การดูแลเด็ก วัย7-9 เดือน
เด็กในวัย 7-9 เดือนนี้สามารถทานอาหารได้แล้ว ในทางการแพทย์คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่เริ่มให้อาหารกับทารกเมื่อทารกมีอายุได้ประมาณ 6 เดือน เพราะระบบการย่อยอาหารของทารกจะเริ่มทำงานได้ดีกว่าและก่อให้เกิดอาการท้องอืดสำหรับเด็กได้น้อยลงอีกด้วย ดังนั้นปัญหาที่พบได้บ่อยๆสำหรับเด็กวัย 6 เดือนนี้คือ อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก สำหรับเด็กที่ได้รับอาหารที่นอกเหนือจากนมนั่นเอง ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากคุณแม่เริ่มให้อาหารประเภทโปรตีนแก่เด็ก เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าอาหารจำพวกโปรตีนนั้นจะย่อยยาก คุณแม่บางท่านที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วนนมของตัวเองจำเป็นต้องพึ่งนมผงสำหรับทารก ก็จะมีปัญหาในเรื่องของการขับถ่ายของเด็กตามมาอีกด้วย และนมผงก็มีให้เลือกหลายยี่ห้อ หลายสูตร ดังนั้นเด็กในวัยนี้จะมีปัญหาในเรื่องนมและอาหารแทบจะทุกคนเพราะนมผงบางสูตรอาจจะไม่ถูกกับเด็กทุกคนเสมอไป บางคนมีอาการท้องผูก บางคนท้องเสีย ทำให้คุณแม่ต้องลองเลือกนมผงเพื่อให้ได้นมผงที่ดีที่สุดและเหมาะสำหรับลูกน้อยนั่นเอง
วิธีแก้ปัญหาสำหรับคุณแม่ที่กำลังประสบกับปัญหาของเด็กในช่วงวัยนี้ทำได้ไม่ยาก อย่างแรกเลยถ้าคุณแม่เริ่มให้อาหารเสริมเช่นข้าวบด กล้วยบด หรือธัญพืชบด ควรให้ทีละน้อยๆ ครั้งละ 2-3 ช้อนชาดูก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร และเพราะเด็กในวัยนี้กระเพาะมีเนื้อที่น้อยมากจึงควรให้ทีละน้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้นทีละนิดเมื่อเห็นว่าเด็กสามารถทานได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องประมาณปริมาณของอาหารด้วย เพราะเด็กบางคนจะกินได้ตลอดแม้ว่าจะอิ่มแล้วก็ตาม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารตามมาทำให้เด็กมีอาการท้องอืด ปวดท้องได้หลังจากป้อนอาหารแล้วเว้นระยะสักครึ่งชั่วโมง คุณแม่อาจจะให้ทานน้ำส้มคั้นสัก 2-3 ออนซ์
อาหารเสริมสำหรับเด็กวัยนี้ควรเริ่มให้เพียงวันละมื้อเดียวก่อน เมื่อเด็กเริ่มชินกับอาหารเสริมจึงจะให้วันละสองมื้อ และในระหว่างวันคุณแม่ควรจะให้เด็กได้ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆเพื่อช่วยให้การทำงานของกระเพาะและลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ถ้าเด็กไม่ชอบดื่มน้ำเปล่าแนะนำให้คุณแม่ลองนำน้ำผึ้งมาผสมด้วยเล็กน้อยเพราะรสชาติหวานและกลิ่นหอมของน้ำผึ้งอาจจะช่วยให้เด็กอยากดื่มน้ำมากขึ้น แต่ไม่ควรจะผสมมากเกินไปเพราะจะทำให้เด็กติดกับรสชาติหวานจนเป็นความเคยชิน สำหรับอาหารเด็กที่คุณแม่ปรุงเองควรเป็นอาหารที่เหลวประเภทโจ๊กหรือข้าวตุ๋น ใส่ผักและเนื้อสัตว์บ้างนิดหน่อยเพื่อไม่ให้เด็กขาดสารอาหาร
วิธีทำข้าวตุ๋นก็ไม่ยากเพียงแค่คุณแม่เตรียมวัตถุดิบที่ต้องการให้ลูกทานหั่นเป็นชิ้นเล็กๆให้พร้อม ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ควรสับให้ละเอียด จากนั้นต้มข้าวสารให้สุกได้ที่ ใส่ผักและเนื้อสัตว์ลงไป เติมเกลือป่นที่มีไอโอดีนสัก 1/3 ช้อนชา และน้ำตาลเท่ากับเกลือจากนั้นปิดฝาหม้อ เคี่ยวต่อจนทุกอย่างและรวมเป็นเนื้อเดียวกันยกลงจากเตาให้คลายร้อนก็พร้อมป้อนเด็กได้ ข้าวตุ๋นนี้ควรทำวันต่อวันและก่อนให้เด็กทานควรอุ่นก่อนทุกครั้ง ถ้าเป็นอาหารทารกสำเร็จรูปที่มีขายในตามซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้น คุณแม่ควรตุ๋นผักและเนื้อสัตว์ให้เปื่อยก่อนแล้วค่อยผสมให้เด็กทาน หรือคุณแม่บางท่านอาจจะใช้น้ำผลไม้ผสมเติมลงไปกับอาหารทารกสำเร็จรูปแล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน คุณแม่ควรจะสลับสับเปลี่ยนอาหารสำหรับเด็กไปเรื่อยๆเพราะเด็กก็รู้สึกเบื่ออาหารได้เหมือนกันเมื่อได้รับอาหารชนิดนั้นๆบ่อยๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กทานอาหารได้น้อยลง
เด็กวัยนี้บางคนจะมีอาการคันเหงือกเนื่องจากเริ่มจะมีฟันน้ำนมงอกขึ้นมา คุณแม่ควรหาของเล่นยางไว้ให้ลูกได้ลองกัดเพื่อบรรเทาอาการคันเหงือก เพราะถ้าไม่มีอะไรให้เด็กได้กัดเด็กก็จะกัดนิ้วตัวเองและจะเป็นสาเหตุให้เด็กติดกับการดูดนิ้วไปด้วย คุณแม่บางท่านแก้ปัญหาด้วยการตีมือเด็กเบาๆเพื่อเป็นการบอกว่าการทำแบบนี้จะถูกทำโทษ แต่ยิ่งตีเด็กก็จะยิ่งทำดังนั้นทางที่ดีคุณแม่ควรเบนความสนใจของเด็กด้วยการชวนลูกเล่นของเล่นที่ต้องใช้มือเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้เด็กลืมความเคยชินจากการดูดนิ้วนั่นเอง
และสำหรับคุณแม่ที่ยังให้นมลูกด้วยน้ำนมแม่นั้น จะพบกับปัญหาลูกน้อยกัดหัวนมอย่าพยายามดึงออกเพราะเด็กจะยิ่งกัด คุณแม่แก้ได้ด้วยการกดศีรษะลูกเข้ากับเต้านม เพราะเมื่อเด็กหายใจไม่ออก เด็กจะละจากการกัดเอง เหล่านี้เป็นเคล็ดลับง่ายๆในการเลี้ยงลูก แล้วพบกันใหม่ค่ะ
รวีวรรณ เกตุสุทธิ
คอนโดแมว , พัดลมมือถือ , หมอนผ้าห่ม , หมอนหัวทุย , เก้าอี้หัดนั่ง
ความคิดเห็น