ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บุคคลและประวัติศาสตร์ในชาติต่าง ๆ

    ลำดับตอนที่ #20 : ปริศนาเกี่ยวกับเบาะแสของสนมเอกหยัง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 108
      0
      23 ม.ค. 54

    ปริศนาเกี่ยวกับเบาะแสของสนมเอกหยัง
    中国国际广播电台
     

     

    สนมเอกหยังกุ้ยเฟยชื่อหยังอวี้หวน แต่ก่อนเคยเป็นสนมของเจ้าชายโซ่ว หลี่เม่า ราชโอรสของจักรพรรดิถางเสวียนจง แต่ต่อมา จักรพรรดิถางเสวียนจงหลงเสน่ห์ความสวยงามของหยังกุ้ยเฟย เลยรับตัวเข้าวังเป็นสนมของพระองค์ ให้ประทับอยู่ในวังทางใต้และประทานนามว่าไท่เจิน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วังทางใต้ก็เปลี่ยนชื่อเป็นวังไท่เจิน ต่อมา หยังกุ้ยเฟยก็ได้ย้ายไปประทับในวังหลวง จักรพรรดิแต่งตั้งเธอเป็นสนมเอก มีฐานะเทียบเท่าพระมเหสี ในสมัยนั้น จักรพรรดิถางเสวียนจงมีพระชนมายุ 56 พรรษา ส่วนหยังกุ้ยเฟยมีชนมายุเพียง 22 พรรษา

    หยังกุ้ยเฟยไม่เพียงแต่มีพัตรสวยงามเป็นพิเศษและทรวดทรงดีสมบูรณ์เท่านั้น หากยังสันทัดการเล่นดนตรีและเต้นรำอีกด้วย เล่ากันมาว่า จักรพรรดิเคยเอาบทเพลง”หนีซางอวี่อีฉวี่” ที่พระองค์นิพนธ์ขึ้นให้หยังกุ้ยเฟยดู พอดูจบเธอก็สามารถร้องเพลงและเต้นรำตามดนตรีได้ในกิริยาที่สวยงามมาก ประหนึ่งนางฟ้าลงมาจากสวรรค์ จักรพรรดิจึงโปรดหยังกุ้ยเฟยเป็นพิเศษ นัยว่าความเป็นมาของบทเพลงนี้เกิดจากจักรพรรดิถางเสวียนจงเสด็จประพาสเขานวี่เอ๋อซาน ทัศนียภาพสวยประหลาดประดุจอยู่บนสวรรค์ พระองค์ทรงได้ยินเสียงดนตรีไพเราะบทหนึ่งบนเขา พอกลับวังหลวงก็ทรงบันทึกไว้ตามความทรงจำ แล้วนำมาผสมผสานกับ เพลงอินเดียบทหนึ่งจึงได้เป็นบทเพลง“หนีซางอวี่อีฉวี่”นี้ เรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่งเล่ากันว่า จักรพรรดิถางเสวียนจงทรงพาหยังกุ้ยเฟยไปชมดอกบัวขาวที่ปลูกในสระไท่เย่ฉือของวังต้าหมิงในฤดูใบไม้ร่วงปีหนึ่ง ทรงอุทานพร้อมกับทรงชี้ หยังกุ้ยเฟยว่า”ดอกบัวแม้จะสวย แต่ก็ไร้วิญญาณ จะสู้ดอกไม้ที่พูดได้ของเราได้อย่างไร”  จากนั้นมา “ดอกเจี่ยอวี่ฮัว ”ซึ่งแปลว่าดอกไม้ที่เข้าใจคำพูดก็กลายเป็นสำนวนที่ชื่นชมนางงามของคนยุคหลัง

    เนื่องจากหยังกุ้ยเฟยเป็นที่โปรดปรานของจักรพรรดิ ญาติตระกูลหยังก็พลอยได้รับยศถาบรรดาศักดิ์ไปด้วย โดยเฉพาะหยังเจา พี่ชายของหยังกุ้ยเฟยผู้มักใหญ่ใฝ่สูง ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครเสนาบดี มีอำนาจในการบริหารประเทศแทนจักรพรรดิ ส่วนองค์จักรพรรดิลุ่มหลงแต่ ความงามของหยังกุ้ยเฟยและความสุขสำราญส่วนพระองค์ การปกครองเริ่มเสื่อมโทรมเน่าเฟะทุกที ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นต่างๆนับวันรุนแรงยิ่งขึ้น ในที่สุดก็ระเบิดกลายเป็นเหตุการณ์  “กบฏอันลู่ซานและสื่อซือหมิน” จักรพรรดิถางเสวียนจงหนีไปลี้ภัยอยู่ในแคว้นสู่ พอไปถึงจุดแวะพักหม่าเว่ยอี้ ทหารที่ติดตามไปก็ได้ก่อการกบฏฉับพลัน ฆ่าอัครเสนาบดีหยังเจาที่ประชาชนโกรธแค้น และบีบบังคับให้จักรพรรดิประหารหยังกุ้ยเฟย  จักรพรรดิจำพระทัยใช้ขันทีเกาลี่สื้อไปทูลให้หยังกุ้ยเฟยประหารตนเอง ในที่สุด หยังกุ้ยเฟยขณะมีชนมายุได้  38 พรรษาก็ได้ผูกพระศอสิ้นพระชนม์ที่ต้นสาลี่หน้าวิหารของจุดแวะพักนั้น เล่ากันว่า ฉลองพระบาทข้างหนึ่งหล่นลงในระหว่างย้ายพระศพของหยังกุ้ยเฟยกลับ ถูกยายคนหนึ่งเก็บไป หากมีคนมาขอดู ต้องจ่ายค่าดูร้อยเหรียญ ยายคนนี้จึงรวยขึ้นมาด้วยฉลองพระองค์ข้างนี้ของหยังกุ้ยเฟย

