thaisword
ดู Blog ทั้งหมด

ฝึกดาบอาทมาต ด้วยตนเอง 2

เขียนโดย thaisword

I.        พื้นมวยไชยา

แต่ก่อนที่เราจะฝึกดาบนั้น เราจำเป็นต้องปรับลักษณะท่าทางของเราก่อน เพราะคนเรามีทักษะพื้นฐานท่ากีฬาและการออกกำลังกายมาไม่เท่ากัน อาจมากบ้าง น้อยบ้างแล้วแต่บุคคล ซึ่งอาจเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการฝึกในลำดับขึ้นสูงๆ อีกทั้งลักษณะท่าทางและทักษะเฉพาะทางบางอย่างที่จำเป็นต้องใช้ในการฝึกดาบนั้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับพื้นฐานกันก่อน หากเปรียบเทียบกับการสร้างบ้านก็เหมือนกับการถมที่ก่อนที่จะมีการก่อสร้างในลำดับต่อไปนั่นเอง 

§  มวยไชยา คือ อะไร

มวยไชยา คือ มวยโบราณสายหนึ่งที่เดิมเป็นของภาคกลาง แต่เพราะท่านพ่อมาซึ่งถือกันว่าเป็นปรมมาจารย์ยุคปัจจุบันของมวยไชยา ได้ออกบวชแล้วไปจำพรรษาที่ไชยา ได้เอาวิชามวยนี้สอนแก่คนที่นั่น จึงเรียกว่ามวยไชยานับแต่นั้นมา

ในการฝึกดาบนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดระเบียบร่างกายด้วยพื้นมวยไชยาก่อน ด้วยการฝึกท่าบริหารและทักษะพื้นมวยอย่างง่ายก่อน เพื่อสร้างลักษณะท่าทางการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง อีกทั้งเป็นแบบแผนสำหรับการฝึกดาบในลำดับต่อไป และที่สำคัญคือ มวยนับเป็นวิชาการต่อสู้พื้นฐานที่สุดของมนุษย์เพราะใช้อวัยวะที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด อันได้แก่ หมัด เท้า เข่า ศอก และหัว นำมาปรับใช้เป็นอาวุธนั่นเอง

โดยท่าบริหารพื้นมวยไชยาอย่างง่ายที่เราจำเป็นต้องฝึกจะประกอบไปด้วยท่าต่างๆ ดังต่อไปนี้

วันทา ย่อเข่า

เป็นท่าเริ่มต้นของการบริหาร ด้วยการพนมมือขึ้นระดับหน้าอก แยกขาห่างกันประมาณศอกกับหนึ่งผ่ามือ หรือพอดีกับหัวไหล่เรา โดยปลายเท้าตั้งฉากกับชำตัว พร้อมย่อเข่าลงเล็กน้อย (จะคล้ายท่านั่งม้าของมวยจีน)  แล้วออกแรงดันฝ่ามือเข้าหากันเบาๆ แล้วเกร็งค้างไว้ประมาณ 10 วินาที เพื่อเป็นการกระตุ้นร่างกายให้ตอบสนองก่อนเริ่มออกกำลังกายนั่นเอง

จากนั้นให้เปลี่ยนเป็นกำหมัดชนกัน พร้อมออกแกรงเกร็งแล้วดันกันอึดใจหนึ่ง แล้วเปลี่ยนมาเป็นพนมมืออีกครั้ง ทำแบบเดิมซ้ำกันสักสี่หน้ารอบ แล้วยืดเข่าขึ้น ย้ำเท้า ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ สลัดแข่งสลัดขา เพื่อเตรียมท่าต่อไป

แบบฝึกหัด 1

o   วันทา ย่อเข่า

หมุนมือ

ยืนแยกขา ปลายเท้าตั้งฉากกับลำตัว พนมมือระดับอก พร้อมยกปลายศอกให้อยู่ในระดับไหล่   จากนั้นเริ่มหมุนข้อมือในลักษณะ บนลงล่าง พร้อมกับพลิกมือวนกลับเข้ามาที่หน้าอก แล้วยืดกลับออกไปท่าเดิม ซึ่งการหมุนลักษณะนี้เราจะเรียกว่า ตามเกล็ด

จากนั้นเปลี่ยนเป็นหมุนมือจาก ล่างขึ้นบน พร้อมกับวนกลับเข้ามาที่หน้าอกเช่นเดียวกับตามเกล็ด ซึ่งเราจะเรียกการหมุนลักษณะนี้ว่า ย้อนเกล็ด จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็น ตามเกล็ด สลับกับ ย้อนเกล็ด

ท่านี้ใช้เตรียมกล้ามเนื้อและอบอุ่นร่างกาย ยืดเส้นยืดสายให้พร้อมสำหรับการออกกำลังกายนั่นเอง เรียกว่าท่าปลุกร่างกายให้ตื่นก็ว่าได้ ซึ่งจะมีแบบฝึกหัดต่างๆ ให้ฝึกดังต่อไปนี้

