ประวัติสิงโตเชิด ตอนที่2
ในปัจจุบันสิงโตเชิดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สิงโตเชิดภาคใต้ 南狮nánshīกับสิงโตเชิดภาคเหนือ 北狮běishī
สิงโตเชิดภาคเหนือ 北狮běishīค่อนข้างเป็นที่นิยมในทางแทบแม่น้ำแยงซีเกียง 长江Chángjiāngและสิงโตเชิดภาคใต้ 南狮nánshīก็นิยมมากทางตอนใต้ของจีน ( รวมมณฑลกวางตุ้ง 广东Guǎngdōngและกวางสี
广西Guǎngdōng)
北狮běishī
รูปแบบและลักษณะของสิงโตเชิดภาคเหนือจะเหมือนสิงโตจริง หัวสิงโตจะทำค่อนข้างเรียบง่าย ทั่วทั้งตัวจะปกคลุมไปด้วยขนสีเหลืองทอง กางเกงและรองเท้าของผู้เชิดก็จะคลุมด้วยขนสีเหลืองทอง สิงโตเพศผู้จะมีหัวสีแดง ส่วนสิงโตเพศเมียจะมีหัวสีเขียว การแสดงจะมีกิริยาท่าทางคล่องแคล่วว่องไว แต่ไม่โลดโผนรุนแรงเหมือนสิงโตเชิดภาคใต้ การเต้นจะเน้นไปทางการกระโดด กระโจน ล้มกลิ้ง ถูๆไถๆ สิงโตเชิดภาคเหนือโดยทั่วไปจะมาเป็นคู่ บางครั้งก็จะมีลูกสิงโตเชิดตัวเล็กๆมาด้วยอีกคู่ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสุขของครอบครัว การแสดงของสิงโตเชิดภาคเหนือเพื่อให้เห็นถึงความใกล้ชิดสนิทสนมกัน ในการแสดงแต่ละครั้งจะประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภท ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ และกลอง เป็นต้น
南狮nánshī
สิงโตเชิดภาคใต้มีอีกชื่อหนึ่ง เรียกว่าสิงโตตื่น 醒狮xǐngshīรูปแบบการสร้างค่อนข้างซับซ้อน ตอนที่เคลื่อนไหวจะเน้นจังหวะก้าวเดิน กิริยาท่าทางของผู้แสดงจะโลดโผนรุนแรง โดยทั่วไป หนึ่งหัวจะมีผู้แสดงสองคน การตกแต่งหัวสิงโต
จะแต่งค่อนข้างจัดจ้านเหมือนงิ้ว สีสันสวยงาม สร้างอย่างพิถีพิถัน ปากและตาสามารถเคลื่อนไหวได้ รูปลักษณ์จะไม่เหมือนสิงโตจริง บนหัวมีเพียงหนึ่งเขา มีเรื่องเล่าว่าสิงโตเชิดภาคใต้แบ่งได้เป็น 3แบบ คือ แบบเล่าปี่ 刘备LiúBèiกวนอู
关羽GuānYǔและ เตียวฮุย 张飞ZhāngFēiไม่เพียงสีสันและการตกแต่งที่ไม่เหมือนกันเท่านั้น แม้แต่วิธีการเต้นก็แตกต่างกันไปตามลักษณะนิสัยของบุคคลทั้ง 3ด้วย
การแสดงของสิงโตเชิดภาคใต้มีหลายลักษณะ คือ การลุกขึ้นต่อสู้ การแสดงการคารวะ การกระโดดตกใจ การวางท่าทางแสดงอำนาจ การปีนป่ายที่สูง ในการแสดงจะมีดนตรีประกอบเหมือนทางภาคเหนือ บางครั้งยังมีคนแต่งตัวเป็นแป๊ะยิ้ม 大头佛dàtóufó .ในมือถือพัดใบปาล์มเต้นนำหน้า
ก่อนการแสดงหรือก่อนนำหัวสิงโตเชิดออกแสดงก็จะมีพิธีเบิกเนตรสิงโต点睛diǎnjīng เป็นการใช้ชาดซึ่งมีสีแดงแต้มที่ตาของหัวสิงโต โดยประธานในพิธี หรือแขกผู้มีเกียรติ จะเป็นแต้มชาดลงที่ตาของสิงโต เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการให้ชีวิต
ความคิดเห็น