ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บุคคลและประวัติศาสตร์ในชาติต่าง ๆ

    ลำดับตอนที่ #23 : จางเหิง นักดาราศาสตร์ชื่อดังในสมัยราชวงศ์ตงฮั่น(ฮั่นตะวันออก)ของจีน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 85
      0
      23 ม.ค. 54

    จางเหิง นักดาราศาสตร์ชื่อดังในสมัยราชวงศ์ตงฮั่น(ฮั่นตะวันออก)ของจีน
    中国国际广播电台

        

    จางเหิงเกิดที่ตำบลหนานหยังมณฑลเหอหนานในภาคกลางของจีน เมื่อเขายังเป็นหนุ่ม เขาพยายามเรียนรู้หนังสือ เเละชำนาญในการประพันธ์ เมื่ออายุ 17 ปี เขาออกจากหมู่บ้าน เเละเดินทางไปถึงเมืองฉางอัน  คือเมืองซีอันในปัจจุบัน  เป็นเมืองที่มีหลายราชวงศ์ตั้งเป็นเมืองหลวงในประวัติศาสตร์ จีน จางเหิงสำรวจโบราณสถานที่นี่ ตรวจสอบสภาพด้านจารีตประเพณี สังคมเเละเศรษฐกิจ หลังจากนั้น จางเหิงซึ่งเป็นหนุ่มใหญ่เเละ มีความสามารถได้รับเลือกจากราชวงศ์ตงฮั่น เเละเชิญเขารับตำ เเหน่งหลายครั้ง เขาเคยเป็นข้าราชการหลายระดับ

    เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่ม จางเหิงก็เริ่มสนใจวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ วิทยาโดยเฉพาะดาราศาสตร์ เขาไม่สนใจเกียรติยศ เคยลาออกจากตำเเหน่ง สองครั้งเพื่อใช้เวลา 3 ปีดำเนินการวิจัยด้านปรัชญา คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เขาจึงได้สะสมความรู้มากมาย แล้วเริ่มประพันธ์หนังสือ เเละสรุปประเด็นแนวคิดของตน

     ในสมัยราชวงศ์ฮั่นซึ่งห่างจากปัจจุบันกว่า 2000 ปี ทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างของจักรวาลของจีนก็มีความสมบูรณ์มากเเล้วเวลานั้นมีสำนักสาขาวิชาที่สำคัญสามกลุ่มคือ     ประเด็นฟ้ากลมเเผ่นดินสี่เหลี่ยม ประเด็นหุนเทียนเเละประเด็นฟ้ามืด จางเหิงก็เป็นตัวเเทนที่ถือประเด็นหุนเทียน เขามีความเห็นว่า ฟ้าเหมือนไข่ฟองหนึ่ง ดินเหมือนไข่เหลือง ฟ้าใหญ่กว่าเเผ่นดิน ฟ้ากับดิน ห่างกันโดยอาศัยกำลังต่างกัน ในเวลานั้น ทฤษฏีนี้มีความก้าวหน้า นอกจากนี้  ความคิดของจางเหิงเกี่ยวกับการเริ่มมีฟ้าเเละเเผ่นดิน ก็ เป็นความคิดของนักปราชญ์ เขามีความเห็นว่า ก่อนท้องฟ้ากับเเผ่นดินจะเเตกเเยกนั้นอยู่กันอย่างหมอก หลังแยกห่างจากกันเเล้ว ส่วนเบาก็ลอยขึ้นไปเป็นฟ้า ส่วนหนักก็ตกลงมาเป็นเเผ่นดิน ฟ้ามีหยัง ดินมีหยิน  สองกระเเสนี้เกิด ปฏิกิริยากันก็มีสิ่งที่มีชีวิตนับร้อยนับพัน จางเหิงยังอรรถาธิบายความเร็วของการหมุนเวียนของดาวด้วยการเปลี่ยนเเปลงของระยะ วิทยาศาสตร์ในยุคใกล้พิสูจน์ให้เห็นว่า ความเร็วของการหมุนเวียนของดาวขึ้นอยู่กับ ความยาวที่ห่างจากดวงอาทิตย์ จากเรื่องนี้ก็สามารถสรุปได้ว่าความคิดของ จางเหิงมีส่วนที่เป็นไปได้