แบบฝึกหัด 1

o   หมุนมือ ตามเกล็ด หน้าตัว

o   หมุนมือ ย้อนเกล็ด หน้าตัว

แบบฝึกหัด 2

o   หมุนมือ ตามเกล็ด ข้างตัวซ้าย

o   หมุนมือ ย้อนเกล็ด ข้างตัวซ้าย

แบบฝึกหัด 3

o   หมุนมือ ตามเกล็ด ข้างตัวขวา

o   หมุนมือ ย้อนเกล็ด ข้างตัวขวา

แบบฝึกหัด 4

o   หมุนมือ ตามเกล็ด ย้อนเกล็ด หน้าตัว

แบบฝึกหัด 5

o   หมุนมือ ตามเกล็ด ย้อนเกล็ด ข้างตัวซ้าย

แบบฝึกหัด 6

o   หมุนมือ ตามเกล็ด ย้อนเกล็ด ข้างตัวขวา

ซึ่งในแต่ละแบบฝึกหัดต้องทำอย่างน้อยท่าละ 10 ครั้ง และเคล็ดลับของท่านี้อยู่ที่การตั้งศอกให้สูง

ระดับหัวไหล่จึงจะได้ผลสูงสุด  

ปั้นหมัด

ยืนแยกเท้า ห่างระดับหัวไหล่ พร้อมกับยกศอกขึ้นตั้งกับลำตัว แบบมือ จากนั้นให้ย่อเข่าลงเล็กน้อย โดยให้หัวเข่าไม่ล้ำหน้าเกินปลายเท้า พร้อมกับกำมือค้างไว้นิดนึ่งแล้วจึงยึดตัวขึ้น ซึ่งจะเหมือนท่านั่งม้าของกังฟู เป็นท่าฐาน คือขาซึ่งเปรียบเสมือนรากต้องมั่นคง ก่อนที่จะทำท่าอื่นๆต่อไป

แบบฝึกหัด 1

o   ปั้นหมัด ย่อยืด 

พันแขน

ยืนแยกเท้าเหมือนเดิม ย่อเข่าเล็กน้อย  จากนั้นยกแขนทั้งสองข้างขึ้นตั้งฉากกับลำตัว ขนานกัน ขวาอยู่ใน ซ้ายอยู่นอก เอาสันมือออกหน้าตัว ยกแขนสลับขึ้นลง โดยวนลงเข้าด้านใน คล้ายการยก Punch ของนักมวย เพื่อฝีกความคล่องตัวมือและแขน

แบบฝึกหัด 1

o   พันแขน ย่อเข่า

o   พันแขน ย่อยืด

o   พัดแขน เปิดส้น

o   พันแขน เปิดส้น บิดตัว

ยักษ์ (ย้ำเท้า)

เป็นท่าปฐมของ Footwork ก็ว่าได้ อาจมีหลายวิธีที่จะฝึก แต่ผู้เขียนเลือกการฝึกแบบโขน เพราะเป็นแบบไทยๆ และง่ายต่อการจดจำ อีกทั้งเป็นท่าทางที่เป็นพื้นฐานใกล้เคียงกับท่าทางในการฟันดาบ และรำดาบที่เรากำลังจะฝึกในลำดับต่อไปอีกด้วย หรือพูดแบบภาษาง่ายๆ ก็คือ ทางเดียวกัน 

การฝึกให้ผู้ฝึกยืนส้นเท้าชิดกัน แยกปลายเท้าออกให้เป็นเส้นตรงให้มากที่สุดเท้าที่จะทำได้ จากนั้น

แบบฝึกหัด 1

o   ย้ำเท้า โดยให้ผู้ฝึกย้ำเท้าเปิดส้น อาจยกท้าพ้นพื้นเล็กน้อยประมาณไม่เกินหนึ่งฝ่ามือ ซ้ายขวาสลับกันไปมาประมาณหนึ่งนาที แล้วเปลี่ยนท่า

o   ยกเท้า  ทำเหมือนเดิม แต่คราวนี้เราจะยกเท้าให้สูงขึ้นจากพื้นประมาณหนึ่งคืบ  

o   ยกขา ทำเหมือนเดิม แต่ยกเท้าสูงให้มากกว่าหนึ่งคืบ

o   ยกเข่าสูง ทำเหมือนเดิม แต่ยกเข่าให้สูงที่สุดเท่าที่จะยกได้ 

ที่ผู้เขียนต้องแยกระดับการยกออกเป็นหลายระดับเช่นนี้ ก็เพื่อให้ง่ายต่อการฝึกนั่นเอง หากไม่สามารถทำท่าที่ยากได้ ก็ให้ทำสูงที่สุดที่เราทำได้ แล้วรอจนกำลังถึงหรือสามารถทำได้ จึงทำในท่าที่ยากกว่าขึ้นไปแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะการออกกำลังในโปรแกรมนี้เป็นการแข่งกับตัวเอง  

