช่วยให้การดูแลมีประสิทธิภาพ

3.รกค้างเป็นสาเหตุที่ ทำให้ตกเลือดหลังคลอด เพราะรกที่ค้างจะขดขวางการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้รูหลอดเลือดเปิด ดังนั้น จำเป็นต้องหาวิธีการช่วยเหลือเพื่อให้รกลอกตัวออกมาโดยเร็วที่สุด

4.การตกเลือดในระยะคลอด จะเน้นการค้นพบอาการในระยะแรกเริ่ม ค้นหาสาเหตุ และแก้ไขสาเหตุ การให้น้ำหรือเลือดทดแทน และการพยาบาลทั่วไป

มดลูกแตก

(Uterine Rupture)

มดลูกแตก หมายถึง การฉีกขาดหรือการแตกของผนังมดลูก พบได้มากในหญิงที่มีอายุครรภ์เกิน 28 สัปดาห์

ชนิดของมดลูก

1.การแตกชนิดสมบูรณ์ (Complete Rupture) หมายถึง การฉีกขาดของมดลูกที่ทะลุเข้าช่องท้องโดยมีการฉีกขาดของเยื่อบุมดลูก กล้ามเนื้อมดลูก เยื่อบุช่องท้องที่คลุมมดลูก หรือติดกับมดลูก ทารกมักจะหลุดจากโพรงมดลูกเข้าไปอยู่ในช่องท้อง

2.การแตกชนิดไม่สมบูรณ์ (incomplete rupture) หมายถึง การฉีกขาดของผนังมดลูกชั้นเยื่อบุมดลูก และกล้ามเนื้อมดลูก ยกเว้นเยื่อบุช่องท้องที่ยังไม่ฉีกขาด ทารกยังอยู่ในโพรงมดลูก และคลอดทางหน้าท้อง

สาเหตุ

1.ที่พบบ่อยที่สุด คือ แตกจากรอยแผลผ่าตัดเดิม และการให้ออกซิโทซินกระตุ้นการทำงานของมดลูก

2.การกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่บริเวณมดลูก เช่น หกล้ม ได้รับอุบัติเหตุ

3.การใช้เครื่องมือ หรือวิธีทางสูติศาสตร์ เช่น การขูดมดลูก ล่วงรก การใช้คีมช่วยคลอด

4.ความผิดปกติของกล้ามเนื้อมดลูก เช่น เคยผ่านการคลอดมาหลายครั้ง มดลูกผิดปกติแต่กำเนิด

5. การคลอดติดขัด พบได้ในรายที่ทารกในครรภ์อยู่ในท่าที่คลอดเองไม่ได้ การผิดสัดส่วนกันระหว่างศีรษะกับช่องเชิงกราน มักเกิดขึ้นในระยะที่ 2 ของการคลอด โดยจะมีอาการแสดงเตือนให้รู้ล่วงหน้า

อาการและอาการแสดง

อาการแสดงที่เตือนให้รู้ล่วงหน้าว่ามดลูกใกล้จะแตกแล้ว มีดังนี้

1.ปวดท้องมาก เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวอย่างรุนแรง

2. ตรวจหน้าท้องพบมดลูกแข็งตึงตลอดเวลา (Tonic contraction)

3.แตะต้องบริเวณส่วนล่างของมดลูกไม่ได้เนื่องจากมดลูกส่วนบนดึงรั้งมดลูกส่วนล่างให้บางลงทุกที เพื่อผลักดันทารกให้คลอดออกมา เมื่อทารกลงมาต่ำไม่ได้มดลูกส่วนล่างจึงบางมากและบริเวณที่มดลูกส่วนล่างนี้จะเป็นบริเวณที่มีการฉีกขาด

4.พบวงแหวนระหว่างมดลูกส่วนบนกับส่วนล่างสูงเกือบถึงระดับสะดือ

5.ตรวจทางช่องคลอดพบว่าส่วนของทารกที่ติดแน่นอยู่ลอยสูงขึ้นไป

6.ทารกจะมีภาวะขาดออกซิเจน หรืออาจฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้ถ้าทารกตายแล้ว

ผลเสียต่อมารดา

1.เกิดภาวะช็อค

2.ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือ แก้ไขภาวะช็อค และมีภาวการณ์อักเสบของเยื่อบุช่องท้อง ถ้าให้การช่วยเหลือไม่ทัน จะทำให้ผู้คลอดเสียชีวิตได้

ผลเสียต่อทารก

ทารกจะมีภาวการณ์ขาดของออกซิเจนอย่างรุนแรง พบว่า หัวใจทารกจะเต้นช้าลงจนกระทั่งเสียงหัวใจทารกหยุด ซึ่งเหตุการณ์จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพียง 2-3 นาทีเท่านั้น

หลักการรักษา

1.แก้ไขภาวะช็อคโดยให้เลือด และ Ringer’s lactate ให้เพียงพอ

2.ในรายที่มดลูกใกล้จะแตก จะผ่าท้องทำคลอด ถ้ามดลูกแตกแล้วจะเปิดหน้าท้องเอาทารกออกและตัดมดลูกทิ้ง

3.ในรายที่ต้องการมีบุตรอีกให้พิจารณาลักษณะการฉีกขาดของผนังมดลูก การติดเชื้อและภาวะของผู้คลอด ถ้าสามารถเก็บมดลูกไว้ได้ก็อาจตัดแต่งริมแผลที่ฉีกขาดแล้วเย็บแผลถ้าไม่สามารถเก็บไว้ได้ จะตัดมดลูกทิ้ง

สายสะดือเคลื่อนต่ำและพลัดต่ำ

1.สายสะดือเคลื่อนต่ำ (Presentation of cord) หมายถึง ภาวะที่สายสะดือลงมาอยู่ต่ำกว่าส่วนนำ เมื่อถุงน้ำทูนหัวยังไม่แตก ในรายที่สายสะดือลงมาอยู่ข้างๆของส่วนนำ อาจคลำวายสะดือพบหรือไม่พบก็ได้ ถุงน้ำทูนหัวอาจจะแตกหรือยังไม่แตกก็ได้เรียก Occult prolapsed of cord

2.สายสะดือพลัดต่ำ (prolapsed of cord) หมายถึง ภาวะที่สายสะดือลงมาอยู่ต่ำกว่าส่วนนำอาจอยู่ในช่องคลอด หรือนอกปากช่องคลอด เมื่อถุงน้ำทูนหัวแตกแล้ว

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น