     จางเหิงไม่เพียงเเต่ให้ความสำคัญต่อการวิจัยในด้านทฤษฎี หากยังให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติด้วย เขาเคยประดิษฏคิดสร้างเครื่องวัดตำแหน่งที่ดวงดาวที่เรียกว่าหุนเทียนและเครื่องโฮ่วเฟิงเครื่องมือวัดเเผ่นดินไหวและดินฟ้าอากาศ  เครื่องวัดเเผ่นดินไหวและดินฟ้าอากาศนี้เป็นเครื่อง วัดเเผ่นดินไหวเครื่องเเรกในโลก  เมื่อปี ค.ศ 138 ได้บันทึกเเผ่นดินไหวครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นในส่านซีได้สำเร็จ เครื่องหุนเทียนที่วัดตำแหน่งที่ดวงดาวเสมือนเครื่องมือลูกโลกในปัจจุบัน จางเหิงใช้ผลงานของนักวิทยาศาสตร์ผู้อื่นมาปรับปรุงอีก โดยใช้ฟันเฟืองของระบบเครื่องวัดตำแหน่งที่ดวงดาวเชื่อมเข้ากับนาฬิกา  น้ำ  ใช้นาฬิกาน้ำผลักดันเครื่องตำแหน่งที่ดวงดาวให้หมุนไปอย่างสม่ำเสมอ    หมุนเวียนหนึ่งรอบก็เท่ากับหนึ่งวัน  ผู้คนดูเครื่องวัดตำแหน่งที่ดวงดาว  ในห้องก็สามารถรูว่าเวลาไหนดาวดวงไหนอยู่ตำแหน่งไหน

     จางเหิงยังสังเกตและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ของดวงดาว เขาได้รวบรวมว่าดวงดาวที่ สามารถมองเห็นในภาคกลางของจีนมีอยู่ประมาณ 2500 ดวง เขาได้ยึดกุมกฏของการเกิดจันทรุปราคาในขั้นพื้นฐาน  เส้นผ่าศูนย์ กลางของดวงอาทิตย์เเละดวงจันทร์ได้ค่อนข้างแม่นยำ  จางเหิงเห็นว่า ดวงอาทิตย์ในช่วงเช้า กลางวันเเละกลางคืนเท่ากัน สาเหตุที่มองเเล้วเห็นใหญ่ ไม่เท่ากันเป็นเพราะผลอันเกิดจากวิชาแสงชนิดหนึ่ง  ผู้สังเกตในตอนเช้าเเละตอนค่ำค่ำมีสภาพแวดล้อมค่อนข้างมืด เวลามองดวงอาทิตย์ในสถานที่มืดก็จะเห็นว่าว่าดวงอาทิตย์ใหญ่  เวลาเที่ยงวัน  ทั่วทุกแห่งมีความสว่างพอ จึงปรากฎว่า ดวงอาทิตย์เล็กลง เช่นเดียวกันกับมองดวงไฟ ช่วงค่ำเห็นขนาดใหญ่ กลางวันก็เห็นเล็กลง คำอธิบายของจางเหิงเเม้ว่าไม่ครบถ้วน เเต่ก็มีส่วนถูกต้องอยู่บ้าง

    จางเหิงไม่เพียงเเต่เป็นนักดาราศาสตร์ เขายังเป็นนักวรรณคดี ชื่อดังในสมัยราชวงศ์ตงฮั่น การวาดภาพของเขาก็ดีมาก ได้เข้าทำเนียบ จิตรกรที่มีชื่อเสียง 6 คนในสมัยนั้น ตามหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์จีน จางเหิงประพันธ์ผลงานด้านปรัชญา วรรณคดี 32 บท ในจำนวนนี้ บทความ “บทชื่นชมความสบาย”ได้เเสดงกฎเกณฑ์การปฏิบัติตน   เเละท่าทีการ ศึกษาหาความรู้ของจางเหิง ส่วนบทความ “ความนึกคิด เกี่ยวกับอวกาศ”ก็เป็นบทจินตนาการเที่ยวอวกาศของมนุษย์ ซึ่งเป็นบทจินตนาการด้านวิทยาศาสตร์ในสมัยก่อนของจีน นอกจากนี้ บทความ “ชื่นชมเมืองตงจิง” “ชื่นชมเมืองซีจิง”ก็นับว่าเป็นบทความยอดเยี่ยมของจางเหิง เเละได้ตกทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน บทความสองบทนี้ได้บรรยาย สภาพเเวดล้อมของเมืองตงจิง คือเมืองซีอันในปัจจุบัน เเละเมืองซีจิงคือเมืองลั่วหยังในปัจจุบัน โดยได้บรรยายสภาพขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีของเมือง เเละวิธีการประพันธ์โรเเมนติค โดยเฉพาะการ บรรยายถึงการเเสดงกายกรรมภาคเอกชนต่างๆเป็นข้อมูลวิจัยศิลปะ กายกรรมโบราณล้ำค่าของจีน




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×