พันหมัด

ท่านี้นับเป็นปฐมท่ากันพื้นฐานของมวยไชยา ที่ใช้ป้องกันหน้าและลำตัวส่วนบน

วิธีการฝึก ให้ผู้ฝึกยืนแยกเท้า ยกแขนตั้งเฉียงสี่สิบห้าองศาไปด้านหน้าทั้งสองข้าง โดยแขนขวาเฉียงซ้าย แขนซ้ายเฉียงขวา หมัดข้างหนึ่งอยู่ครึ่งแขนอีกข้างหนึ่ง ปลายหมัดบนอยู่หางคิ้ว 

จากนั้นวนสลับกันขึ้นลงไปมาพร้อมกันทั้งสองข้าง พร้อมถ่ายน้ำหนักตามจังหวะ จะทำให้เพื่อความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวลำตัว

เมื่อคล่องดีแล้ว จึงเพิ่ม Step Footwork เข้าไป ประกอบด้วย

แบบฝึกหัด 1

o   พันหมัด ย่อเข่า

o   พันหมัด ย่อยืด

o   พันหมัด เปิดส้น

o   พันหมัด เปิดส้น บิดตัว

แบบฝึกหัด 2

o   พันหมัด ก้าวชิด

o   พันหมัด ยกขา

o   พันหมัด ยกเข่า

o   พันหมด ยกเข่าสูง

แบบฝึกหัด 3

o   พันหมัด ยักข้าง ซ้ายขวา

o   พันหมัด พลิกเหลี่ยม สืบหน้า

o   พันหมัด พลิกเหลี่ยม สืบหลัง

ตั้งศอก

คล้ายพันหมัด แต่แทนที่จะเฉียงท่อนแขน ให้ตั้งท่อนแขนในแนวตั้ง แล้วสลับแขนมาอยู่ที่ตรงหน้า บริเวณดั้งจมูกไปมาซ้ายขวา เมื่อคล่องดีแล้ว จึงเพิ่ม Step Footwork เข้าไปดังนี้

แบบฝึกหัด 1

o   ตั้งศอก ย่อเข่า

o   ตั้งศอก ย่อยืด

o   ตั้งศอก เปิดส้น

o   ตั้งศอก เปิดส้น บิดตัว

ท่านี้ผู้เขียนเพิ่มขึ้นมาเองจากท่าดั่งเดิม เพื่อเพิ่มจังหวะและความหลากหลายของท่าทาง ต้องบอกว่าเอาไปใช้กันจริงไม่ได้ เพราะพื้นที่ในกันป้องกันน้อย  

ฉากศอก

คล้ายกับการตั้งศอก แต่แทนที่จะตั้งแขนที่ด้านหน้า เราจะวาดแขนไปด้านข้างลำตัว ในขณะที่อีกด้านหนึ่งยกมาตั้งฉากชิดที่ใต้ศอก เมื่อคล่องดีแล้ว จึงเพิ่ม Step Footwork เข้าไปเช่นเดียวกับตั้งศอก

แบบฝึกหัด 1

o   ฉากศอก ย่อเข่า

o   ฉากศอก ย่อยืด

o   ฉากศอก เปิดส้น

o   ฉากศอก เปิดส้น บิดตัว 

ทัดมาลา 

จะเป็นการศอกเสยขึ้นจากข้างลำตัวไปตั้งฉากกับลำตัวตรงหน้าตัว

แบบฝึกหัด 1

o   ทัดมาลา ย่อเข่า

o   ทัดมาลา ย่อยืด

o   ทัดมาลา เปิดส้น

o   ทัดมาลา เปิดส้น บิดตัว 

จูบศอก

จะเป็นการศอกเสยเหวี่ยงมาจากข้างลำตัว

แบบฝึกหัด 1

o   จูบศอก ย่อเข่า

o   จูบศอก ย่อยืด

o   จูบศอก เปิดส้น

o   จูบศอก เปิดส้น บิดตัว 

หงส์เหิร

จะเป็นปฐมท่าของการเขย่ง หรือกระโจน โดยผู้ฝึกยืนแยกขา แล้วยกเท้าขึ้นตั้งเข่าฉากกับตัว แล้วก้าวสืบไปข้างหน้าสองก้าวแล้วยกเท้าข้างเดิมขึ้นด้านหลังเหมือนนกจะออกบิน พร้อมกับพันหมัดสลับมือไปด้วย

แบบฝึกหัด 1

o   หงส์เหิร ซ้าย

o   หงส์เหิร ขวา

ย่างสามขุม

ย่างก้าวเดินหน้าถอยหลังในลักษณะสามเหลี่ยม ตามความเชื่อของฮินดู เชื่อกันว่าเป็นการย่างก้าวที่มีท่าทางมั่นคงที่สุด

แบบฝึกหัด 1

o   ย่างสามขุม เดินหน้า

o   ย่างสามขุม ถอยหลัง

แบบฝึกหัด 2

o   ย่างสามขุม สืบหน้า

o   ย่างสามขุม สืบหลัง

แบบฝึกหัด 3

o   ย่างสามขุม กระถดหน้า

o   ย่างสามขุม กระถดหลัง


ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น