    การสิ้นพระชนม์ของหยังกุ้ยเฟย มีนิทานเล่ามากมาย บางคนเห็นว่า หยังกุ้ยเฟยไม่ได้ผูกพระศอสิ้นพระชนม์สมัยนั้น คนที่ผูกคอตายเป็นนางกำนัลคนหนึ่ง นายอี๋ผิงป๋อ นักวิชาการผู้วิจัย”ความฝันในหอแดง”ที่มีชื่อเสียง ก็มีความเห็นดังกล่าว เขาเห็นว่า คนที่ผูกคอตายแทนหยังกุ้ยเฟยคือนางกำนัลคนหนึ่ง ส่วนหยังกุ้ยเฟยองค์จริงหนีไปยังญี่ปุ่น ผู้ติดตามยังมีลูกสะใภ้และหลานของเสนาบดีหยังจง เล่ากันว่า หลังจากย้ายไปอยู่ญี่ปุ่นแล้ว  ครั้งหนึ่งหยังกุ้ยเฟยยังได้ช่วยจักรพรรดิญี่ปุ่นกำจัดรัฐประหารภายในวัง  ใ                                          ห้สงบลงอีกด้วย ปัจจุบัน ในประเทศญี่ปุ่นยังมีสุสานของหยังกุ้ยเฟยอยู่สองแห่ง

    ในปีค.ศ.1963 มีสาวญี่ปุ่นคนหนึ่งได้แสดงหนังสือวงศ์ตระกูลของครอบครัวตนผ่านโทรทัศน์ บอกว่าเธอเป็นทายาทของหยังกุ้ยเฟย นาง Yamagutsi Momoe ดาราภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงชาวญี่ปุ่นก็ประกาศว่า ตนเองก็เป็นเชื้อสายของหยังกุ้ยเฟยเช่นกัน

    ที่ญี่ปุ่นก็มีเรื่องเล่าของหยังกุ้ยเฟยหลายเรื่อง มีเรื่องหนึ่งเล่าว่า หยังกุ้ยเฟยไม่ได้ผูกพระศอสวรรคต  แต่หนีไปอยู่เขต kutsi ของ yamagutsi ken otsugun yuya thou ของญี่ปุ่น คนที่ตายแทนคือนางกำนัล คนหนึ่ง แม่ทัพเฉินสวนหลี่ก็หลงใหลในพักตรอันสวยงามของหยังกุ้ยเฟย สงสารเธอจนไม่ยอมลงมือประหาร  จึงคบคิดกับขันทีเกาลี่สื้ออย่างลับๆ ให้นางกำนัลตายแทน ขันทีเกาลี้สื้อใช้รถบรรจุศพ ส่วน ผู้ตรวจและฝังศพก็คือแม่ทัพเฉินสวนหลี่ กุศโลบายช่วยหยังกุ้ยเฟยจึงสำเร็จ ส่วนหยังกุ้ยเฟยตัวจริงก็มีคนสนิท ของแม่ทัพเฉินช่วยปกป้องหนีไปทางใต้ และได้ลงเรือออกทะเลที่บริเวณเซี่ยงไฮ้ของปัจจุปัน  ไปอยู่ที่เขต kutsi ของ yamagutsi ken otsugun yuya thou ของญี่ปุ่น

    ภายหลังความวุ่นวาย”กบฏอันลู่ซานและสื่อซือหมิน”สิ้นสุดลง จักรพรรดิเคยส่งทูตออกทะเลไปตามหาหยังกุ้ยเฟย และได้พบพระนางที่เขต kutsi ของญี่ปุ่น ทูตคนนี้ยังได้ถวายพระพุทธรูป 2 องค์ของจักรพรรดิถังเสวียนจง แด่หยังกุ้ยเฟย ส่วนพระนางก็ได้ฝากปิ่นหยกปักผมมาถวายจักรพรรดิ พระพุทธรูป 2 องค์ดังกล่าวยังประดิษฐานในวัดแห่งหนึ่งในเขต kutsi ในที่สุด หยังกุ้ยเฟยสิ้นพระชนม์ลงที่ญี่ปุ่นและพระศพฝังไว้ในลานบ้านแห่งหนึ่งของเขต kutsi ปัจจุบัน ท้องที่นั้นยังมีเจดีย์ธรรมจักรซึ่งถือเป็นป้ายสุสานของหยังกุ้ยเฟย เจดีย์ธรรมจักรเป็นเจดีย์หิน 5 องค์ที่สร้างบนสุสานของหยังกุ้ยเฟย หน้าสุสานตั้งแผ่นไม้ 2 แผ่น ข้อความที่แกะสลักบนแผ่นไม้ข้างหนึ่งเขียนคำอธิบายเจดีย์ธรรมจักร อีกข้างหนึ่งเขียนชีวประวัติของหยังกุ้ยเฟย ชาวญี่ปุ่นนิยมไปบูชาไซ่นไหว้หยังกุ้ยเฟยหน้าสุสาน เพราะเชื่อว่าจะได้ลูกที่สวยและน่ารัก บัดนี้ ญี่ปุ่นกำลังจะเปิดสุสานของหยังกุ้ยเฟยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวเข้าชม



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×